เทคโนโลยีของอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขได้มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก โดยหนึ่งเทรนด์ ที่มีการพูดถึงกันมากใน่ช่วงที่ผ่านมาก็คือ  เทเลเมดิซีน (Telemedicine)” หรือ “ระบบการแพทย์ทางไกล”

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการสื่อสารในยุค 5จี ที่มีความเร็วและความเสถียร ได้เข้ามาเชื่อมต่อให้  แพทย์ สามารถให้คำปรึกษาพุดคุยสอบถามอาการ หรือติดตามผลการรักษากับผู้ป่วยได้ โดยที่ไม่ต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาล ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทาง ประหยัดเวลา และลดความแออัดของผู้มาใช้บริการที่โรงพยาบาลได้

“เทเลเมดิซีน” จึงเป็นเทรนด์ที่ต้องจับตามองต่อไปในอนาคต ซึ่งในงาน “ทรูแล็บแฮกกาธอน TrueLabHackathon”  ที่เปิดให้ นิสิต นักศึกษา และคนรุ่นใหม่อายุไม่เกิน 30 ปี ประชันแผนธุรกิจและไอเดียฟีเจอร์ใหม่ เพื่อก้าวสู่เส้นทางผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ในด้านดิจิทัลเฮลท์ ได้มีการพูดถึง “เทเลเมดิซีน” ที่มีข้อมูลที่น่าสนใจ

โดย ยศวีร์ นิรันดร์วิชย” กรรมการผู้จัดการ ดิจิทัล เฮลท์ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ผู้ให้บริการแพทย์ทางไกล ภายใต้ชื่อแอปพลิเคชัน “หมอดี” บอกว่า เทเลเมดิซีน ที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่รวมถึงการแพทย์ทางไกล กำลังเข้าสู่อุตสาหกรรม S-Curve ที่ผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุค 4.0  ซึ่งแนวโน้มเทเลเมดิซีนของไทยนั้นยังมีโอกาส เติบโตสูงขึ้นอีกมาก

“ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งาน  หรือ Adoption rate ของไทย ยังมีสัดส่วนน้อยกว่าประเทศ สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ เนื่องจากคนไทยยังมีปัญหาเรื่อง การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล และการเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงวัยที่เป็นกลุ่มหลักของการใช้บริการแพทย์ทางไกล”

เมื่อ“เทเลเมดิซีน” กำลังจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ที่อาจเป็นเซ็กเตอร์ที่จะมีส่วนช่วยขับเ คลื่อนเศรษฐกิจได้  แล้วเทรนด์ดิจิทัล อุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ของไทย จะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร?  ทาง“นพ.กวิน วงศ์ธรรมริน”  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำ หมอดีแอป   ได้ให้มุมมองในเรื่องนี้ว่า แนวโน้มด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม การแพทย์และสาธารณสุขในอนาคตจากนี้ไป จะก้าวสู่บริการที่ทุกคนเข้าถึงได้ ผ่านการใช้เทคโนโลยี

ภาพ pixabay.com

“สำหรับประเทศไทยนั้น เราจะได้เห็นพัฒนาการเกิดขึ้นหลายรูปแบบ เช่น การนำเทคโนโลยีระบบ Video Conference มาใช้เพื่อรองรับการสื่อสารรักษาทางไกลแบบเทเลเมดิซีน และมีการพัฒนา โมบาย แอปพิลเคชั่น เพื่อให้ติดตาม แจ้งเตือน รวมถึงจองคิวเพื่อบริหารจัดการการฉีดวัคซีน และที่น่าสนใจ คือ การนำอุปกรณ์สวมใส่ หรือ Wearable Device  และ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ IoT ที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูล ถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต  มาใช้ในการติดตาม ดูแล และรักษาผู้ป่วย  รวมถึงการนำ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้วิเคราะห์ ข้อมูลผู้ป่วย ช่วยประกอบการตัดสินใจในการดำเนินการรักษา ได้รวดเร็ว และแม่นยำ”

จากแนวโน้มที่เกิดขึ้นแน่นอนว่าจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการสาธารณสุขเป็นวงกว้าง!! เมื่อมีการเปิดรับในการนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งจะช่วยให้การแพทย์สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆที่เคยมีในการทำงาน

นอกจากนี้จะได้เห็นการลงทุนด้านระบบเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้น!!

ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในการพัฒนาแอปพิลเคชั่นทางการแพทย์ใหม่ๆ การศึกษาหรือทำโครงการที่จะนำ AI เข้ามาช่วยในการรักษา รวมถึง การพัฒนาระบบ เทเลเมดิซีน ให้มีความก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น

รียกว่า จะมีการต่อยอดให้เกิดฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่จะช่วยในกระบวนการรักษาผู้ป่วยดียิ่งขึ้น!?!

ภาพ pixabay.com

อย่างไรก็ตามยังมีสิ่งที่ท้าทาย  สำหรับนักพัฒนา  คือ การพัฒนาอุปกรณ์ดิจิทัล (ดิจิทัล ดีไวซ์) ต่างๆ ให้มีความล้ำหน้ามากขึ้น เช่น สมาร์ท วอทช์ ที่สามารถเก็บข้อมูลสุขภาพ เช่น การเต้นของหัวใจ หรือข้อมูลสุขภาพอื่นๆ ได้แบบเรียลไทม์ และให้ข้อมูลต่างไ สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลในระบบของแอป ก่อนที่คนไข้จะมาพบแพทย์

รวมถึงการทำให้การข้อมูลเชื่อมต่อเครื่องมือแพทย์ การพัฒนาซอฟท์แวร์ และการนำ AI มาเป็นผู้ช่วยแพทย์ในการจัดการข้อมูลดิจิทัล เฮลท์ ต่างๆ ทั้งการ Input Data การประมวลวิเคราะห์ และ Output ผลวินิจฉัยโรค ที่ยังมีช่องว่างให้พัฒนาได้อีกมาก!!

แม้ว่าปัจจุบันจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆออกมา ทางยศวีร์ นิรันดร์วิชย ได้บอกถึงเป้าหมายของ แอปหมอดี  ว่า  ต้องการช่วย ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพของคนไทย โดยมีภารกิจ 3 ด้าน คือ 1. Accessibility ให้คนไทยเข้าถึงการดูแลสุขภาพได้สะดวกทั่วถึงทุกพื้นที่ 2. Affordability  ราคาที่ย่อมเยา และ 3.มาตรฐานการรักษาระดับเดียวกับโรงพยาบาลเอกชน เป็นลักษณะ end to end มีขั้นตอนการรักษาตั้งแต่ต้นจนจบ  สร้างระบบนิเวศน์การดูแลสุขภาพเป็นโรงพยาบาล On Cloud 

ซึ่งปัจจุบันสามารถรอรับยาที่บ้านได้  รวมถึงการร่วมมือกับบริษัทประกัน ให้ สามารถเคลมค่าใช้จ่ายได้ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน  นอกจากนี้ยังร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้บริการผู้ใช้สิทธิ บัตรทองในกรุงเทพฯ และ 5 จังหวัดปริมณฑลด้วย

ภาพ pixabay.com

ทั้งนี้ในมุมมองของบริษัทประกัน เกี่ยวกับ เทเลเมดิซีน นั้น ทาง  “ฐนพล กิตติดุลยการ” ผู้จัดการด้าน การพัฒนาธุรกิจ จากบริษัท เอไอเอ ประเทศไทย  บอกว่า เทเลเมดิซีน จะช่วยลูกค้าที่มีประกันดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น บริษัทประกันจะช่วยให้คนไทยเข้าถึงประกันสุขภาพได้มากขึ้น  จากที่ปัจจุบัน คุณภาพการเข้าถึงการรักษาที่ดี ยังไม่สูงมากนัก!!

“ในอนาคตบริษัทประกันชีวิตจะสามารถออกแพ็กเกจประกันเทเลเมดิซีน ได้ในราคาที่สมเหตุผล จากการ มีข้อมูลสุขภาพของลูกค้ามากพอที่จะช่วยคำนวณเบี้ยประกันได้แม่นยำได้ยิ่งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับในปัจจุบัน ที่เบี้ยสุขภาพมีราคาแพง เพราะบริษัทไม่มีข้อมูลการดูแลสุขภาพของลูกค้ามากพอ”

เมื่อเทคโนโลยีมาช่วยให้วิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้า ก็ทำให้ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ ของการเข้าถึงการดูแลสุขภาพให้ลดน้อยลงได้!

จิราวัฒน์ จารุพันธ์