ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมวิสาหกิจชุมซนผู้ผลิตผลไม้ปลอดภัยสารพิษเพื่อส่งออก อ.บางแพ จ.ราชบุรี น.ส.รัตนา เสาวนียากร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดราชบุรี นายอเนก ชื่นอารมณ์ เกษตรจังหวัดสมุทรสาคร นางวิไลวรรณ ทวิชศรี นักวิชาการเกษตรชำนวญการพิเศษสถาบันวิจัยพืชสวน นายประยูร วิสุทธิไพศาล ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผลไม้ปลอดสารพิษเพื่อการส่งออก จ.ราชบุรี ร่วมกันเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้โครงการการสร้างแปลงตันแบบแม่พันธุ์และการพัฒนาระบบตรวจรับรองพันธุ์น้ำหอม GI จ.ราชบุรีขับเคลื่อนภายใต้เศรษฐกิจ BCG Model จ.ราชบุรี เพื่อให้ความรู้ กลุ่มผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม อ.ดำเนินสะดวก และอำเภอใกล้เคียง เข้าร่วมรับฟัง

เนื่องจากในปัจจุบันความต้องการมะพร้าวน้ำหอมมีเป็นจำนวนมาก ใน จ.ราชบุรี มีโรงคัดบรรจุมะพร้าวน้อยใหญ่ ประมาณ 150 แห่ง โรงมะพร้าวน้ำหอมจึงเป็นพืชที่ทำให้เศรษฐกิจ เติบโตและสร้างรายใด้ให้แก่เกษตรกรเนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและเครื่องดื่มที่ทำจากมะพร้าวน้ำหอม รวมถึงการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมไปขายยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ทำให้เกษตรกรมีความต้องการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพื่อให้มีผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการของตลาด เห็นจากการเพิ่มพื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมของประเทศไทย มีการขยายตังเพิ่มขึ้นในช่วง ปี 2560/2563

จ.ราชบุรี มีพื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอม 85,732 ไร่ หรือมากกว่า 30% ของพื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมทั้งประเทศได้รับการรับรอง GAP ในพื้นที่ 8,754.60 ไร่ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ขึ้นทะเบียนและประกาศให้มะพร้าวน้ำหอมที่ผลิตในพื้นที่ 7 อำเภอของจังหวัดราชบุรี ได้แก่ อ.ดำเนินสะดวก วัดเพลง บ้านโป่ง เมืองราชบุรี บางแพ ปากท่อ และโพธาราม ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (G : Geographical Indication) เมื่อปี พ.ศ. 2560 และกรมฯ มีแผนส่งเสริมให้มีการ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว มะพร้าวน้ำหอม Gi มีลักษณะเด่น คือรสชาติมีความหวานและหอมกรุ่นคล้ายใบเตยกรมวิชาการเกษตร มีหน้าที่ในการตรวจรับรองแปลง GAP เป็นพื้นฐานการผลิตสินค้าปลอดภัยและเป็นหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช ตลอดจนดำเนินงานวิจัยพืชมะพร้าวมายาวนาน

ดังนั้นจึงมีการส่งเสริมให้มีการผลิตตันกล้าพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมให้ได้พันธุ์แท้ ไม่กลายพันธุ์จึงได้ทำการวิจัยภายใต้โครงการ การสร้างแปลงต้นแบบแม่พันธุ์แสะการพัฒนาระบบตรวจรับรองพันธ์น้ำหอม Gi จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนภายใต้เศรษฐกิจ BCG Modelจังหวัดราชบุรี และจากการวิจัย 1 ปีที่ผ่านมา คณะผู้วิจัยมีความพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการคัดเลือกพันธุ์เพื่อใช้และการสร้างแปลงแม่พันธุ์ โดยใช้สักษณะทางสัณฐานวิทยามะพร้าวและปริมาณและคุณภาพผลผลิต การตรวจยืน และสารหอม เป็นเกณฑ์ จึงมีความพร้อมในการสนับสนุนนโยบาย BCG สนับสนุนการผลิตและจำหน่ายต้นกลัาของเกษตรกร และเพื่อนำไปสนับสนุนให้เกิดการผลิตมะพร้าวน้ำหอมอย่างยั่งยืน โดยสามารถร่วมดำเนินการกับสำนักงานเกษตรจังหวัดออกใบประกาศนียบัตรรับรองแปลงแม่พันธุ์ในอนาคต เป็นการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการจำหน่ายตันกล้าได้ จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตร การถ่ายทอดองค์ความรู้เกณฑ์คัดเลือกและตรวจประเมินตันแม่พันธุ์มะพร้าวน้ำหอม เพื่อให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากการวิจัยเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตตันกล้ามะพร้าวน้ำหอม Gi ราชบุรี

เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดราชบุรี เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชน และเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในเกณฑ์คัดเลือกและตรวจประเมินต้นแม่พันธุ์มะพร้าวน้ำหอม เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมมีความเข้าใจการตรวจรับรองเป็นแปลงแม่พันธุ์และมีการผลิตต้นกล้ามะพร้าวน้ำหอมที่ถูกต้องตามเกณฑ์ มีความเข้าใจเกณฑ์การประเมินต้นแม่พันธุ์มะพร้าวน้ำหอม และสามารถถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรและผู้ผลิตพันธุ์จำหน่าย เป็นการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวน้ำหอมอย่างยั่งยืน