จากกรณีที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้หลากหลายช่องทาง ได้สิทธิความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ถึง 3 ทางเลือก โดยใช้บัตรประชาชนใบเดียว โดยมีทั้งหมด 3 ทางเลือกด้วยกัน ดังนี้..

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน ความคุ้มครอง

  1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้ ดังนี้ ผู้ป่วยในนอกพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท , ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนรพ.) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 200 บาท เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 30 วัน /ปี ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนรพ.) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ได้รับเงินครั้งละ 50 บาท
  2. กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ดังนี้ ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) ได้รับเงิน 500-1,000 บาท ได้รับการทดแทนการขาดรายได้เป็นระยะเวลา 15 ปี เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท 3. กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินผู้จัดการศพได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท โดยทางเลือกที่ 1 จะไม่คุ้มครองในกรณีชราภาพและสงเคราะห์บุตร

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน ความคุ้มครอง

  1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้ ดังนี้ ผู้ป่วยในนอกพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท , ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนรพ.) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 200 บาท เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 30 วัน /ปี ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนรพ.) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ได้รับเงินครั้งละ 50 บาท
  2. กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ดังนี้ ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) ได้รับเงิน 500-1000 บาท ได้รับการทดแทนการขาดรายได้เป็นระยะเวลา 15 ปี เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25000 บาท 3. กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินผู้จัดการศพได้รับค่าทำศพ 25000 บาท จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8000 บาท 4. กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อน พร้อมดอกผล ดังนี้ สะสมเงินบำเหน็จชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ(ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปีและสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) เดือนละ 50 บาท ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ 1000 บาท จะไม่คุ้มครองในกรณีสงเคราะห์บุตร

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน ความคุ้มครอง

  1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้ ดังนี้ ผู้ป่วยในนอกพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท , ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนรพ.) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 200 บาท เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 90 วัน /ปี
  2. กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ดังนี้ ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) ได้รับเงิน 500-1000 บาท ได้รับการทดแทนการขาดรายได้ตลอดชีวิต เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 50000 บาท 3. กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินผู้จัดการศพได้รับค่าทำศพ 50000 บาท
  3. กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อน พร้อมดอกผล ดังนี้ สะสมเงินบำเหน็จชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ(ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปีและสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) เดือนละ 150 บาท ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ 1000 บาท จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินเพิ่ม 10000 บาท 5. กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด – 6ปี บริบูรณ์ จ่ายเงินสมทบ 24ใน36 เดือน คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน

คุณสมบัติผู้ประกันตนมาตรา 40
-สัญชาติไทย
-อายุ 15 – 65 ปีบริบูรณ์
-ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท หรือมีนายจ้าง หรือผู้ประกันตน ม.33
-ไม่เป็นผู้จ่ายประกันสังคมแบบสมัครใจ หรือผู้ประกันตน ม.39
-ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ

สำหรับผู้ที่สนใจสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สามารถสมัครง่ายๆ ด้วยตนเองผ่านมือถือที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11) เคาน์เตอร์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และที่เคาน์เตอร์บิ๊กซี (Big C) หรือสมัครผ่านผู้แทนเครือข่ายประกันสังคม..