รู้หรือไม่เมื่อเราไปวิ่งออกกำลังกาย มันมีคำเรียกส่วนใหญ่ 2 แบบคือ วิ่ง (Running) และจ๊อกกิ้ง (Jogging)
ความแตกต่างอยู่ที่ จ๊อกกิ้ง เป็นการวิ่งเหยาะๆ ก้าวสั้นๆ ไม่ใช้ความเร็วมาก ข้อดีของจ๊อกกิ้งคือสามารถรักษาจังหวะได้นานขึ้น ใช้พลังงานน้อยลง และวิ่งได้ไกลขึ้นในที่สุด! ด้วยวิธีนี้ สามารถเตรียมตัวสำหรับการวิ่ง 10K, 15K, ฮาล์ฟมาราธอน (21K) หรือแม้แต่การวิ่งมาราธอน (42K) ขณะที่การวิ่งใช้ความเร็วมากกว่า ซึ่งไม่ว่าเร็วขนาดไหนก็ล้วนดีต่อสุขภาพ แต่การจ๊อกกิ้งจะทำให้เราออกกำลังกายได้นานขึ้น
ว่ากันว่า “วิ่ง” คือการออกกำลังกายที่ประหยัดที่สุดแล้ว แค่รองเท้าคู่เดียวกับเสื้อผ้าใส่สบาย และนี่คือประโยชน์ 9 ข้อ ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวคุณเองไปในทางที่ดีขึ้นทันตาเห็น ด้วยการแค่ออกไปวิ่งเท่านั้น
ปรับปรุงสมรรถภาพหัวใจและหลอดเลือด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งรวมถึงหัวใจ ปอด หลอดเลือด เป็นผลที่ตามมาที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดจากการจ๊อกกิ้ง เมื่อคุณออกกำลังกาย ร่างกายของจะตอบสนองโดยการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจ ออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือด และขับของเสียเช่นคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย ทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดแข็งแรงขึ้น
สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ในการเคลื่อนไหวที่จำเป็นสำหรับการวิ่ง กล้ามเนื้อหลายส่วนต้องเกร็งอย่างสม่ำเสมอ กล้ามเนื้อบั้นท้าย กล้ามเนื้อหน้าท้อง เอ็นร้อยหวาย และน่อง เป็นกล้ามเนื้อส่วนล่างที่มีหน้าที่หลักในการเคลื่อนไหว ในขณะที่ขาวิ่งไปมา แกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อส่วนบนจะต้องใช้ทำให้ลำตัวมั่นคง การวิ่งเหยาะๆ เป็นประจำจะทำให้กล้ามเนื้อเหล่านี้ปรับตัวแข็งแรงขึ้น ส่งผลดีต่อการเคลื่อนไหวและลดโอกาสบาดเจ็บ
ปรับปรุงความทนทานของกล้ามเนื้อ
ความทนทานของกล้ามเนื้อหมายถึงความสามารถของกล้ามเนื้อในการหดตัวซ้ำๆ เป็นเวลานาน หมายถึงความสามารถของกล้ามเนื้อในการทำงานต่อเนื่อง ซึ่การวิ่งเหยาะๆ มักใช้เวลานานแต่มีความเข้มข้นต่ำ จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการสร้างความทนทานของกล้ามเนื้อ
กระดูกแข็งแรงขึ้น
นอกเหนือจากความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ การวิ่งออกกำลังกายยังส่งผลต่อความหนาแน่นของกระดูกและช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่ทำลายกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน
ช่วยลดน้ำหนัก
การลดน้ำหนักได้มาจากการใช้แคลอรีมากกว่าที่บริโภคเข้าไป การรักษาสมดุลทั้งโภชนาการและการออกกำลังกายจึงมีบทบาทสำคัญทั้งคู่ การวิ่งเหยาะๆ จะเผาผลาญแคลอรีจำนวนมาก แต่ก็ต้องไม่ลืมควบคุมอาหารเช่นกัน
เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน
มีรายงานว่าการวิ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันได้ เพิ่มการผลิตลิมโฟไซต์และแมคโครฟาจ ซึ่งจะโจมตีสิ่งแปลกปลอมในร่างกายเพื่อต่อสู้กับความเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อ แม้ว่าการเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอาจไม่ได้ลดโอกาสในการเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ในทันที แต่จะส่งผลต่อเวลาที่ใช้ในการฟื้นตัวจากอาการป่วย
ลดความเสี่ยงของโรค
อย่างที่บอกว่าการวิ่งจ๊อกกิ้งปรับปรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด เช่นเดียวกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ดังนั้นการรักษาสมรรถภาพหัวใจและหลอดเลือดจะลดความเสี่ยงของความผิดปกติของหัวใจบางอย่าง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อและกระดูกเสื่อม
นอนหลับดีขึ้น
การนอนหลับสนิทมีความสำคัญต่อสุขภาพ เพราะเมื่อคุณนอนหลับ ร่างกายจะพักผ่อนและซ่อมแซม ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณจึงรู้สึกสดชื่นเมื่อตื่นขึ้น อย่างไรก็ตามอย่าพยายามอย่าวิ่งก่อนเวลาพักผ่อนมากเกินไป สารเอ็นโดรฟินซึ่งช่วยลดความเจ็บปวดและความตึงเครียดจะหลั่งออกมาระหว่างกิจกรรมแอโรบิก สิ่งเหล่านี้กระตุ้นสมองและอาจทำให้ตื่นตัว
ปรับปรุงสุขภาพใจ
สุดท้ายการวิ่งเหยาะๆ ไม่ได้ดีต่อแค่ร่างกาย จิตใจก็เช่นกัน มีการศึกษาเกี่ยวกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นประจำว่าปรับปรุงสุขภาพจิตได้ดีอย่างมาก การวิ่งสามารถช่วยบรรเทาความเศร้าและความวิตกกังวล
รู้อย่างนี้แล้วมาวิ่งกันเถอะ! เดลินิวส์ จัดกิจกรรม “D Run For Life 2023 by Dailynews” อาทิตย์ที่ 15 ตุลาคมนี้ รายได้สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาล จำนวน 2 แห่ง ในจังหวัดชลบุรี ให้กับโรงพยาบาลเกาะสีชัง และโรงพยาบาลบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ที่ไลน์ของงาน >> https://lin.ee/Aqt2n0z
หรือทางRunlah >> https://www.runlah.com/events/rfl2023
เพจเฟสบุ๊ก>> https://www.facebook.com/drunforlife