หมีขั้วโลก หรือ หมีขาว (อังกฤษ: polar bear ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ursus maritimus) สัตว์นักล่าผู้ยิ่งใหญ่แห่งดินแดนน้ำแข็ง ถูกขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งอาร์กติก” อาศัยอยู่ในเขตอาร์กติก บนแผ่นน้ำแข็งทะเลที่ปกคลุมไปด้วยหิมะขาวโพลน พวกมันมีขนสีขาวหนาเพื่อเก็บกักความร้อน ร่างกายอ้วนกลมช่วยให้ลอยน้ำได้ดี และอุ้งเท้าขนาดใหญ่ช่วยกระจายน้ำหนักบนพื้นน้ำแข็ง

วาดโดย GPT-4

หมีขั้วโลกเป็นนักล่าที่เก่งกาจ ล่าแมวน้ำเป็นอาหารหลัก โดยใช้วิธีการดักรอ รอจนแมวน้ำโผล่ขึ้นมาจากรูหายใจบนน้ำแข็ง ก่อนที่จะใช้กรงเล็บแหลมคมตะปบเหยื่อเข้าอย่างรวดเร็ว พวกมันยังสามารถว่ายน้ำได้ไกลถึง 100 กิโลเมตรต่อวัน เพื่อตามหาอาหาร

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อหมีขั้วโลก อุณหภูมิที่สูงขึ้น หรือภาวะโลกร้อน ทำให้น้ำแข็งทะเลละลาย พื้นที่หากินของหมีขั้วโลกแคบลง ส่งผลต่อจำนวนแมวน้ำซึ่งเป็นอาหารหลัก (อาหารอื่นๆ คือ วาฬเบลูกา , วอลรัส , ปลา , นกทะเล , ไข่นก , ซากสัตว์) การขาดแคลนอาหาร ส่งผลให้หมีขั้วโลกผอมโซ อ่อนแอ ลูกหมีขั้วโลกตายก่อนโตเต็มวัย ตัวเมียไม่มีน้ำนมเพียงพอที่จะเลี้ยงลูก

วาดโดย GPT-4

ปัจจุบันประมาณการว่า ประชากรหมีขั้วโลกทั้งหมดทั่วโลกมีประมาณ 22,000 – 31,000 ตัว อาศัยอยู่ในโซนประเทศแถบขั้วโลกเหนือ คือ แคนาดา ซึ่งมีประชากรหมีขั้วโลกประมาณ 16,000 ตัว คิดเป็น 70% ของประชากรหมีขั้วโลกทั้งหมด , อลาสก้า (สหรัฐอเมริกา)  , กรีนแลนด์ , รัสเซีย และ นอร์เวย์

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้เป็นเพียงการประมาณการเท่านั้น เนื่องด้วยหมีขั้วโลกอาศัยอยู่ในเขตอาร์กติก ซึ่งเป็นพื้นที่กว้างใหญ่และเข้าถึงยาก ประกอบกับพฤติกรรมการอยู่อาศัยแบบกระจายตัว ทำให้การสำรวจจำนวนประชากรเป็นไปด้วยความยากลำบาก นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการสำรวจหลายรูปแบบ เช่น การสำรวจทางอากาศ การติดตามด้วยดาวเทียม การวิเคราะห์ดีเอ็นเอจากขนหมี และการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพ เพื่อประมาณจำนวนประชากรหมีขั้วโลก ‘

นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า ประชากรหมีขั้วโลกจะลดลง 30% ภายในปี 2050 หากอุณหภูมิโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้น

วาดโดย GPT-4

จากข้อมูลขององค์กร Polar Bears International ประชากรหมีขั้วโลกในอ่าวฮัดสัน ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแคนาดา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการศึกษาเกี่ยวกับหมีขั้วโลกมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยปี 2019 มีประมาณ 842 ตัว และลดลงเรื่อย ปี 2020 เหลือประมาณ 778 ตัว , ปี 2021  ประมาณ 739 ตัว , ปี 2022 ประมาณ 674 ตัว และ ปี 2023 ลดลงเหลือประมาณ 618 ตัว

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการช่วยเหลือหมีขั้วโลก หลายองค์กรทำงานเพื่อปกป้องหมีขั้วโลก สิ่งมนุษย์เราทำได้คือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเรา ใช้อย่างยั่งยืน ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และร่วมรณรงค์บอกต่อเรื่องราวของหมีขั้วโลก สร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้คน

วาดโดย GPT-4

อนาคตของหมีขั้วโลก จึงขึ้นอยู่ในมือมนุษย์ เราต้องร่วมมือกัน เพื่อปกป้องสัตว์นักล่าผู้ยิ่งใหญ่แห่งดินแดนน้ำแข็ง “ราชาแห่งอาร์กติก” ให้ยังคงมีชีวิตอยู่รอดบนโลกใบนี้ต่อไป.