รายงานของสมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation) ปี ค.ศ.2021 บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตาย 1.79 เท่าของคนที่ไม่สูบบุหรี่  ต่ำกว่ากล้ามเนื้อหัวใจตายจากสูบบุหรี่ธรรมดา ที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น 2.72 เท่า

รายงานล่าสุด สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตาย 2.6 เท่า เรียกได้ว่า เสี่ยงเท่ากันกับสูบบุหรี่ธรรมดา ที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น 2.72 เท่า

ที่น่ากลัวมากจากรายงานเดียวกันคือ ในคนที่สูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดา (Dual user) ความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า ซึ่งคนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าจำนวนมากสูบทั้ง 2 อย่าง รวมทั้งคนไทยด้วย

ทีมที่ทำวิจัยให้ความเห็นว่า บุหรี่ไฟฟ้าอาจจะอันตรายต่อหัวใจ มากกว่า บุหรี่ธรรมดา เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเกิดในคนสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่อายุน้อยกว่า และมีโรคประจำตัวน้อยกว่า คนที่กลามเนื้อหัวใจตายจากสูบบุหรี่ธรรมดา

เมื่อเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย คนไข้จำนวนมาก ที่มาไม่ถึงโรงพยาบาล หรือปั๊มหัวใจไม่ขึ้น คนที่รอดมาได้ หัวใจก็อาจทำงานไม่ปกติ ต้องรักษาไปตลอดชีวิต

ในประเทศไทย ก็เคยมีหมอแชร์เคสคนไข้อายุ 25 ปี ที่อ้วน มาด้วยกล้ามเนื้อหัวใจตายจากสูบบุหรี่ไฟฟ้า 

ส่วนอันตรายต่อปอด เราก็เห็นคนไข้ปอดอักเสบรุนแรงจากสูบบุหรี่ไฟฟ้าในคนอายุน้อย ที่เราไม่พบในคนอายุน้อยที่สูบบุหรี่ธรรดา

คนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า รีบเลิกเร็วจะมีโอกาสเลิกได้มากกว่า  คนที่ยิ่งสูบนานไปจะยิ่งเลิกยาก 

อ้างอิง : https://news.ch7.com/detail/698922

ข้อมูลจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประกิต  วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่.

นายแพทย์สุรพงศ์  อำพันวงษ์

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่.