แม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง มีต้นกำเนิดในประเทศจีน และทอดยาวเกือบ 5,000 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำซึ่งไหลผ่านประเทศมากที่สุดในเอเชีย หกประเทศที่อยู่ตามแนวชายฝั่งได้ “ดื่มน้ำจากแม่น้ำสายเดียวกัน” และเป็นประชาคมซึ่งมีอนาคตร่วมกันที่ ปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างจริงใจ และใกล้ชิดเสมือนครอบครัวเดียวกัน เมื่อมีการเสนอความริเริ่มกรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (แอลเอ็มซี) ที่ตั้งชื่อตามแม่น้ำสายนี้ ก็ได้รับการตอบรับอย่างกระตือรือร้นจากทุกประเทศ

นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย

ปีนี้ แอลเอ็มซี ได้เข้าสู่ปีที่ 8 ประเทศในลุ่มน้ำทั้ง 6 ประเทศ ยึดมั่นในจิตวิญญาณล้านช้าง-แม่โขง ที่ว่า “การพัฒนาต้องมาก่อนการปรึกษาหารือบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน การปฏิบัติจริงอย่างมีประสิทธิภาพ ความเปิดกว้างและความครอบคลุม” และผลักดันแอลเอ็มซีตั้งแต่เริ่มต้นผลิใบ จนถึงปัจจุบันมีกิ่งก้านงอกงามกลายเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการส่งเสริมบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค การรักษาสันติภาพ และเสถียรภาพของภูมิภาค ตลอดจนยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในภูมิภาค

ทั้งหกประเทศกำลังทำงานอย่างแข็งขันเพื่อสร้างกลไกที่ทรงพลัง สำหรับการพัฒนากรอบแอลเอ็มซี ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและมีการกระชับความร่วมมือในด้านการเกษตรกำลังการผลิต ความเชื่อมโยงพลังงานสีเขียว นวัตกรรมและสาขาอื่น ๆ มีการเปิดตัวโครงการกองทุนพิเศษล้านช้าง-แม่โขง มากกว่า 700 โครงการต่อเนื่องกัน ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคและลุ่มน้ำ

ทั้งหกประเทศได้เร่งสร้างเกราะป้องกันที่แข็งแกร่ง เพื่อความมั่นคงร่วมกัน ได้เสริมสร้างความร่วมมือเชิงปฏิบัติ ในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยในรูปแบบใหม่ และการบังคับใช้กฎหมายมากยิ่งขึ้น ขณะที่ “ปฏิบัติการแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขงปลอดภัย” มีความก้าวหน้าในเชิงลึก และมีความก้าวหน้าที่สำคัญ ในการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การพนันออนไลน์ การค้ายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามพรมแดน ฯลฯ ซึ่งมีส่วนสำคัญกับการสร้างหลักประกัน ในการรักษาไว้ซึ่งเสถียรภาพทางสังคม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในอนุภูมิภาค

เจ้าหน้าที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจากจีน ลาว เมียนมา และไทย ร่วมภารกิจลาดตระเวนตามแม่น้ำโขง เมื่อปี 2564

ทั้งหกประเทศกระชับความสัมพันธ์ความเข้าใจ และความรักซึ่งกันและกันมากขึ้น โครงการเอื้อประโยชน์ต่อประชาชน เช่น แผนปฏิบัติการความร่วมมือสาขาทรัพยากรน้ำ ภายใต้กรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (Planon Lancang-Mekong Water Resources) โครงการ LMCBumper Harvest Projects และแผนปฏิบัติการ Green Lancang-Mekong Initiative ได้ถูกดำเนินการสำเร็จด้วยดี และกิจกรรมต่าง ๆ เช่น สัปดาห์ภาพยนตร์นานาชาติ การประชุมสุดยอดสื่อฟอรัมคลังสมอง และกิจกรรม “Lancang-Mekong Adventure” ของกลุ่มสื่อมวลชนมีผลสำเร็จทุก ๆ เดือน ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนมีความก้าวหน้าทุก ๆ วัน และมิตรภาพระหว่างประชาชนในหกประเทศก็พัฒนาดีขึ้นทุกปี

ไทยเป็นประเทศริเริ่ม และมีส่วนร่วมสำคัญของแอลเอ็มซี นอกจากนี้ ไทยยังทำหน้าที่เป็นประธานร่วมในปีนี้ และมีบทบาทสำคัญมากขึ้น ในเดือน พ.ย. 2565 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน เดินทางเยือนไทย และทั้งสองประเทศประกาศก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ แห่งการสร้างประชาคมจีน-ไทย ที่มีอนาคตร่วมกัน

นายหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ร่วมการประชุมระดับผู้นำ กลุ่มประเทศในกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง 25 ธ.ค. 2566

เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไทย เดินทางเยือนจีน เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของความร่วมมือระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ครั้งที่ 3 ภายใต้การชี้นำเชิงยุทธศาสตร์ของผู้นำของทั้งสองประเทศ ความไว้วางใจทางการเมืองระหว่างจีนกับไทยมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณภาพของความร่วมมือเชิงปฏิบัติได้รับการยกระดับสูงขึ้น และรากฐานประชาชนที่ว่า “จีนไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน” มีความแข็งแกร่งมากขึ้น

ปีนี้ เป็นวาระครบรอบ 75 ปีแห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ปีหน้าจะเป็นวาระครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนกับไทย ความสัมพันธ์จีนไทย ก้าวมาที่จุดเริ่มต้นใหม่เชิงประวัติศาสตร์

จีนจะปฏิบัติตามแนวคิดทางการทูตที่จะมีไมตรีจิต ความจริงใจเอื้อผลประโยชน์ร่วมกัน และความเท่าเทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่เสนอโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง

การทำงานร่วมกับประเทศลุ่มน้ำรวมถึงไทย เพื่อแบ่งปันโอกาสในการพัฒนาเร่งสร้างประชาคมประเทศ ล้านช้างแม่โขง ให้มีอนาคตร่วมกันที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น และการทำงานร่วมกัน​​ การสนับสนุนและเดินหน้าเคียงข้างกัน บนเส้นทางสู่ความทันสมัย เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับลุ่มน้ำล้านช้างแม่โขง.

ขอขอบคุณ สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย