ภายใต้ชื่อหนังสือที่กระตุ้นอารมณ์ และแฝงด้วยความตลกขบขัน นักวิชาการชื่อดังรายนี้ หวังที่จะถ่ายทอดปัญหาทางภาษาข้ามช่องแคบอังกฤษ ซึ่งมีมาตั้งแต่การพิชิตของชาวนอร์มัน เมื่อปี 1609 รวมถึงความไร้สาระในการต่อต้าน “สำนวนโวหารที่ชาวอังกฤษใช้” ของชาวฝรั่งเศส

“คุณสามารถมองว่า หนังสือของผมเป็นการแสดงความเคารพต่อภาษาอังกฤษ ที่สามารถนำคำต่าง ๆ มากมายมาใช้ได้ ทั้งจากภาษาไวกิ้ง, ภาษาเดนมาร์ก และภาษาฝรั่งเศส ซึ่งมันน่าทึ่งมาก” กีร์กิกลินี กล่าว

แม้ชนชั้นสูงในยุคอาณานิคมใหม่ ใช้ภาษาฝรั่งเศสนอร์มัน เพื่อทำให้ภาษาอังกฤษมีคำที่ดูเหมือนเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศ แต่กีร์กิกลินี ให้ความสนใจกับช่วงศตวรรษที่ 13 และ 14 มากที่สุด เมื่อภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเป็นภาษาที่สอง ใช้ในการค้าขาย การบริหาร และกฎหมายในเวลานั้น กลายเป็นภาษาอังกฤษอย่างอิสระ เนื่องจากงาน, โชคลาภในที่ดินหรือเงินสด, การถือครองสัญญา, เสรีภาพ หรือแม้ชีวิตของตัวเอง อาจขึ้นอยู่กับการพูดอย่างเชี่ยวชาญ

ทั้งนี้ ครึ่งหนึ่งของภาษาอังกฤษที่ยืมมาจากภาษาฝรั่งเศส เกิดขึ้นระหว่างปี 1803-1943 โดยทำให้เกิดคำอย่าง “bachelor” จากคำในภาษาฝรั่งเศสเก่า “bachelier” ซึ่งหมายถึง ขุนนางหนุ่มที่ยังไม่เป็นอัศวิน

สำหรับตัวอย่างอื่น ๆ คำว่า “travel” มีความเกี่ยวข้องกับ “travail” ซึ่งเป็นคำในภาษาฝรั่งเศสสมัยใหม่สำหรับแรงงาน ส่วนคำว่า “clock” มีต้นกำเนิดมาจาก “cloche” ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการตีระฆังเพื่อส่งเสียงบอกชั่วโมง ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์นาฬิกาจักรกลในภายหลัง

กีร์กิกลินี ชี้ว่า ในช่วงเวลาที่ “วิลเลียม เชกสเปียร์” เขียนบทละครของเขา เมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 16 และช่วงต้นศตวรรษที่ 17 คำศัพท์ประมาณ 40% ของคำทั้งหมดที่เชกสเปียร์ใช้ในผลงานของเขา ล้วนมีต้นกำเนิดจากภาษาฝรั่งเศส

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สถาบันการศึกษาคัดค้านการนำเข้าคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 เช่น “cluster” หรือ “testing” ตลอดจนคำศัพท์ทางเทคโนโลยี เช่น “big data” ซึ่งกีร์กิกลินี กล่าวว่า ทางสถาบันได้รับชัยชนะที่คุ้มค่าบางอย่าง เช่น การโน้มน้าวโลกที่พูดภาษาฝรั่งเศส ใช้คำว่า “logiciel” ที่ฟังดูเป็นภาษาแม่ แทนคำว่า “software”

อย่างไรก็ตาม กีร์กิกลินี เน้นย้ำว่า สิ่งนี้ไม่ใช่การรุกรานแต่อย่างใด เพราะมันคือคำในภาษาฝรั่งเศส ที่ใช้สำหรับการฝึกฝนในสหราชอาณาจักร และกำลังกลับมาสู่ฝรั่งเศส

อนึ่ง มาดากัสการ์ ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่สอง ในลักษณะเดียวกับที่สหราชอาณาจักรใช้เมื่อ 800 ปีก่อน ขณะที่บางสถานที่ เช่น รัฐลุยเซียนาของสหรัฐ ก็ยังมีคนจำนวนมากพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่สอง ซึ่งกีร์กิกลินีเชื่อว่า การใช้ภาษาฝรั่งเศสในสถานที่เหล่านี้ อาจมีความอุดมสมบูรณ์พอ ๆ กับการใช้ภาษาฝรั่งเศสในสหราชอาณาจักร.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : GETTY IMAGES