วัยรุ่นหญิงคนหนึ่ง ซึ่งเคยได้เรียนในโรงเรียนดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ การสอบเข้าได้ด้วยตนเองแสดงถึงศักยภาพและความสามารถของเขา แต่หลังจากได้เข้าเรียนชีวิตของเขาก็ได้เปลี่ยนแปลงไป เดิมเขามารักษาด้วยภาวะซึมเศร้ามาเป็นระยะเวลา 2-3 ปี และมีอาการที่ดีขึ้น แต่หลังจากได้เข้าเรียนโรงเรียนแห่งใหม่ และคบกับกลุ่มเพื่อนที่ชวนกันโดดเรียน ไปสูบบุหรี่ไฟฟ้า กัญชา แก๊สหัวเราะ  ชีวิตของเขาก็เปลี่ยนไปอย่างมากทั้งในด้านการเรียนที่ตกต่ำลง และความสัมพันธ์กับพ่อแม่ซึ่งเขามีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปและทะเลาะกับพ่อแม่บ่อยมากขึ้น และรวมถึงการขาดการรักษาเรื่องซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง เพราะมองว่าบุหรี่ไฟฟ้าและสารเสพติดที่ให้ความสุขอย่างชั่วคราวกับเขาก็ช่วยอาการซึมเศร้าของเขาได้ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขายังคงต้องพึ่งพาสารเสพติดเหล่านั้นต่อเนื่อง ร่วมกับมุมมองต่อบุหรี่ไฟฟ้าเนื่องจากเพื่อนรอบตัวเขาทุกคนต่างใช้กันทำให้มองว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งปกติของวัยรุ่น แม้ว่าจะทราบถึงผลกระทบของมัน แต่ทั้งจากการแวดล้อมด้วยเพื่อนที่ใช้ สังคมที่สามารถหาซื้อได้ง่าย ขาดความรู้ ความเข้าใจว่าวัยรุ่นที่เป็นส่วนใหญ่ของสังคมก็ไม่ได้ใช้สิ่งเสพติดเช่นเขาและเพื่อน ปัจจัยเหล่านี้

 จนกระทั่งวันหนึ่งเขาต้องเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากการใช้สารเสพติดมากเกินขนาด มีผลข้างเคียงทางระบบประสาท และเกือบเอาชีวิตไม่รอด ร่างกายอ่อนแรง เพื่อนที่เคยสนุกกับเขาแม้จะแสดงความเป็นห่วงต่าง ๆ แต่อาจไม่ได้เป็นคนที่ช่วยดูแลเขาในชีวิตประจำวันต่าง ๆ แต่กลับเป็นพ่อแม่ที่ยังอยู่ข้างเขาจนกระทั่งอาการต่าง ๆ ดีขึ้น เขาจึงอยากที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเอง ลดการใช้สารเสพติด กลับมาเริ่มการรักษาภาวะซึมเศร้าใหม่ แม้ว่าเขาจะยังคงใช้บุหรี่ไฟฟ้าอยู่เนื่องจากยังมองว่าเป็นวิธีคลายเครียดที่เหลือและช่วยให้เขาอยู่ในกลุ่มเพื่อนของเขาได้ การให้กำลังใจจากครอบครัวและสังคม เปิดรับเขาเข้าหากลุ่มเพื่อนทั่วไปซึ่งไม่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเช่นเขาและเพื่อน คงจะเป็นกำลังใจให้เขาค่อย ๆ กลับมามีศักยภาพต่าง ๆ เช่นเดิมของเขาได้ต่อไป และรวมถึงการสร้างสังคมใหม่ที่ไม่มองว่า เรื่องเหล่านี้เป็นปกติ ใคร ๆ ก็ใช้กัน ซึ่งเป็นทัศนคติที่ไม่ถูกต้องและน่าเป็นห่วง จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้วัยรุ่นปัจจุบันและในอนาคตปลอดภัย เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ส่งเสริมสังคมที่ดีต่อไปในอนาคตได้

ข้อมูลจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่