นาฬิกาวันสิ้นโลก (Doomsday Clock)​ เป็นนาฬิกาบอกเวลาที่ถูกสมมุติขึ้น ไม่ใช่นาฬิกาบอกเวลาจริง แต่เป็นนาฬิกาเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นการเปรียบการนับถอยหลังมหันตภัยทั่วโลกที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิด สงครามนิวเคลียร์ (Nuclear War) โดยเป็นการใช้หน้าปัดนาฬิกาแทนมาตรวัดที่บ่งบอกว่าสถานการณ์โลกในปีนั้น ๆ มีความเสี่ยงที่จะเข้าใกล้หายนะมากน้อยเพียงใด ยิ่งเข็มนาฬิกาบอกเวลาเข้าใกล้เที่ยงคืนหรือ 24.00 น. มากขึ้นเท่าใด โลกก็ยิ่งมีความเสี่ยงประสบกับความหายนะมากขึ้นเท่านั้น เข็มนาฬิกาวันสิ้นโลกอาจถูกปรับให้เดินหน้าหรือถอยห่างจากเวลาเที่ยงคืนก็ได้ มากน้อยต่างกันในแต่ละปี นาฬิกาวันสิ้นโลกเป็นเครื่องมือที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งคิดค้น ระเบิดปรมาณู (Atomic​ bomb) ซึ่งมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากองค์การจดหมายข่าวนักวิทยาศาสตร์ด้านปรมาณู (The Bulletin of the Atomic Scientists-BAS) ที่ มหาวิทยาลัยชิคาโก​ สหรัฐอเมริกา​ในปี ค.ศ 1947 (พ.ศ.2490) นาฬิกาโลกวันสิ้นโลกนี้แขวนอยู่บนกำแพงของสำนักงานหอจดหมายข่าวนิวเคลียร์ ในมหาวิทยาลัยชิคาโก ปัจจุบันนอกจากจะมีสมาชิกของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากองค์การจดหมายข่าวนักวิทยาศาสตร์ด้านปรมาณูแล้ว  ยังมีนักฟิสิกส์นักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ นักวิทยาศาสตร์สาขาสิ่งแวดล้อม ยังรวมถึงคณะกรรมการที่ปรึกษาซึ่งได้รับ รางวัลโนเบล (Nobel​ Price) 15 คนอีกด้วย ซึ่งร่วมกันทำงานในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์โลก ก่อนที่จะตัดสินใจประกาศปรับเข็มนาฬิกาวันสิ้นโลก​หรือวันโลกาวินาศ

ในห้วงอดีตที่ผ่านมา เข็มนาฬิกาวันสิ้นโลกถูกปรับเข้าใกล้เวลาเที่ยงคืนมากที่สุด เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์ที่สหรัฐอเมริกาทดลองระเบิดไฮโดรเจนเมื่อปี ค.ศ. 1953 (พ.ศ.2496)​ เข็มนาฬิกาวันสิ้นโลกถูกปรับเข้าใกล้เวลาเที่ยงคืนเพียง 120 วินาที​ (2 นาที)​ ก่อนเวลาเที่ยงคืน ส่วนปีที่เข็มนาฬิกาถูกปรับให้ถอยออกห่างจากเวลาเที่ยงคืนมากถึง 17 นาที เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) เมื่อครั้งที่ชาติมหาอำนาจร่วมลงนามในสนธิสัญญาลดอาวุธทางยุทธศาสตร์ (Strategic Arms Reduction Treat -​ START)

ในแต่ละปี กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากองค์การจดหมายข่าวนักวิทยาศาสตร์ด้านปรมาณูมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่างๆ ของโลก แล้วประกาศตัวเลขเข็มนาฬิกาวันสิ้นโลกเพื่อบ่งชี้สถานการณ์โลกว่ากำลังเข้าใกล้ความหายนะมากเพียงใด ปัจจัยหลักในการวิเคราะห์ คือ ความเสี่ยงด้านอาวุธนิวเคลียร์ ความเสี่ยงภาวะของสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในปี ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) เข็มนาฬิกาวันสิ้นโลกหยุดอยู่ที่เวลา  23:58.20 น. ซึ่งเหลือเพียง 100 วินาที(1.40 นาที) ก่อนเวลาเที่ยงคืน ซึ่งในปีนั้นมีภัยคุกคามจากการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือและภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น สำหรับในปี ค.ศ 2020 (พ.ศ. 2563) แม้ว่าจะมีการระบาดใหญ่ (Pandemic)​ ของโควิด-19 ในทั่วโลก เข็มนาฬิกาวันสิ้นโลกยังคงหยุดอยู่ที่ตำแหน่งเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลง

ลำดับเหตุการณ์​การปรับเวลานาฬิกาวันสิ้นโลกของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากองค์การจดหมายข่าวนักวิทยาศาสตร์ด้านปรมาณู​ ตั้งแต่ปี​ ค.ศ.1947 (พ.ศ.2490)​-ค.ศ.2021 (พ.ศ.2564)​ รวมทั้งสิ้น​ 17​ ครั้ง​ ดังนี้

ค.ศ.​1947​ (พ.ศ.2490) ​7 นาทีก่อนเที่ยงคืน​ ซึ่งเป็นเวลา 23.53 น. (Time is set for the first time)

ค.ศ.1949 (พ.ศ.2492)​ 3 นาทีก่อนเที่ยงคืน (USSR tests its first nuclear bomb)

ค.ศ.1953 (พ.ศ.2496)​ 2 นาทีก่อนเที่ยงคืน (The USA tests their first hydrogen bomb. This is the closest the minute hand had been to midnight before 2020)

ค.ศ.1962 (พ.ศ.2505)​ 7 นาทีก่อนเที่ยงคืน (Cuban Missile Crisis is resolved)

ค.ศ.1972 (พ.ศ.2515)​ 12 นาทีก่อนเที่ยงคืน (Strategic Arms Limitation Treaty  is passed)​

ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524)​ 4 นาทีก่อนเที่ยงคืน (Cold War is re-ignited when Ronald Reagan is elected and the Soviet invade Afghanistan)

ค.ศ.1984​ (พ.ศ.2527)​ ​3 นาทีก่อนเที่ยงคืน (US threatens a space based anti-ballistic missile system)

ค.ศ.1990 (พ.ศ.2533)​ ​10 นาทีก่อนเที่ยงคืน (The Berlin Wall falls)

ค.ศ.1991 (พ.ศ.2534)​ 17 นาทีก่อนเที่ยงคืน (Cold War ends. This is the furthest the minute hand has been from midnight)

ค.ศ.2002 (พ.ศ.2545)​ 7 นาทีก่อนเที่ยงคืน (Following 9/11 fears increase of nuclear weapons falling into the wrong hands)

ค.ศ.2012 (พ.ศ.2555)​ 5 นาทีก่อนเที่ยงคืน (Kim Jong-Un hints a potential for nuclear war in Korea)

ค.ศ.2016 (พ.ศ.2559)​ 3 นาทีก่อนเที่ยงคืน​ (Lack of action on climate change and nuclear weapon threat remains)

ค.ศ.2017 (พ.ศ.2560)​ 2.30 นาทีก่อนเที่ยงคืน (President Donald Trump’s vagueness regarding nuclear weapon use and the rise of nationalism)

ค.ศ.2018 (พ.ศ.2561)​ 2 นาทีก่อนเที่ยงคืน (Failure from world leaders to deal with climate change issues and nuclear threats saw the clock set at its joint closest to midnight)

ค.ศ.2019 (พ.ศ.2562)​ 2 นาทีก่อนเที่ยงคืน​ (The Amazon burns and President Donald Trump heightens tension)

ค.ศ.2020​ (พ.ศ.2563)​ 1.40 นาที ก่อนเที่ยงคืน (Climate change that was ‘devastating the planet’ according to the Bulletin and the demise of the INF treaty meant new nuclear weapons were created)

ค.ศ.2021​ (พ.ศ.2564)​ 1.40 นาที ก่อนเที่ยงคืน (World leaders deemed unprepared to deal with climate change, nuclear threat and the pandemic)

สถานการณ์ความตึงเครียดในเหตุการณ์ที่กองกำลังปฏิบัติการพิเศษของรัสเซียรุกเข้าไปใน ดินแดนยุเครนเมื่อวันที่ 24  กุมภาพันธ์ 2565 ต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ผ่านมาแล้ว 7 วัน ซึ่งยังมีการสู้รบกันอยู่ระหว่างรัสเซียกับยูเครน เชื่อว่ากลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากองค์การจดหมายข่าวนักวิทยาศาสตร์ด้านปรมาณู​ คงอยู่ระหว่างการวิเคราะห์สถานการณ์และประเมินความเสี่ยงถึงความร้ายแรงของหายนภัยที่อาจเกิดขึ้นตามมา แต่ในขณะนี้ยังไม่มีข่าวสารประกาศการปรับเข็มนาฬิกาวันสิ้นโลกในระดับใด

อย่างไรก็ตามมวลมนุษยชาติพึงอย่าได้ตั้งอยู่บนความประมาท เพราะดาวเคราะห์โลกดวงนี้ มีความเสี่ยงที่จะเกิดความหายนะในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นสงครามนิวเคลียร์ ภัยพิบัติธรรมชาติร้ายแรงที่เกิดจากปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน การระบาดใหญ่ของโรคอุบัติใหม่ ฯลฯ ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการดำรงชีวิตของพลโลกทั้งหลาย ตราบใดที่ประเทศต่างๆ ต้องการเป็นใหญ่ เป็นประเทศมหาอำนาจ เป็นเจ้าโลก ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งในการแย่งชิงและแสวงผลประโยชน์อย่างไม่ลืมหูลืมตา มีการประหัตประหารกัน ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจนหมดสิ้น ไม่มีการคำนึงถึงความผิดชอบชั่วดีใดๆ เป็นการยากยิ่งที่พลโลกจะอาศัยอยู่ร่วมกันบนดาวเคราะห์โลกนี้อย่างมีสันติสุข

…………………………………..
คอลัมน์ : ว่ายทวนน้ำ
โดย “ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล”
อ่านเพิ่มเติมที่.. แฟนเพจ :
สาระจากพระธรรม