จากกรณี นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวในการแถลงข่าวว่า มีการหารือถึงการใช้ชุดตรวจแอนติเจน (Rapid Antigen Test) ร่วมกันระหว่างกรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค เครือข่ายโรงเรียนแพทย์ และคณะทำงานวิชาการ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข  และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีมติเห็นชอบ ในแนวทางการดำเนินการใช้ชุดตรวจแอนติเจน จนทำให้ชื่อของ “Rapid Test” ได้รับความสนใจถึงวิธีการใช้งานเป็นอย่างไรกันแน่?

Rapid Test ตรวจหาอะไรบ้าง

Rapid Testคือชุดตรวจที่ให้ผลอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะมีอยู่ 2 แบบ ดังนี้
ตรวจหาเชื้อ (Antigen) โดยจะเก็บตัวอย่างจากทางจมูกหรือคอ ซึ่งต้องรับเชื้อมาแล้ว 5–14 วัน ถึงจะได้ผลที่แม่นยำ โดยตอนนี้ มียี่ห้อชุดตรวจ Rapid Antigen Test ที่ขึ้นทะเบียนกับ อย.แล้วมี 24 ยี่ห้อ คาดเริ่มต้น 300-400 บาท
ตรวจหาภูมิคุ้มกัน (Antibody) เก็บตัวอย่างจากการเจาะเลือด จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อในวันที่ 10 เป็นต้นไป จนกระทั่งหายป่วยแล้ว

โดยตอนนี้ ชุดตรวจที่กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติให้ใช้ตามบ้านก็คือ ชุดตรวจแบบ Antigen หรือที่เรียกว่า Rapid Antigen Test นั่นเอง ส่วนการตรวจหาภูมิคุ้มกัน เปิดให้ทดสอบตามโรงพยาบาล

วิธีการใช้งาน
ก่อนการเริ่มใช้ Rapid Antigen Test ควรใส่อุปกรณ์ป้องกันตัวเองให้เรียบร้อย (ใส่หน้ากาก และ ถุงมือ) และ ตรวจสอบอุปกรณ์ในชุดตรวจ Rapid Test เตรียมถังขยะติดเชื้อเอาไว้สำหรับทิ้งอุปกรณ์เมื่อตรวจเสร็จ

  1. นำขวดน้ำยาเทลงในหลอดเก็บตัวอย่างที่ให้มาพร้อมกับชุดตรวจ โดยเทให้ถึงบริเวณขอบหลอดตามที่กำหนด จากนั้นนำหลอดเก็บตัวอย่างไปวางไว้ในแท่นวางรอก่อน
  2. นำก้านเก็บตัวอย่างที่ใช้ swap ซึ่งให้มากับชุดตรวจ มาแหย่เข้าที่จมูกในลักษณะของภาพ จากนั้นหมุน swap ประมาณ 3-4 ครั้ง แล้วค้างไว้ 3 วินาที
  3. นำก้านเก็บตัวอย่างที่ swap แล้ว ออกจากจมูก จากนั้นนำมาใส่ในหลอดเก็บ โดยแหย่บริเวณที่ปลายก้านที่ swap เข้าไปยังหลอดเก็บ จากนั้นหมุนวนในน้ำยาประมาณ 5 ครั้ง เสร็จแล้วยกขึ้นเล็กน้อย บีบตรงหลอดเก็บตัวอย่างบริเวณปลายสำลี แล้วหักบริเวณด้านบนไม้ตามรอยต่อ และปิดฝาหลอดเก็บให้แน่น
  4. เสร็จแล้วเตรียมแผ่นทดสอบมารองไว้ด้านล่าง แล้วหมุนบริเวณปลายหลอดเก็บ / หรือใช้หลอดดูด หยดน้ำยาที่ผสมกับตัวสารคัดหลั่งแล้ว ลงไปในช่องที่กำหนด ประมาณ 3-5 หยด
  5. นำหลอดเก็บตัวอย่างพร้อมกับก้านเก็บตัวอย่างที่ swap แล้วทิ้งลงในถังขยะติดเชื้อ จากนั้นรอผลตรวจประมาณ 10-30 นาที ตามที่ชุดตรวจกำหนด
  6. ดูว่าผลตรวจออกมาเป็น + หรือ – (ขึ้น 2 ขีด คือบวก ขึ้น 1 ขีด คือ ลบ) เมื่อทราบผลให้นำเอาแผ่นทดสอบไปทิ้งลงถังขยะติดเชื้อ เป็นอันเสร็จ

ข้อควรระวัง
– การตรวจเชื้อไวรัส (Antigen) ต้องรับเชื้อมาแล้ว 5 – 14 วัน ถึงจะตรวจได้ผลที่แม่นยำ ส่วนการตรวจภูมิคุ้มกัน (Antibody) จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อในวันที่ 10 เป็นต้นไป จนกระทั่งหายป่วยแล้ว
– การตรวจได้ผลเป็น Positive หรือ Negative ไม่ได้หมายความการันตีว่าจะพบเชื้อ หรือ ไม่พบเชื้อ เพราะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้รับเชื้อมาแล้วด้วย หากมีอาการอื่นๆ เพิ่มเติม ควรตรวจซ้ำ เพื่อความแม่นยำ

ทั้งนี้ Rapid Antigen Test ที่ใช้ตรวจ จะต้องได้รับการอนุมัติจาก อย. แล้วเท่านั้น และควรเก็บชุดตรวจในอุณหภูมิที่กำหนด, ตรวจสอบวันหมดอายุของชุดตรวจ, เตรียมพื้นที่สำหรับใช้ทดสอบให้สะอาด, อย่าเปิดหรือฉีดซองบรรจุตลับ จนกว่าจะทดสอบ, อ่านผลตรวจตามเวลาที่ชุดตรวจกำหนด, ไม่นำอุปกรณ์หรือตลับทดสอบอันเดิมมาใช้ซ้ำ, นำชุดตรวจที่ทดสอบแล้ว พร้อมอุปกรณ์ที่เหลือจากการใช้งานแช่น้ำยาฆ่าเชื้อและแยกใส่ถุงปิดให้มิดชิด ทิ้งให้เหมาะสม, ล้างมือหลังทำการทดสอบ

ถ้าผลเป็นบวกต้องทำอย่างไรต่อ?
กรณีผลทดสอบเป็นบวก ให้แจ้งหน่วยบริการใกล้บ้านที่ติดต่อได้, แยกกักตัวเองและสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการหายใจลำบากควรติดต่อขอเข้ารักษา แจ้งผู้ใกล้ชิดให้ทราบความเสี่ยง เพื่อให้ทดสอบหาเชื้อต่อไป
ส่วนกรณีผลทดสอบเป็นลบหากเสี่ยงสูง แยกกักตัว ก่อนทดสอบซ้ำภายหลัง 3-5 วัน และหากมีอาการป่วยของโควิด-19 ควรทดสอบซ้ำทันที และหากมีประวัติเสี่ยงควรแยกกักตัว เพื่อป้องกันแพร่เชื้อไว้ก่อน

สำหรับรายชื่อ 24 ชุดตรวจ Rapid Antigen Test Covid-19 ที่ผ่าน อย. มีทั้งหมดดังนี้