สำนักข่าวซินหัวรายงานจากเมืองคุนหมิง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 19 ก.พ. ว่า “นิกทีนาสตี” คล้ายคลึงกับการนอนหลับของมนุษย์ โดยเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่เป็นจังหวะชีวภาพ 24 ชั่วโมงของใบไม้ ซึ่งต้นกำเนิด ประวัติวิวัฒนาการ และประโยชน์ใช้สอยยังไม่ชัดเจนเนื่องจากขาดหลักฐานฟอสซิล จนกระทั่งคณะนักวิจัยพบฟอสซิลของพืช ที่แสดงความเสียหายอันเกิดจากแมลง
คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้เปรียบเทียบรูปแบบสมมาตรของความเสียหายอันเกิดจากแมลงบนใบไม้หุบที่ยังมีชีวิต กับรูปแบบเดียวกันบนใบของพืชเก่าแก่ 250 ล้านปีที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
คณะนักวิทยาศาสตร์สรุปว่า ฟอสซิลใบไม้ข้างต้นถูกแมลงโจมตีขณะที่กำลังหุบหรือ “นอนหลับ” ซึ่งเป็นหลักฐานแรกของการนอนของต้นไม้ทางใบในฟอสซิลพืช
นอกจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญยังวิเคราะห์ตัวอย่างจำนวนมากและค้นพบว่าการนอนของต้นไม้ทางใบมีวิวัฒนาการอย่างเป็นอิสระในกลุ่มพืชที่หลากหลาย.
ข้อมูล-ภาพ : XINHUA