สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากเมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ว่า นิวรัลลิงก์ กล่าวว่า การอนุญาตจากเอฟดีเอ สำหรับการศึกษาทางคลินิกในมนุษย์เป็นครั้งแรกนี้ ถือเป็น “ก้าวแรกที่สำคัญ” ต่อเทคโนโลยีของบริษัท ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้สมองสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
“พวกเรารู้สึกตื่นเต้นในการแจ้งให้ทราบว่า เราได้รับการอนุมัติจากเอฟดีเอ ให้เริ่มการศึกษาทางคลินิกในมนุษย์เป็นครั้งแรก” นิวรัลลิงก์ ทวีต “นี่คือผลงานอันน่าทึ่งของทีมนิวรัลลิงก์ ในความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับเอฟดีเอ”
We are excited to share that we have received the FDA’s approval to launch our first-in-human clinical study!
— Neuralink (@neuralink) May 25, 2023
This is the result of incredible work by the Neuralink team in close collaboration with the FDA and represents an important first step that will one day allow our…
ทั้งนี้ มัสก์ กล่าวในการนำเสนอเมื่อเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมาว่า เป้าหมายของการฝังนิวรัลลิงก์ คือ การทำให้สมองของมนุษย์สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์โดยตรงได้ ซึ่งทางบริษัททำงานอย่างหนัก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการทดสอบในมนุษย์คนแรก ตลอดจนมีความระมัดระวังรอบคอบอย่างมาก และมั่นใจว่ามันจะทำงานได้ดี ก่อนที่จะมีการใส่อุปกรณ์เข้าไปในคนจริง
Our surgical robot uses advanced imaging systems to detect the brain and insert threads away from blood vessels. Here, you can see everything the robot sees while we test the accuracy of each of the robot’s high-precision cameras ???? #techtuesday pic.twitter.com/c5rklTp2m4
— Neuralink (@neuralink) May 23, 2023
ยิ่งไปกว่านั้น มัสก์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นิวรัลลิงก์ จะพยายามใช้การฝังชิป เพื่อฟื้นฟูการมองเห็น และการเคลื่อนไหวในมนุษย์ที่สูญเสียความสามารถดังกล่าว
“ในตอนแรก พวกเราจะทำให้คนซึ่งแทบจะไม่มีความสามารถข้างต้น สามารถใช้งานกล้ามเนื้อ และช่วยให้พวกเขาใช้โทรศัพท์ได้เร็วกว่าคนทั่วไป” มัสก์ ระบุ “เรามั่นใจว่ามันมีความเป็นไปได้ ที่จะฟื้นฟูการทำงานของร่างกายอย่างเต็มรูปแบบ ให้กับผู้ที่ตัดไขสันหลังออกไปแล้ว”
นอกเหนือจากศักยภาพในการรักษาโรคของระบบประสาท เป้าหมายสูงสุดของมัสก์ คือ การทำให้แน่ใจว่า มนุษย์จะไม่ถูกปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ครอบงำทางสติปัญญา.
เครดิตภาพ : AFP