มณฑลฝูเจี้ยน ทางตะวันออกของจีน ยกระดับการทำอุตสาหกรรมประมงแบบยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ชาวประมงในเมืองหนิงเต๋อ (Ningde) เมืองชายทะเลในมณฑลฝูเจี้ยน ทำประมงด้วยวิธีการต่อแพติดกัน ซึ่งแพที่ทำจากไม้และโฟม อาจจะเสียหายได้เมื่อเจอสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย นอกจากนี้ พอลิสไตรีนยังทำให้เกิดมลพิษทางทะเล

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทางการท้องถิ่นจึงให้ความสำคัญในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานการทำประมงท้องถิ่น Song Xiangguo ชาวประมงกล่าวว่า แพและกรงแบบเดิมถูกแทนที่ด้วยแพพลาสติก ซึ่งมีความทนทานกว่า ขณะที่ กรงไม้แบบเดิมลึก 4 เมตร แต่กรงแบบใหม่ลึก 12 เมตร จึงได้ปลาเพิ่มขึ้นอย่างมาก

เดิมทีชาวประมงที่นี่ จะต้องทํางานตอนกลางคืนเพื่อหาปลาจวดสีเหลือง แต่ตอนนี้เทคโนโลยีช่วยทำประมงได้อย่างมาก Yan Jiaqiang วัย 59 ปี เริ่มทําประมงเมื่อกว่า 30 ปีก่อน เล่าว่า ในอดีตต้องใช้กรงตาข่ายทำประมง แต่ตอนนี้สามารถใช้ระบบติดตามสัตว์น้ำช่วยในการทำประมงได้อย่างมาก

โดยชาวประมงปรับวิธีการทำประมงมาอยู่ในรูปแบบแท่นเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ “Mintou 1” ครอบคลุมพื้นที่ 60,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อเลี้ยงปลาจวดสีเหลืองและสัตว์น้ำอื่นๆ โดยคาดว่าแต่ละปีจะได้ปลาจวดขนาดใหญ่ประมาณ 600 ตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกกว่า 500 ล้านบาท

เครดิต China Media Group (CMG)