สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 20 ก.ค. ว่า กระทรวงกลาโหมรัสเซียออกแถลงการณ์ว่า นับจากนี้เรือทุกลำที่เดินทางผ่านทะเลดำ เพื่อเข้าไปลำเลียงธัญพืชออกจากท่าเรือในยูเครน ถือเป็น “เรือบรรทุกสินค้าทางทหาร” และธงชาติซึ่งติดอยู่บนเรือลำนั้น “ถือว่าเป็นประเทศที่เข้าข้างยูเครนในความขัดแย้งครั้งนี้”
The agreements underpinning the controversial Black Sea grain deal have been terminated, the Kremlin announced. Spokesman Dmitry Peskov said that Russia will immediately return to the arrangement when all parties concerned implement the previously agreed steps pic.twitter.com/et3db47md3
— RT (@RT_com) July 18, 2023
ขณะเดียวกัน รัฐบาลอมอสโกเตือนรัฐบาลเคียฟ อย่าใช้ระเบียงธัญพืชในทะเลดำ “เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร” ด้านนายอดัม ฮอดจ์ โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ เปิดเผยข้อมูลที่อ้างว่า มาจากข้อมูลข่าวกรองใหม่ที่เพิ่งได้รับ ว่ารัสเซียฝังทุ่นระเบิดเพิ่มเติม ใกล้กับท่าเรือหลายแห่งในทะเลดำ “แล้วกล่าวหาว่าเป็นของยูเครน”
นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหมรัสเซียยืนยัน การโจมตี “โครงสร้างพื้นฐานทางทหาร” ในภูมิภาคโอเดสซา ที่อยู่ทางตะวันตกของยูเครน ต่อเนื่องเป็นวันที่สอง และรุกคืบแนวรบแดนหน้าในภูมิภาคคาร์คิฟ ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เป็นระยะทางเพิ่มอีก 1 กิโลเมตร แต่จำเป็นต้องอพยพประชาชนราว 2,000 คน หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ฐานทัพแห่งหนึ่ง บนคาบสมุทรไครเมีย
???????? ???????? #Russia destroyed 60,000 tons of grain meant for export in overnight strikes on the Chornomorsk port in the #Odesa region, says #Ukraine's agriculture ministry.
— FRANCE 24 English (@France24_en) July 19, 2023
The attack comes after Russia quit the Black Sea grain deal that allowed the safe passage of Ukrainian grain ⤵️ pic.twitter.com/0NTKaDyzc6
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเคียฟกล่าวว่า ปฏิบัติการทางทหารดังกล่าวของรัสเซีย ในภูมิภาคโอเดสซา สร้างความเสียหายให้กับธัญพืชราว 60,000 ตัน ที่กำลังรอส่งออกไปยังจีน
อนึ่ง ข้อตกลงลำเลียงธัญพืชออกจากทะเลดำ ที่เป็นความร่วมมือระหว่างยูเอ็น กับรัสเซีย ยูเครน และตุรกี สิ้นสุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา หลังทั้งสามฝ่ายลงนามร่วมกันครั้งแรก เมื่อเดือน ก.ค. 2565 และมีการต่ออายุข้อตกลงครั้งล่าสุด เป็นเวลานาน 2 เดือน เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา โดยตลอดระยะเวลาที่ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ ทุกภาคส่วนร่วมกันลำเลียงธัญพืชออกจากทะเลดำได้มากกว่า 32 ล้านตัน ช่วยบรรเทาความรุนแรงของวิกฤติการขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา.
เครดิตภาพ : AFP