กลายเป็นที่ฮือฮา เมื่อนักร้องดังระดับโลก “Ed Sheeran” เอ็ด ชีแรน ที่บินมาประเทศไทย เพื่อเปิดคอนเสิร์ตทัวร์รอบโลกเมื่อวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ ณ ราชมังคลากีฬาสถาน เรียกได้ว่าจัดหนักจัดเต็มทั้ง แสง, สี, เสียง อีกทั้งยังแวะชิมอาหารไทยร้านเด็ดอย่าง “เจ๊ไฝ”
- ฮือฮา! ‘Ed Sheeran’ นักร้องดังระดับโลกแวะกินไข่เจียวเจ๊ไฝ
- แฟนบอลเฮลั่น! ‘Ed Sheeran’ ใส่เสื้อทีมชาติไทยโชว์คอนเสิร์ตกลางราชมังฯ
ซึ่งแฟนเพลงและชาวเน็ตต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่แหละซอฟต์พาวเวอร์ของไทยที่แท้จริง ขาดแค่ใส่กางเกงช้างและถือยาดม แต่ความน่ารักน่าเอ็นดูของหนุ่มเอ็ดนั้นไม่จบ เพราะล่าสุดเจ้าตัวลงคลิปบรรยากาศตำหนักอาจารย์เหน่ง เพื่อสักลาย “ยันต์ 8 ทิศ” โดยวันนี้ทีมข่าวเดลินิวส์ออนไลน์จะพาทุกคนไปทำถามรู้จักลายยันต์ 8 ทิศ และตำนานความเชื่อที่ยังหลงเหลืออยู่
“ยันต์ 8 ทิศ” มีอีกชื่อว่ายันต์อิติปิโสแปดทิศ โดยในอดีตเป็นยันต์ที่พระธุดงค์หรือคนที่ต้องเดินทางเข้าป่า ใช้เสริมดวงให้แคล้วคลาดและปลอดภัย ซึ่งจะเขียนไว้ที่พื้น เพื่อป้องกันสัตว์ร้ายและภูตผีปิศาจ ยันต์แปดทิศนิยมสักบนร่างกาย หรืออาจจะบูชาเป็นวัตถุมงคล เช่น พระผง รูปหล่อ หรือเหรียญ และถ้าตามความเชื่อของคนจีนการมียันต์ 8 ทิศ ติดไว้บริเวณหน้าบ้าน คือการปรับฮวงจุ้ยและไว้ใช้ปกป้องสิ่งชั่วร้ายที่จะเข้ามาในชีวิต
ยันต์แปดทิศมีความเชื่อกันว่ามีพุทธคุณดังนี้
– แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
– ป้องกันภูตผีปิศาจและคุณไสย
– เมตตามหานิยม
– โชคลาภ เงินทอง
– เสริมดวงชะตา
– คงกระพันชาตรี
คาถายันต์แปดทิศ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
สุเมธัง อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
ปทุมุตตระ อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
นามะ อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
ปัพพะโต อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
สิขี อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
เวสสะภู อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
กัสสะปะ อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโส อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
คาถาบูชา
ตั้งนะโม 3 จบ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
สุเมธัง อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
ปทุมุตตระ อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
นามะ อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
ปัพพะโต อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
สิขี อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
เวสสะภู อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
กัสสะปะ อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโส อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโส อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโส อะระหังสัมมาสัมพุทโธ
นะโม พุทธายะ
นะโม ธัมมะยะ
นะโม สังฆะยะ