ภายใต้การส่งเสริมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโลหะ ไต้หวัน ได้อัดฉีดทรัพยากรสู่ “แผนการเพิ่มมูลค่าในการตรวจสอบตลาดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทางการแพทย์” และให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการด้านอุปกรณ์การแพทย์ไต้หวันที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการของไต้หวัน (TFDA) เพื่อผลักดันนวัตกรรมทางการแพทย์ของไต้หวันสู่การแพทย์อัจฉริยะในต่างประเทศ พร้อมรวบรวมข้อมูลประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก ซึ่งช่วยให้อุปกรณ์การแพทย์คุณภาพสูงของไต้หวันเข้าสู่อุตสาหกรรมการแพทย์อัจฉริยะ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมแผนการตรวจสอบตลาดในต่างประเทศ และเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับสากล
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การแพทย์อัจริยะค่อย ๆ มีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอุตสาหกรรมการแพทย์ และกลายเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ อาทิ “แพลตฟอร์มการแพทย์ทางไกล” (Telemedicine) ของบริษัทไอเมดแทค (imedtac) ที่ได้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์การแพทย์อัจฉริยะที่ผ่านการรับรองและได้นำเข้ามาในประเทศไทย เช่น “กล้องตรวจจอประสาทตาชนิดมือถือ” (Horus Scope) ที่พัฒนาโดย Medimaging Integrated Solution Inc. “ชุดอุปกรณ์วัดข้อมูลทางสรีรวิทยา เช่น ความดันโลหิต ออกซิเจนในเลือด และเครื่องวัดอุณหภูมิ” โดย Inventec Appliances Corp. และ “DeepCT ที่ใช้ AI วิเคราะห์ภาพ CT Scan วินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง” โดยบริษัท Deep01 ทั้งนี้ ได้มีการก่อตั้ง “การแพทย์ฉุกเฉินทางไกลของไทย-คลินิกตรวจจับภาวะเลือดออกในสมองด้วย AI” ขึ้นที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่ โดยได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งได้รับเกียรติจากหวงป๋อเว่ย รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโลหะ ไต้หวัน นพ.มาโนช เล้าวงค์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแมคคอร์มิค และตัวแทนผู้ประกอบการด้านอุปกรณ์การแพทย์ไต้หวันเข้าร่วมเปิดงาน
หวงป๋อเว่ย รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโลหะ ไต้หวัน กล่าวว่า “แผนการนี้จะมุ่งเน้นไปที่การขยายฐานการแพทย์อัจฉริยะในประเทศไทย โดยจัดตั้งสถานที่สาธิตการตรวจจับภาวะเลือดออกในสมองด้วย AI, สร้างโซลูชันอัจฉริยะเฉพาะทางสำหรับการแพทย์ฉุกเฉินทางไกล, พัฒนาอุปกรณ์ที่มีอยู่ และยกระดับการให้บริการในโรงพยาบาลระดับไฮเอนด์ นอกจากนี้ เรายังนำเสนอโซลูชันการวัดทางการแพทย์อัจฉริยะผ่านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลและ AI ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายที่ประเทศไทยกำลังผลักดัน โดยช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยสามารถใช้แพลตฟอร์มคลาวด์ ได้รับการดูแลคุณภาพสูง ครอบคุลม รวมถึงสามารถสื่อสารแบบเรียลไทม์กับหลายฝ่าย ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาการให้คำปรึกษา การรักษาในโรงพยาบาล และการผ่าตัด ของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยป้องกันข้อผิดพลาดทางการแพทย์ ปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการการรักษาให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการรวบรวมข้อมูลทางคลินิก ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับโรงพยาบาลในต่างประเทศ และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจระหว่างประเทศอีกด้วย”