เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ศึกษาข้อมูลการส่งออกสินค้าไปยังแต่ละมณฑลของจีน เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย  เข้าถึงขนาดเศรษฐกิจระดับมณฑลของจีนได้อย่างเหมาะสม  เพราะในระดับมณฑลที่มีความหลากหลายในเชิงวิถีชีวิต วัฒนธรรม การอุปโภคบริโภค และรูปแบบการค้าต่างกันอย่างมาก

ปัจจุบัน แต่ละมณฑลของจีนใน 31 มณฑล/เขตการปกครอง พบว่าไทยมีส่วนแบ่งการตลาดในแต่ละมณฑลเฉลี่ย ร้อยละ 2.05 ด้วยมูลค่าที่จีนนำเข้าสินค้าจากไทยเฉลี่ยมณฑลละ 51,072 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมณฑลที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ เขตปกครองตนเองทิเบต เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง และมณฑลยูนนาน อีกทั้งยังวิเคราะห์สินค้าส่งออกศักยภาพของไทยในจีนรายมณฑล โดยพิจารณาจากสัดส่วนการนำเข้าสินค้าของไทยในแต่ละ 31 มณฑล/เขตการปกครอง ในปี 2566 โดยเปรียบเทียบกับสัดส่วนการนำเข้าสินค้าของมณฑลนั้น ๆ กับประเทศอื่นทั่วโลก  มีรายละเอียดดังนี้

1. มณฑลกวางตุ้ง ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 3.7 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 15,070 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 191 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 28.3 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น คอปเปอร์แมตต์ (ทองแดง) แป้งธัญพืช ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เห็ด ยางนอกชนิดอัดลม น้ำตาล น้ำดื่ม มะพร้าว ฯลฯ

2. มณฑลเจียงซู ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 2.0 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 5,347 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 181 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 34.5 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น แป้งธัญพืช ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ดอกไม้สำหรับจัดช่อหรือประดับ ด้ายจากยางวัลแคไนซ์ ผลไม้สดและแห้ง ฐานรองฟูก มันสำปะหลัง น้ำตาล ฯลฯ

3. มหานครเซี่ยงไฮ้ ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.8 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 6,372 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 211 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 33.4 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มะพร้าว ผลิตภัณฑ์ยางเพื่อใช้ทางเภสัชกรรม สตาร์ช พืชผักผลไม้ลูกนัตแปรรูป ยางนอกชนิดอัดลม รถจักรยานยนต์ ฯลฯ

4. กรุงปักกิ่ง ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 0.4 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 1,747 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 185 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 44.7 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น คอนเทนเนอร์ ยางนอกชนิดอัดลม ผลไม้แช่แข็ง มันสำปะหลัง ใยสังเคราะห์ มะพร้าว เครื่องใช้ในครัวทําด้วยไม้ ยางธรรมชาติ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ

5. มณฑลเจ้อเจียง ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 2.8 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 5,334 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 142 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 28.9 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น เนื้อมะพร้าวแห้ง (โคปรา) เศษยางและส่วนที่ใช้ไม่ได้ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์ของสัตว์ที่ใช้ในทางเภสัชกรรม มันสำปะหลัง แป้งธัญพืช ฯลฯ

6. มณฑลซานตง ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 2.1 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 3,946 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 142 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 32.6 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น เนื้อมะพร้าวแห้ง (โคปรา) มันสำปะหลัง เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ ถ่านไม้ พืชผักผลไม้ลูกนัตแปรรูป น้ำตาล เสื้อผ้าที่ทําด้วยผ้าถัก ผลไม้สด ฯลฯ

7. มณฑลฟูเจี้ยน ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.7 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 1,979 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 146 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 41.7 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น แป้งธัญพืช สินแร่ อีพอกไซต์ ไอศกรีม มันสำปะหลัง ไข่มุก ขิง หญ้าฝรั่น ขมิ้น และเครื่องเทศ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลไม้แห้ง ฯลฯ

8. มณฑลยูนนาน ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 5.6 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 1,319 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 101 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 72.1 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น ต่อมและอวัยวะอื่น/สิ่งสกัดสำหรับใช้รักษาโรค กรอบไม้ สิ่งปรุงแต่งเพื่ออนามัยในช่องปาก สัตว์น้ำเปลือกแข็ง (ปู กุ้ง) แปรรูป ไอศกรีม น้ำมันปาล์ม ฯลฯ

9. มณฑลชิ่งไห่ ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 3.0 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 4 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 100 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น ผลไม้สด ผลไม้และลูกนัตแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ ความงามและการดูแลผิว ฯลฯ

10. มณฑลซานซี ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 0.09 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 25 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 100 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น อุปกรณ์ติดตั้งทำด้วยอะลูมิเนียม ปลาแปรรูป กุญแจสายยู ผลไม้สด ของทำจากเหล็กหรือเหล็กกล้า เสื้อเชิ้ต/เสื้อโอเวอร์โค้ตบุรุษหรือเด็กชาย ชุดกีฬา ฯลฯ

11. เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 0.2 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 6 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 85.7 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น แผ่น ฟิล์ม ฟอยล์และแถบ ทำด้วยพลาสติก หนังฟอก ของที่ใช้ลําเลียงหรือบรรจุสินค้า ทำด้วยพลาสติก น้ำมันปิโตรเลียม หัวเชื้อกาแฟ ฯลฯ

12. มณฑลหูเป่ย ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.4 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 418 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 119 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 52.2 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มะพร้าวมันสำปะหลัง ผลไม้สดหรือแห้ง ยางอันวัลแคไนซ์ในลักษณะอื่น กล้วย สดหรือแห้ง ยางธรรมชาติ ถุงยางอนามัย ฯลฯ

13. เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 6.1 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 2,986 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 42 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 34.7 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น ไส้ กระเพาะสัตว์ ดอกไม้สำหรับจัดช่อหรือประดับ เส้นใยสิ่งทอ ยางธรรมชาติ เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ ผลไม้สดหรือแห้ง ฯลฯ

14. เขตปกครองตนเองทิเบต ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 9.7 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 2 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 40.0 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น ผลไม้และลูกนัตแช่แข็ง ยางสังเคราะห์ ฯลฯ

15. มณฑลหูหนาน ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 3.7 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 1,169 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 68 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 37.6 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น พืชผักแปรรูป สิ่งก่อสร้างลอยน้ำ ผลไม้แห้ง สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง (ปลิง) สด แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง ต่อมและอวัยวะอื่น/สิ่งสกัดสำหรับใช้รักษาโรค ฯลฯ

16. เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 0.2 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 9 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 100 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น ยางใน ยางรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ความงามและการดูแลผิว ยางธรรมชาติ วงจรรวมอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อหรือป้องกันวงจรไฟฟ้า ฯลฯ

17. นครเทียนจิน ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.1 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 703 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 140 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 46.1 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) สินค้าศักยภาพ เช่น ผลไม้ตระกูลส้มสดหรือแห้ง ดอกไม้สำหรับจัดช่อหรือประดับ สตาร์ช น้ำตาล ปลาแปรรูป ผลไม้แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์เซรามิก ฯลฯ

18. มณฑลเหอหนาน ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 0.7 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 295 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 89 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 59.3 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น พืชผักแช่เย็นจนแข็ง ควิกไลม์ สเลกไลม์ และไฮดรอลิกไลม์ มะพร้าว แผ่นชิ้นไม้อัด เส้นใยสั้นสังเคราะห์ ท่อน/เส้นทําด้วยดีบุก น้ำตาล ฯลฯ

19. มหานครฉงซิ่ง ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 3.6 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 1,223 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 59 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 35.3 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น ซอส ปลามีชีวิต ผลิตภัณฑ์ของสัตว์ที่ใช้ในทางเภสัชกรรม ยิปซัม แผ่นไม้สําหรับทําไม้วีเนียร์ ยางธรรมชาติ กระดาษชําระ ถุงยางอนามัย น้ำดื่ม ฯลฯ

20. มณฑลเจียงซี ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.7 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 434 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 90 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 59.6 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น แป้งที่ทำจากพืชตระกูลถั่ว นิกเกิลที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ผลไม้สดหรือแห้ง สตาร์ช เนื้อสัตว์ป่นไม่เหมาะกับมนุษย์บริโภค ไฟเบอร์บอร์ด ลวดเกลียวทำด้วยเหล็ก ฯลฯ

21. มณฑลกุ้ยโจว ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 3.4 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 116 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 18 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 66.7 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น เมล็ดสำหรับเพาะปลูก ผลไม้สดหรือแห้ง มะพร้าว เครื่องจักสาน ยางสังเคราะห์ ของทำด้วยไข่มุก รัตนชาติและกึ่งรัตนชาติ ผลไม้ตระกูลส้มสดหรือแห้ง ฯลฯ

22. มณฑลอานฮุย ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.8 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 717 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 86 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 43.2 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง แป้งที่ทำจากพืชตระกูลถั่ว มันสำปะหลัง ผลไม้สดหรือแห้ง เส้นใยกระดาษ ต่อมและอวัยวะอื่น/สิ่งสกัดสำหรับใช้รักษาโรค ฯลฯ

23. มณฑลส่านซี ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 0.2 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 122 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 62.9 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น กระดาษชําระ มะพร้าว ผงขัดถูหรือเม็ดขัดถู หนังฟอก หมวกและเครื่องสวมศีรษะ น้ำตาล ผลไม้สด ไม้ที่ยังไม่ได้แปรรูป ฐานรองฟูก ฯลฯ

24. มณฑลเสฉวน ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.1 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 538 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 83 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 40.5 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น มันสำปะหลัง ผลไม้แห้ง ยิปซัม ดอกไม้เทียม เสื้อผ้าที่ทําด้วยผ้าถัก มะพร้าว น้ำตาล ผลไม้สดและแห้ง ยางสังเคราะห์ ฯลฯ

25. มณฑลเหอเป่ย ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.2 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 384 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 81 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 56.6 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น แผง ก้อนเหลี่ยม ทำจากเส้นใยพืช ปั้นจั่น บล็อกปูพื้นทำด้วยแก้ว ผลไม้ตระกูลส้มสดหรือแห้ง รถจักรยานยนต์ สังกะสีออกไซด์ ผลไม้สดหรือแห้ง ฯลฯ

26. เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกู ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 0.1 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 17 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 73.9 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น ผลไม้สด ยางธรรมชาติ น้ำตาล สตาร์ช หนังเฟอร์ฟอกหรือตกแต่งแล้ว อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ ฯลฯ

27. มณฑลเฮยหลงเจียง ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 0.2 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 83 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 68.0 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น ผลิตภัณฑ์ของสัตว์ที่ใช้ในทางเภสัชกรรม ผลิตภัณฑ์ยางเพื่อใช้ในทางเภสัชกรรม แก้วที่ขัดผิวหรือขัดมัน ต่อมและอวัยวะอื่นสิ่งสกัดใช้รักษาโรค ฯลฯ

28. มณฑลเหลียวหนิง ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 0.7 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 393 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 121 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 41.6 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น สิ่งก่อสร้างลอยน้ำ ยิปซัม ด้ายจากยางวัลแคไนซ์ ผลไม้และลูกนัตแช่แข็ง มะพร้าว น้ำตาล กลีเซอรอล ผลไม้สด ยางธรรมชาติ ลวดเกลียวทำด้วยเหล็ก ฯลฯ

29. มณฑลไห่หนาน ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 0.8 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 68 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 56.7 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น แป้งที่ทำจากพืชตระกูลถั่ว ปลามีชีวิต แผ่นชิ้นไม้อัด ผลไม้แห้ง ไขมันและน้ำมันที่ได้จากสัตว์หรือพืช ผลไม้สดหรือแห้ง ยางนอกชนิดอัดลม ฯลฯ

30. มณฑลจี๋หลิน ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.0 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 154 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 29 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 55.8 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น ผลไม้สด ยางธรรมชาติ ผลไม้และลูกนัตแช่แข็ง สารประกอบเฮตเทอโรไซคลิก คาร์บอเนต เพอร์ออกโซคาร์บอเนต เครื่องเพชรพลอยรูปพรรณ วงจรพิมพ์ ปั๊มลมสุญญากาศ เครื่องจักรการพิมพ์ มอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ฯลฯ

31. มณฑลกานซู ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.5 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าศักยภาพจำนวน 3 รายการ(คิดเป็นร้อยละ 37.5 ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทย) เช่น ผลไม้สด ตัวต้านทานไฟฟ้า เมล็ดสำหรับเพาะปลูก ฯลฯ