ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 27 เม.ย. 67 เวลา 20.57 น. ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (ไฟพีก) ในระบบทั้ง 3 การไฟฟ้า (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)  มีค่าเท่ากับ 36,356.1 เมกะวัตต์ ทำลายสถิติการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในระบบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 66 เวลา 21.41 น. มีค่าเท่ากับ 34,826.5 เมกะวัตต์ คาดว่า เป็นผลจากสภาพอากาศที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 36-38 องศาเซลเซียส  ทำให้พฤติกรรมการใช้ไฟในเวลากลางคืน ส่งผลให้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2567 เป็นต้นมา ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (ไฟพีก) ของระบบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและทำลายสถิติไฟพีกเดิมถึง 9 ครั้ง

ครั้งที่นับเป็นพีคไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของประเทศไทย ดังนี้

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2567 เวลา 19.24 น. ยอดพีคไฟฟ้าอยู่ที่ 30,989.3 เมกะวัตต์

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2567 เวลา 19.47 น. ยอดพีคไฟฟ้าอยู่ที่ 32,704 เมกะวัตต์

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2567 เวลา 21.00 น. ยอดพีคไฟฟ้าอยู่ที่ 33,340 เมกะวัตต์

ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2567 เวลา 20.51 น. ยอดพีคไฟฟ้าอยู่ที่ 33,827.1 เมกะวัตต์

ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2567 เวลา 21.00 น. ยอดพีคไฟฟ้าอยู่ที่ 34,196.5 เมกะวัตต์

ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2567 เวลา 22.22 น. ยอดพีคไฟฟ้าอยู่ที่ 34,277.4 เมกะวัตต์

ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2567 เวลา 20.54 น. ยอดพีคไฟฟ้าอยู่ที่ 34,656.4 เมกะวัตต์

ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2567 เวลา 20.58 น. ยอดพีคไฟฟ้าอยู่ที่ 35,830 เมกะวัตต์ (สูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งที่ 1)

ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2567 เวลา 20.57 น. ยอดพีคไฟฟ้าอยู่ที่ 36,356.1 เมกะวัตต์ (สูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งที่ 2)

ทั้งนี้จากประมาณการของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานชาติ (สนพ.) คาดว่าค่าไฟพีกสูงสุดจะอยู่ที่ประมาณ 35,000-36,000 เมกะวัตต์ รวมถึงประเมินว่าปี 2567 จะมีแนวโน้มการใช้ไฟอยู่ที่ 210,170 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง (GWh) หรือเพิ่มขึ้น 3.1% จากปี 66