วันแรงงานแห่งชาติ วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถือว่ามีความสำคัญของผู้ใช้แรงงานทุกคน ไม่ใช่เฉพาะในไทย แต่เป็นไปทั่วโลก เกิดจากความเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน เช่น ในเรื่องการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน และยังทำให้ วันแรงงาน เป็นวันหยุดประจำปี หรือรู้จักกันในชื่อ วันเมย์เดย์ (May Day)

แรงงานไทย จะได้หยุดพักจากการทำงานในวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี ก่อนจะกลับมาเริ่มต้นทำงานใหม่ในวันถัดมา โดยหากดูตัวเลขสำคัญของแรงงานไทย เฉพาะเรื่องหนี้ของแรงงานไทย พบว่า ในปี 2567 แรงงานไทยมีหนี้มากถึง 98.8% และไม่มีหนี้เพียง 1.2% เท่านั้น

เปิดข้อมูลหนี้แรงงานไทย มีอะไรบ้าง?
– หนี้ส่วนบุคคล สัดส่วน 17.5%
– หนี้บัตรเครดิต สัดส่วน 11.6%
– ใช้คืนเงินกู้ สัดส่วน 11%
– ที่อยู่อาศัย สัดส่วน 10.9%
– ใช้หมุนเวียนในธุรกิจ สัดส่วน 10.6%
– ยานพาหนะ สัดส่วน 9.2%
– ลงทุน สัดส่วน 7.9%
– การศึกษา สัดส่วน 7.5%
– ค่ารักษาพยาบาล สัดส่วน 7.4%
– โทรศัพท์/Tablet สัดส่วน 6.4%

ภาระหนี้ต่อครัวเรือน ปี 2567 เฉลี่ยมีทั้งสิ้น 344,522.22 บาท ผ่อนชำระต่อเดือน 9,295.56 บาท แยกได้เป็น
1. หนี้ในระบบ 64.8% ผ่อนชำระ 7,503.13 บาทต่อเดือน อัตราดอกเบี้ย 7.8% ต่อปี
2. หนี้นอกระบบ 35.2% ผ่อนชำระ 3,653.83 บาทต่อเดือน อัตราดอกเบี้ย 17.80% ต่อเดือน

ดังนั้น หากเปรียบเทียบภาระหนี้แรงงานต่อครัวเรือน ในปี 2567 มีหนี้ 344,522.22 บาท สูงขึ้น 26.4% เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีหนี้ 272,528.15 บาท และหนี้นอกระบบมากขึ้นจากสัดส่วน 20.2% ในปี 2566 มาเป็นสัดส่วน 35.2% ในปี 2567

ที่มา : ผลสำรวจสถานภาพแรงงานไทย จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและหอการค้าไทย