ที่ประชุมประมุขสงฆ์ ผู้นำชาวพุทธ 73 ประเทศ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก มีมติเอกฉันท์ประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ ครั้งที่ 19 ระบุว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ ครั้งที่ 19 การประชุมวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก พุทธวิถีสู่การสร้างความไว้วางใจและความสามัคคี ระหว่างวันที่ 19-20 พ.ค. 2567 ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ประเทศไทย

การประชุมครั้งนี้ จัดโดยสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และรัฐบาลไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทย ในการประชุม ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พวกเราได้พิจารณาเรื่อง “พุทธวิถีสู่การสร้างความไว้วางใจและความสามัคคี” โดยมุ่งให้เกิดความเข้าใจกันและทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรและเอกชน จากทุกนิกายของพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นพวกเราได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า

1. สิ่งแรกสุด ผู้นำชาวพุทธจากนิกายพุทธที่ต่างกัน จาก 73 ประเทศและภูมิภาค ขออ้างอิงคุณพระศรีรัตนตรัยจงอำนวยพร แด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุ 72พรรษา ขอให้พระองค์มีพระอนามัยสุขสมบูรณ์ มีพระชนมายุยาวนาน มีความเจริญรุ่งเรือง และความสุขยิ่ง

2. พวกเราผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน ขอแสดงความชื่นชมต่อโครงการแปลพระไตรปิฎกฉบับหลวง เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งในการแปลนี้ มีนักปราชญ์ชาวไทยและนานาชาติ แปลพระไตรปิฏกภาษาบาลีฉบับสยามรัฐ จำนวน 45 เล่ม เป็นภาษาอังกฤษ โครงการนี้ริเริ่มโดยกรรมการมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากรัฐบาลไทย เพื่อฉลองการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ซึ่งในปีนี้ตรงกับการฉลองพระชนมายุ 72 พรรษา จะพิมพ์พระไตรปิฏก จำนวน 3 เล่ม จากแต่ละปิฏก

3. เพื่อยอมรับความรู้ถึงจุดประสงค์และความรับผิดชอบทั่วไปร่วมกัน พวกเราประชาคมชาวพุทธทั่วโลก ขอเรียกร้องทุกคนและรัฐบาลให้มีความพยายามยิ่งขึ้นในการสร้างความไว้วางใจและความสามัคคี ในโลกปัจจุบันที่แตกร้าวเพราะความขัดแย้งกัน โดยการใช้สติ มีความเห็นอกเห็นใจกัน มีความเมตตากรุณา และมีความเคารพกัน เป็นแผนที่แนวทางปฏิบัติ

4. เพื่อยอมรับถึงทุกข์มีอยู่ และทุกคนมีปรารถนามีความสุข พวกเรามีมติที่จะสร้างความรู้ถึงความเชื่อมโยงกัน ที่อยู่เหนือความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมและแนวความคิด

5. พวกเราขอกำหนดแนวทางในพระพุทธศาสนา โดยใช้การเพาะปลูกฝังให้มีความไว้วางใจกัน ภายในตัวเราเองและใช้ร่วมกับคนอื่น โดยเปลี่ยนจากแนวความคิดแข่งขันกัน สู่ความคิดให้มีความร่วมมือกัน ในการส่งเสริมการจัดการอารมณ์อย่างมีสติ มีการสื่อสารและการแก้ไขปัญหาที่มีผล อย่างมีสติ และนำไปสู่ความร่วมมือกันทำงานทั่วโลก

6. พวกเราจะเพิ่มความพยายามในการทำงานร่วมกันและการมีส่วนร่วม ในการศึกษาอย่างมีสติ เพื่อหล่อเลี้ยงให้โลกมีความสงบและมีความเห็นอกเห็นใจกันยิ่งขึ้น ซึ่งตั้งอยู่กับความประพฤติอย่างมีจริยธรรม การใช้สติ และความเห็นอกเห็นใจกัน ทุกๆ ภาคส่วนของสังคมให้มีความสามัคคีกัน ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ในเรื่องอริยสัจสี่และมัชฌิมาปฏิปทา

7. พวกเราขอเน้นย้ำเรื่องขันติธรรมและการพูดคุยกันอย่างมีสติ ใช้เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่า สำหรับหล่อเลี้ยงให้ความเคารพต่อกันมากกว่าใช้การตัดสินชี้เด็ดขาด แต่ให้สร้างสะพานก้าวข้ามความแตกต่างทางด้านศาสนา และให้มีความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อม

8. พวกเราเรียกร้องให้ชุมชนชาวพุทธและทุกชุมชน มีความเห็นอกเห็นใจกันอย่างมีสติ ในทุกส่วนของชีวิต ดังที่เราสนทนากัน เช่น การรับประทานอาหารอย่างมีสติ เหมือนกับการรับประทานอาหารแบบเซน ที่เราต้องสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคนจากหลายๆ ภาคส่วน ในการรับประทานอาหารแต่ละครั้ง การเห็นอกเห็นใจกันอย่างมีสติ ในสถานที่ทำงาน เช่น คนทำงานเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ การศึกษาอย่างมีสติ เหมือนกับโครงการโรงเรียนมีสติ ในประเทศศรีลังกา ประเด็นทางด้านภูมิอากาศ ภาวะผู้นำอย่างมีสติ และความเชื่อมสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์กับระบบนิเวศวิทยา

9. พวกเราตกลงกันว่า จะต้องใช้สติในทุกๆ กิจกรรม เช่น ทางการทูต การค้าระหว่างประเทศ การสร้างชาติ เช่น ตัวอย่างที่ดีของประเทศเวียดนาม ซึ่งใช้สติมุ่งถึงปัจจุบันมากกว่าคิดถึงอดีตที่ปวดร้าว ดังนั้น จึงนำการเยียวยามาแก่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง และช่วยส่งเสริมสันติภาพโลกและความเจริญรุ่งเรือง

10. การใช้สติ ถ้านำมาใช้อย่างแพร่หลายในสังคม มีศักยภาพลดความเท่าเทียมกัน ทำให้สุขภาพและเศรษฐกิจ ลดช่องว่างระหว่างคนมีและคนไม่มี ดังนั้น จะเป็นเครื่องมือทำให้บรรลุถึงเป้าหมายการพัฒนาแบบยั่งยืนของสหประชาชาติ และมีการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอนาคตยั่งยืนของพวกเรา

11. เพื่อช่วยให้สังคมมีความสามัคคียิ่งขึ้น พวกเราขอเน้นย้ำให้สังคมรับรู้และมีความรับผิดชอบ ในการส่งเสริมให้ทุกคนใช้สติกับสุขภาวะของคนอื่นและชุมชน

12. สภาสากลวันวิสาขบูชาโลก มีความยินดีที่จะแจ้งให้ทราบเรื่องการรับรองและสนับสนุนคณะสงฆ์ชาวพุทธเวียดนาม รับเป็นเจ้าภาพจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 20 ที่เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ปี พ.ศ. 2568/ค.ศ. 2025 ซึ่งจะเป็นครั้งที่ 4 ที่ประเทศเวียดนามได้รับเกียรติสูงสุด