สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ว่าประเทศหมู่เกาะเล็ก ๆ ของโลก ซึ่งเปราะบางอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ไม่ร่ำรวยพอจะจัดการด้วยตนเอง และไม่ยากจนพอที่จะได้รับความช่วยเหลือและเงิน ออกมากล่าวโทษประเทศร่ำรวย ที่มีส่วนทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับโชคร้าย
นายแกสตัน บราวน์ กล่าวว่า “ประเทศเอสไอดีเอสเป็นแนวหน้าในการต่อสู้กับวิกฤติการณ์ทางสภาพภูมิอากาศ แม้ไม่ได้ก่อหรือกระทำการใด ๆ ต่อสิ่งแวดล้อมเลย” วิกฤติเร่งด่วนที่สุด คือภัยพิบัติทางสภาพอากาศที่เลวร้ายลง ขณะที่อุณหภูมิของโลกใกล้ร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่ถูกกำหนดไว้ในความตกลงปารีส “ผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ล้มเหลวในการปฏิบัติตามพันธกรณี ส่งผลให้เกิดอันตรายที่ร้ายแรงต่อประเทศเอสไอดีเอสและโลกของเรา” บราวน์กล่าว
นายวาเวล รัมกาลาวัน ประธานาธิบดีเซเชลส์ เตือนว่า “วิกฤติสภาพภูมิอากาศจะทำลายพวกเราทุกคน” แต่โลกค่อย ๆ ใช้เวลา ขณะที่พวกเราต้องทนทุกข์ทรมาน
ประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กกำลังพัฒนาติดอยู่ระหว่างหนี้และน้ำในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ประเทศในแถบแคริบเบียนไปจนถึงแอฟริกาและมหาสมุทรแปซิฟิก ส่งผลให้ประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากภายนอกคล้ายกัน อาทิ แผ่นดินขนาดเล็กที่ประชากรอาศัยอย่างกระจัดกระจายและโดดเดี่ยว และเศรษฐกิจที่พึ่งพาการนำเข้าและไม่มีความหลากหลาย
มากไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมด้วยความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของภัยแล้ง, พายุเฮอริเคน และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น กำลังเป็นภัยคุกคาม ที่จะส่งผลให้ประเทศเหล่านี้ถูกลบออกจากแผนที่โลก
“เราไม่สามารถยอมรับการหายไปของประเทศหรือวัฒนธรรมใด ๆ จากกระแสการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น” นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กล่าวขณะเปิดการประชุมประเทศเอสไอดีเอส พร้อมเสริมว่า ยูเอ็นมีหน้าที่ในการช่วยเหลือ “ความคิดที่ว่าประเทศหมู่เกาะทั้งหมดอาจกลายเป็นลูกหลง ของการแสวงหาผลประโยชน์จากอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือการแข่งขันระหว่างเขตเศรษฐกิจหลักของโลก ถือเป็นเรื่องหยาบคาย”
Climate change is an existential crisis for the entire human family, but small island developing countries are on the front lines of the crisis.
— António Guterres (@antonioguterres) May 27, 2024
The international community has to support them as they respond to climate challenges & global economic shocks. pic.twitter.com/KRPCD5lSeP
นางฮิลดา ซี. ไฮเนอ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ กล่าวว่า “หากเราไม่สามารถจัดการกับสาเหตุที่แท้จริงอย่างเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ ผลกระทบจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และราคาของมันคือชีวิตอีกจำนวนมาก”
ประเด็นสำคัญในการประชุมของประเทศหมู่เกาะที่กำลังพัฒนาทั้ง 39 รัฐ ซึ่งมีประชากรรวมกันประมาณ 65 ล้านคน ได้แก่ การจัดหาเงินทุนเพื่อจัดการกับสภาพภูมิอากาศเพิ่ม ขณะเดียวกัน รัฐต่าง ๆ วิพากษ์วิจารณ์ถึงการดำเนินการที่ล่าช้าของยูเอ็น ในการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาในการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) จะต้องจัดหาเงินทุนประมาณ 4,700-7,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ราว 171,700-266,683 ล้านบาท) สำหรับมาตรการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศในประเทศเอสไอดีเอส
Where many only see vulnerabilities, we see opportunities in Small Island Developing States to:
— UN Development (@UNDP) May 27, 2024
???? Expand blue economies
???? Implement digital technologies
???? Combat #climate change
???? Increase access to finance
Together, we can keep rising for people and planet.#SIDS4 pic.twitter.com/K1EnBE5uHd
อย่างไรก็ตาม ประเทศหมู่เกาะเล็ก ๆ ส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางหรือสูงกว่า กล่าวคือ พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือระหว่างประเทศ และการจัดหาเงินทุนพิเศษที่มีให้กับประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก “พวกเขากำลังติดอยู่ในดินแดนที่ไม่มีมนุษย์อยู่ เพราะไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนจากประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเหมือนทุนในการบรรเทาวิกฤติ” นายอาคิม สไตเนอร์ ผู้บริหารสูงสุดของยูเอ็นดีพี กล่าว
นอกเหนือจากการขอความช่วยเหลือจากภายนอก ประเทศเหล่านี้ได้หันไปปฏิรูปเศรษฐกิจในประเทศ โดยลำดับความสำคัญด้านการพัฒนาภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทนที่เรียกว่า “เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” ภายใต้การประมงและการอนุรักษ์มหาสมุทรอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญของประเทศเอสไอดีเอส ที่เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะร้อยละ 19 ของโลก
มากไปกว่านั้น ภาคการท่องเที่ยวยังสามารถสร้างความยั่งยืนได้ แม้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะครอบงำ ความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลและแนวปะการัง ซึ่งเป็นปัจจัยในการดึงดูดนักดำน้ำจากทั่วโลก.
เครดิตภาพ : GETTY IMAGES