หมูเป็นอาหารที่คุ้นเคยสำหรับคนไทย เพราะราคาไม่สูงมาก และทำอาหารได้หลากหลาย แถมมีคุณค่าทางโภชนาการ
กินหมูดีไหม? คำตอบคือดีแน่นอน เนื้อหมูอุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน สารอาหารรอง เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี และวิตามินที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมต่างๆ ของร่างกาย อย่างไรก็ตาม หมูบางส่วน ไม่ควรกินมากเกินไป เพราะยิ่งกินมาก ยิ่งเสี่ยง “เป็นพิษ” ต่อร่างกาย
หมู 4 ส่วนที่ราคาไม่แพง แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป
- เนื้อสันคอหมู
คอหมูเป็นเนื้อที่อร่อย นุ่ม และชุ่มฉ่ำ มักใช้ในอาหารประเภทผัด หรือย่าง เนื่องจากมีอัตราส่วนไขมันต่อเนื้อที่สมเหตุสมผล
อย่างไรก็ตาม เนื้อคอหมูอาจมีต่อมน้ำเหลืองของหมูอยู่ ต่อมน้ำเหลืองเป็นส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ และเนื้อเยื่อรอบ ๆ ต่อมน้ำเหลืองอาจมีแบคทีเรีย และไวรัสที่ทำให้เกิดโรคมากมาย และยากต่อการกำจัดออกอย่างสมบูรณ์ในระหว่างการเตรียมเนื้อหมู ภายใต้สภาวะปกติความเข้มข้นของแบคทีเรียและไวรัสไม่สูง แต่เมื่อสะสมในร่างกายปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วย และคุกคามต่อสุขภาพได้
นอกจากนี้ เนื้อคอหมูยังมีไขมันมากเมื่อรับประทานในปริมาณมาก อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ง่าย ทำให้เป็นโรคอ้วน และเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากหลอดเลือดแข็งตัว
- ไส้หมู
ไส้หมูประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี 1 วิตามินบี 12 กรดนิโคตินิก ตลอดจนวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ อีกมากมาย คุณค่าทางโภชนาการของลำไส้หมูนั้น เกินกว่าอวัยวะภายในหลายๆ ส่วนมาก แพทย์แผนจีนระบุว่า ลำไส้หมูมีรสหวาน มีคุณสมบัติเป็นกลาง และแทรกซึมเข้าไปในม้าม กระเพาะอาหาร และไต จึงมีผลทำให้ม้ามอุ่นขึ้น และช่วยให้ไตแข็งแรงขึ้น
อย่างไรก็ตาม การรับประทานลำไส้หมูมากเกินไป ไม่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากปริมาณโปรตีนที่สูง ไขมันสัตว์จำนวนมาก และคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี จะทำให้ไขมันในเลือดเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน โรคไขมันพอกตับ ตับอ่อนอักเสบ โรคเกาต์ และโรคไต จำเป็นต้องระมัดระวังในการรับประทานไส้หมู เนื่องจากอาจทำให้อาการของโรคแย่ลงได้
นอกจากนี้ ลำไส้หมูยังเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียและปรสิตจำนวนมาก เช่น หนอนพยาธิ อีโคไล และสเตรปโตคอคคัส การรับประทานลำไส้หมูที่ไม่ได้เตรียมและปรุงอย่างเหมาะสม จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ติดเชื้อปรสิต หรือเสี่ยงต่ออาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อสเตรปโตคอคคัส ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ท้องเสีย อหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์
- หางหมู
หางหมูมักใช้ทำซุปหรือสตู เนื่องจากอุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และคอลลาเจน การกินหางหมูช่วยเติมเลือด เสริมสร้างกล้ามเนื้อและข้อต่อ อย่างไรก็ตาม การรับประทานหางหมูมากเกินไป ไม่ดีกับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอ้วน หรือโรคเกาต์ เนื่องจากชั้นไขมันในหางหมูเป็นไขมันอิ่มตัว จะทำให้โรคเหล่านี้รุนแรงขึ้น
หลายๆ คนมองว่าหางหมูเป็น “ยาบำรุงไต” เนื่องจากอุดมไปด้วยสังกะสี ช่วยรักษาไตวาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง แก้การหลั่งเร็ว ทำให้อึดขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ควรรับประทานเกินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพราะการกินมากเกินไปจะเกิดผลตรงกันข้ามได้
- ปอดหมู
ปอดหมูเป็นแหล่งของก๊าซไอเสียและสารคัดหลั่ง ดังนั้นปอดของสุกรอาจมีเมือก แบคทีเรีย และปรสิตจำนวนมาก หากสภาพการเลี้ยงสุกรไม่ถูกสุขลักษณะและสกปรก นอกจากนี้ปอดหมูยังมีถุงลมจำนวนมากเพื่อให้อากาศไหลเวียน จึงทำความสะอาดได้ยากมาก
ปอดหมูยังมีคอเลสเตอรอลในระดับสูง ทำให้เพิ่มคอเลสเตอรอลได้ง่าย หากบริโภคในปริมาณมากและเป็นเวลานาน ส่งผลให้ร่างกายได้รับภาระหนักขึ้นจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะคนที่คอเลสเตอรอลสูง
ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีสามารถรับประทานปอดหมูได้สัปดาห์ละครั้ง แต่ต้องทำความสะอาดปอดหมูให้สะอาด ในการเลือกซื้อปอดหมู ควรเลือกซื้อปอดหมูที่สด สะอาด ปอดสีชมพู อย่าซื้อปอดที่มีสีเข้ม และมีกลิ่นคาวเหม็น.
ที่มาและภาพ : Soha