นอกจากนี้ข้อมูลจาก การประเมินสุขภาพจิตตนเองของกรมสุขภาพจิตในปีงบประมาณ 2566-2567 ยังพบว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตจำนวนมาก และผู้ที่มีความเสี่ยงมีจำนวนเพิ่มขึ้นในระยะเวลา 1 ปี โดยผู้ที่มีความเครียดสูงและมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยมีผู้มีความเครียดสูงเพิ่มจาก 38,250 คน (4.5% ของผู้ประเมินทั้งหมด 850,000 คน)

อย่างไรก็ตามจากการเก็บข้อมูลของสื่อและอินฟลูเอนเซอร์ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาระหว่างเดือน ก.ย. 66-ส.ค. 67 ในสามแพลตฟอร์มคือ Face book, X และ YouTube พบว่า มีโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสุขภาพจิตมากถึง 2,562 ชิ้นงาน Keyword ที่ใช้มากที่สุดคือ “ฆ่าตัวตาย” 451 โพสต์ รองลงมาคือ “ซึมเศร้า” 385 โพสต์ เนื้อหาจากสื่อมีการให้ข้อมูล เพิ่มความเข้าใจ ให้รู้เท่าทันปัญหาและชักชวนภาคสังคมมีบทบาทในการช่วยดูแลสุขภาพจิตให้มีโครงการสำหรับพักใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้คนในสังคม

สำหรับยอดการเข้าถึงพบว่า Keyword คำว่า “เครียดงาน” และ “เครียดเรื่องเงิน” มียอดเข้าถึงมากถึง 1,614,115 ครั้ง และ 1,496,251 ครั้ง โดยโพสต์ที่มี Keyword เหล่านี้มักดึงดูดให้คนมีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงเป็นช่องทางระบายความเครียดแบบหนึ่ง

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกในปี 2565 ชี้ให้เห็นว่าภาวะซึมเศร้าและความกังวล ซึ่งเป็นเพียงสองโรคจากกลุ่มปัญหาสุขภาพจิต ทำให้โลกสูญเสียวันทำงานไปมากถึง 12,000 ล้านวัน ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ตัวเลขที่น่าตกใจนี้ไม่เพียงสะท้อนถึงผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แต่ยังแสดงผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความ
เป็นอยู่ของประชาชน แต่ยังแสดงถึงผลกระทบที่ลึกซึ้งและกว้างขวางต่อเศรษฐกิจโลกด้วย เนื่องจากประชากรในหลายประเทศไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเนื่องจากสุขภาพจิตที่ยํ่าแย่ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ ย่อมถูกฉุดรั้งและจำกัดความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญ ปัญหานี้จึงไม่เพียงเป็นเรื่องสุขภาพของบุคคล แต่ยังเป็นเรื่องสำคัญในมิติทางเศรษฐกิจที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ขณะที่ “งานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา” ยังระบุด้วยว่า หากบุคลากรในองค์กรเผชิญปัญหาสุขภาพจิตแม้เพียงวันเดียวในหนึ่งเดือน ก็ทำให้รายได้ของประเทศลดลงได้ถึง 1.84% (Science News ,2018 ) การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของภาระทางเศรษฐกิจที่เกิดจากปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การสูญเสียผลิตภาพในที่ทำงาน แต่ยังรวมถึงการหยุดงาน การลาหยุด การขาดลามาสาย และแม้กระทั่งการออกจากงาน นอกจากนี้ผลกระทบยังแพร่หลายไปยังทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ ทั้งภาคธุรกิจ การผลิต และการบริการซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถในการเติบโตและการแข่งขันองค์กรและของประเทศโดยรวม

อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้คนจะมีการตระหนักรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต และการรับบริการด้านการศึกษาโรคทางจิตมากขึ้น แต่ปัญหาสุขภาพจิตที่เพิ่มมากขึ้นและเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย อาจไม่สอดคล้องกับทรัพยากรทางการแพทย์ด้านสุขภาพจิตของคนไทย ทำให้เห็นว่าสถานการณ์การเข้าบริการทางสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะจำนวนบุคลากรที่ทำงานในสาขานี้อาจไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนทั่วประเทศ จากการสำรวจของกรมสุขภาพจิตในปี 2565 พบว่าประเทศไทยมีจิตแพทย์ทั้งหมด 521 คน แบ่งเป็นจิตแพทย์ทั่วไป 409 คน และจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น 112 คน

โดยสัดส่วนจิตแพทย์ทั่วไปมีเพียง 0.7 คนต่อประชากร 100,000 คน และจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นมีเพียง 0.81 คนต่อประชากร 100,000 คน ตัวเลขเหล่านี้ถือว่ายังห่างไกลจากมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดให้มีจิตแพทย์ 10 คนต่อประชากร 1 แสนคน สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพและทันเวลา.