ปัญหามลพิษทางอากาศในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ฝุ่น PM2.5’  ได้กลายเป็นวิกฤตที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบเศรษฐกิจโดยรวม ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กสู่อากาศ ทั้งจากการขุด เจาะ ตัด หรืองานโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง การเพิ่มขึ้นของค่าฝุ่น PM2.5 ไม่เพียงแต่สร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพของแรงงานในอุตสาหกรรมนี้เท่านั้น แต่ยังนำไปสู่มาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นจากภาครัฐ ส่งผลให้ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน  

เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว อุตสาหกรรมก่อสร้างจึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การนำเทคโนโลยีและวัสดุที่ลดการปล่อยฝุ่นมาใช้ การปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการออกแบบอาคารที่คำนึงถึงคุณภาพอากาศ ล้วนเป็นแนวทางที่หลายบริษัทเริ่มนำมาปรับใช้ นอกจากนี้ แนวคิดเรื่อง ‘การก่อสร้างสีเขียว’ (Green Construction) และมาตรฐานอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยังได้รับความสนใจมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองในระยะยาว แต่ยังเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการก่อสร้างและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร  

ดังที่ล่าสุด ‘บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด’ ผู้ผลิตนวัตกรรมก่อสร้างครบวงจรและผู้นำตลาดกาวซีเมนต์ของไทย ได้ตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการร่วมแก้ปัญหาฝุ่นในงานก่อสร้าง จึงได้ เปิดตัว ‘Dustless Technology’ หรือ ‘นวัตกรรมปลอดฝุ่น’ เพื่อนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์กาวซีเมนต์เจ้าแรกในประเทศไทย โดย Dustless Technology สามารถลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นในการใช้งานได้มากถึง 80% นับเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้วงการก่อสร้าง เพื่อตอบรับความต้องการของตลาดที่ใส่ใจต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ดร.จิรัฏฐ์ สิริเฉลิมพงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า บริษัทเล็งเห็นถึงความเร่งด่วนและความสำคัญของการลดฝุ่นในงานก่อสร้างตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงขั้นตอนการใช้งาน สอดคล้องกับปณิธานในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งนำเสนอนวัตกรรมก่อสร้างที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยโจทย์ของบริษัทคือการลดอันตรายของฝุ่นให้แก่ทั้งพนักงานขององค์กรในไลน์การผลิต ไปจนถึงช่างผู้ใช้งาน เจ้าของบ้าน และผู้อยู่อาศัยในชุมชนโดยรอบเขตก่อสร้าง

ปัจจุบัน จระเข้เป็นเจ้าเดียวในไทยที่นำ ‘Dustless Technology’ มาใช้กับผลิตภัณฑ์กาวซีเมนต์ปูกระเบื้องทั้ง 8 รุ่น โดยนวัตกรรมนี้จะช่วยลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นได้มากถึง 80% ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการผลิตและการใช้งานในพื้นที่ก่อสร้าง

“บริษัทมั่นใจว่านวัตกรรมกาวซีเมนต์ลดฝุ่นจะเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมสำคัญที่จะได้รับความไว้วางใจจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ตลอดจนเจ้าของบ้านที่คำนึงถึงสุขภาพและความยั่งยืน เพราะ Dustless Technology จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับความตั้งใจของจระเข้ในการเร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้างสีเขียวอย่างเป็นรูปธรรม” ดร.จิรัฏฐ์ กล่าว

จากการทดสอบพบว่า กาวซีเมนต์ปูกระเบื้องลดฝุ่นของจระเข้ มีปริมาณฝุ่นในอากาศน้อยกว่ากาวซีเมนต์ทั่วไปในท้องตลาดถึง 80% หลังจากการเขย่า 30 วินาที ทำให้ผู้พัฒนาโครงการก่อสร้าง ผู้รับเหมา ช่าง และเจ้าของบ้านมั่นใจได้ว่า กาวซีเมนต์ปูกระเบื้องเทคโนโลยี Dustless ของจระเข้ จะช่วยลดปัญหาฝุ่นที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับกาวซีเมนต์ปูกระเบื้องที่ใช้เทคโนโลยี Dustless มีทั้งหมด 8 รุ่น ได้แก่ 1. กาวซีเมนต์จระเข้เขียว , 2. กาวซีเมนต์จระเข้แดง , 3. กาวซีเมนต์จระเข้เงิน 4. จระเข้ทอง 5. กาวซีเมนต์จระเข้เอ็กซ์ตรีม 6. กาวซีเมนต์จระเข้สโตนเมท 7. กาวซีเมนต์จระเข้เกรย์สโตนเมท 8. กาวซีเมนต์จระเข้เอ็กซ์เพรส

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับความยั่งยืน โดยได้สร้างสัญลักษณ์ Jorakay Green Products’ เพื่อรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อผู้อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งติดตั้งระบบกำจัดฝุ่นที่ทันสมัยภายในโรงงาน และพัฒนาฟีเจอร์คำนวณการใช้ผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์ เพื่อช่วยลูกค้าคำนวณการซื้อผลิตภัณฑ์อย่างคุ้มค่าและลดการสิ้นเปลือง

“จระเข้ ดำเนินนโยบายด้านความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมผ่านเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 5 ประการ (5SD) ประกอบด้วย การลดการปล่อย CO2 ซึ่งลดได้แล้วกว่า 18 ล้านกิโลกรัมคาร์บอน, ลดปริมาณขยะและของเสียไปแล้วกว่า 170,000 กิโลกรัม, การลดฝุ่นกว่า 4 ล้านกิโลกรัม, การเพิ่มสัดส่วนสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถึง 62% ของยอดขาย และการพัฒนาทักษะบุคลากรกว่า 20,000 คน โดยบริษัทยังคงเดินหน้าสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และแนวทางธุรกิจที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความยั่งยืน” ดร.จิรัฏฐ์ กล่าวทิ้งท้าย