เมื่อวันที่ 5 มี.ค. เพจทางการแพทย์ชื่อดังอย่าง “Eva – อิศวาพร” ได้ออกมาเผยข้อมูลถึงผลงานวิจัย ที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของโรคซึมเศร้า ที่มีต่อสมอง โดยระบุว่า “สรุปแผนผังสมองจุดที่เสียหายจากโรคซึมเศร้า พร้อมกับแสดงให้เห็นด้วยค่ะ ว่าจุดนั้นใช้สารสื่อประสาทอะไร” สมองไม่ใช่ถังใส่สารสื่อประสาทว่าอะไรสูงอะไรต่ำ แต่สมองคือถนนที่ยั้วเยี้ยดั่งถนนกรุงเทพ แต่ละถนนใช้สารสื่อประสาทไม่เหมือนกันค่ะ

Individualized pharmacotherapy for major depressive disorder

และ นี่คือตำแหน่งมีการเสียหายในโรคซึมเศร้า และจะกลับมาถ้าได้รับการรักษา ไล่จากซ้ายไปขวาตามภาพ
1.PFC (Prefrontal cortex) – สมองส่วนตรรกะ ตัดสินใจ ยับยั้งยั่งชั่งใจ
สารประสาทที่ต่ำลง: Serotonin (S), Noradrenaline (N) , Dopamine (D)
ผล: เสียความสามารถในการจดจ่อ, รู้สึกไร้กำลังในการทำอะไร, อารมณ์เศร้า, รู้สึกไร้ค่า อยากติดสินใจจบชีวิต
2.BF – Basal forebrain: ประสานงานช่วยเรื่องการจดจ่อ, การเรียนรูั, ตื่นตัว, อารมณ์
สารประสาทที่ต่ำลง: N, S, D, Acetylcholine (จุดเด่นของตำแหน่งนี้)
ผล: เสริมจุดอื่น – ความจำแย่ลง, จดจ่อน้อยลง, ความกระฉับกระเฉงลดลง

3.S (Striatum) + NA (Nucleus accumbens) – ศูนย์ความสนใจ และความสุขจากทำสิ่งที่ชอบ
สารประสาทที่ต่ำลง: S, D (Dopamine เป็นตัวหลัก)
ผล: ตัวหลักในการเกิดภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia), เลิกสนใจสิ่งที่ชอบทำ (Loss of interest), รู้สึกอ่อนเพลีย กำลังเชิงกายภาพลดลงจริงๆ
4.A – Amygdala – ศูนย์แปลผล/รับรู้เรื่องอารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์เชิงลบ
สารประสาทที่ต่ำลง: N, S, D
ผล: ตัวหลักในการเกิดอารมณ์เศร้า (Depressive mood), รู้สึกไร้ค่า, เพิ่มความรู้สึกอยากปลิดชีพตัวเอง

5.H – Hypothalamus: ดูแลเรื่องสัญชาตญาณ การหิว/อิ่ม, หลับตื่น
สารประสาทที่ต่ำลง: N, S, D
ผล: ตัวหลักในการเกิดการนอนไม่หลับ หรือหลับมากขึ้น, ทำให้หิวมากขึ้น (มักมาตอนอาการคงที่), หิวน้อยลงจนไม่อยากกินอะไร (ช่วงกำเริบรุนแรง)
6.T – Thalamus: ศูนย์ประสานงานวงจรทั้งสมอง
สารประสาทที่ต่ำลง: N, S, D
ผล: เสริมความรุนแรงส่วนอื่นๆ

7.NT – Neurotransmitter center: ศูนย์วงจรระบบเซลล์ประสาทที่สร้างสารสื่อประสาทจำเพาะ เช่น
ศูนย์ Serotonin (Raphe nucleus)
ศูนย์ Noradrenaline (Locus ceruleus)
ศูนย์ Dopamine (Ventral tegmentum area)
ผล: เสริมอาการข้ออื่นๆ หรืออาจจะมองเป็นต้นตอของอาการในข้ออื่นก็ได้ค่ะ เพราะจริงๆ มันเป็นจุดต้นกำเนิดของเซลล์ประสาท ให้ใยประสาทไปกระตุ้นส่วนข้างบนหลายจุด
8.C-Cerebellum: ศูนย์ปนะสานงานการเคลือนไหว
สารประสาทที่ต่ำลง: N, S
ผล: อาการอ่อนล้า ไม่มีแรงในการทำอะไร

“ดังนั้นโรคซึมเศร้า มันไม่ใช่แค่อารมณ์เศร้า แต่หลายจุดในสมองนั้นพังจริง เซลล์ประสาทแต่ละจุด สร้างสารสื่อประสาทได้น้อยลง อาการเลยเกิดสารพัด แต่แต่ละคนเกิดแต่ละจุดไม่เท่ากันค่ะ ที่เหมือนกันคือ หากรักษาบริหารสุขภาพจิตโดยนักจิตบำบัด และกินยาสม่ำเสมอ เซลล์ประสาทจะกลับมาแตกแขนงใหม่ และทำงานได้เหมือนเดิม เป็นกำลังใจให้ค่ะ”

นอกจากนี้ ทางเพจยังเผยเพิ่มอีกด้วยว่า “จริงๆ มีอีกจุดที่ไม่มีใน paper นี้คือ Hippocampus ค่ะ” เซลล์ประสาทในส่วน Dentate gyrus จะแบ่งตัวได้ช้าลงมาก, การแตกแขนงลดลง ทำให้สมองจุดนี้ฝ่อลง ทำงานหลักในเรื่องการสร้างความจำระยะยาว การเรียนรู้ และการเรียกใช้ความจำ สารสื่อประสาทหลักจะเป็น Acetylcholine “การศึกษาในปัจจุบันยืนยันและมุ่งตรงไปในทางเดียวกันคือ โรคซึมเศร้า ไม่ใช่แค่อารมณ์นามธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือจับต้องไม่ได้ แต่มันมีการเปลี่ยนแปลงหลายจุดในสมองจริง ฝ่อจริง ทำงานน้อยจริง ดั่งโรคทางระบบอวัยวะอื่นเลย จึงทำให้ต้องการการรักษา มากกว่าแค่อารมณ์เศร้าค่ะ”..

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @Eva – อิศวาพร