สำนักข่าวซินหัวรายงานจากเมืองกุ้ยหยาง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 9 เม.ย. ว่า ความประทับใจที่มีต่ออาหารไทย นำพาอู๋เริ่มต้นเรียนรู้อย่างจริงจัง โดยเธอสมัครเข้าโรงเรียนสอนทำอาหาร ลัดเลาะซอกซอยในไทย เพื่อศึกษาวัตถุดิบท้องถิ่นอย่างลึกซึ้ง พร้อมซึมซับวิถีชีวิตของผู้คน จนกระทั่งลงทุนร่วมกับเพื่อน ๆ เปิดร้านอาหารไทยแห่งนี้อย่างเป็นทางการ เมื่อเดือน มี.ค. 2565


อู๋บอกเล่าอย่างภูมิใจว่า กระแสตอบรับดีเกินคาด ตอนนี้มีลูกค้าเข้าออกค่อนข้างสม่ำเสมอ แต่ละวันรับรองลูกค้าเฉลี่ยราว 100 คน นอกจากคนหนุ่มสาว ยังมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อย ซึ่งกลายเป็นลูกค้าประจำอีกด้วย


ขณะเดียวกัน เพื่อนชาวไทยที่ทำธุรกิจอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว แวะเวียนมาชิมและให้คำแนะนำเพิ่มเติมกับเธอเช่นกัน


ทั้งนี้ อู๋นำเข้าวัตถุดิบจากไทยเป็นหลักเพื่อรักษารสชาติต้นตำรับ ซึ่งเครือข่ายการขนส่งที่สะดวกรวดเร็วในปัจจุบัน ช่วยเกื้อหนุนการดำเนินงานส่วนนี้อย่างมาก เช่น เที่ยวบินสินค้าล้วนระหว่างเมืองกุ้ยหยางกับกรุงเทพฯ ซึ่งเริ่มต้นให้บริการสัปดาห์ละ 3 เที่ยว ตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย. เป็นต้นมา


ขณะที่เมืองข่ายหลี่ ในแคว้นปกครองตนเองเฉียนตงหนาน กลุ่มชาติพันธุ์เหมียวและต้งของมณฑลกุ้ยโจว มี “หลี่ว์จิ้ง” ในวัยสามสิบปีและเพื่อนอีกสองคน ร่วมลงขันทำธุรกิจขนมสไตล์ไทย ตอนแรกพวกเธอเริ่มต้นจำหน่ายผ่านวีแชต ก่อนเปิดหน้าร้านเมื่อปี 2567


อนึ่ง ข้อมูลจากสำนักงานศุลกากรเมืองกุ้ยหยางระบุว่า มูลค่าการนำเข้าและส่งออกระหว่างเมืองกุ้ยโจวกับไทย สูงถึง 3,570 หยวน (ราว 17,000 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 25.9% เมื่อเทียบแบบปีต่อปี เมื่อปี 2567.

ข้อมูล-ภาพ : XINHUA