เมื่อวันที่ 14 เม.ย. นายสุริยศักดิ์ เหมือนอ่วม นายอำเภอสังขละบุรี พ.ต.อ. สันติ พิทักษ์สกุล ผกก.สภ.สังขละบุรี นายพนม โพธิ์แก้ว ส.ส.เขต5 กาญจนบุรีพรรคเพื่อไทย ดร.ณฐิสิณี เต็งเที่ยง นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวสังขละบุรี ร่วมกับชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ 5 สัญชาติ คนท้องถิ่น ร่วมกันแห่พระแก้วขาว พระคู่บ้านคู่เมืองอำเภอสังขละบุรี โดยในปีนี้ 2568 ได้มีประชาชนและนักท่องเที่ยวมาร่วมงานครั้งแรกเป็นจำนวนมคนมาก มาแห่พระแก้วขาวจำนวนมาก 1200 คนความยาว 1000 เมตรของขบวน เดินวนรอบตลาดสดอำเภอสังขละบุรี เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้สงน้ำพระแก้วขาวตามประเพณีหลังจากนั้นจะนำไปวัดศรีสุวรรณ ร่วมสรงน้ำกับพระภิกษุสงฆ์ตามประเพณีสงกรานต์วันปีใหม่ไทยอีกครั้ง
ประวัติพระแก้วขาว ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ไทยไว้เป็นพระคู่เมืองสังขละบุรี พระแก้วมีอยู่สามองค์ (สามพี่น้อง) โดยประดิษฐานไว้ที่เมืองหน้าด่านทิศตะวันตก 1 องค์ (สังขละ) ประดิษฐานไว้ที่เมืองหน้าด่านตะวันออก 1 องค์ (อีสาน) และประดิษฐานไว้ที่เมืองหน้าด่านทิศเหนือ อีก 1 องค์ พระแก้วขาวได้รับประทานจากองค์เหนือหัวรัชกาลที่ 3 เมื่อระหว่างปี พ.ศ.2368 ถึง พ.ศ.2384 ครั้งที่มีการตั้งเมืองสังขละบุรี โดยประทานให้กับพระศรีสุวรรณคีรีที่ 1 (ภู่ว่าโม่) ณ บ้านสะเนพ่อง หรือเมืองพระสุวรรณ โดยถือน้ำพิพัฒน์สัตติยา เมื่อครั้งมีพิธีตั้งหลักเมืองสังขละ โดยพระศรีสุวรรณคีรีที่ 1 ได้น้อมเกล้าถวายช้างเผือกแด่รัชกาลที่ 3 ยังส่งผลให้คนกะเหรี่ยงเมืองสังขละบุรีได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปเกณฑ์ทหารหรือไพร่พลสงคราม ช่วงในการครองราชย์ของรัชกาลที่ 3 (ช่วงนั้นได้มีการปราบกบฏเมืองลาวขึ้น ตามพระราชนิพนธ์ นิราชเดินทัพเรื่องลิขิตเสด็จขัดตาทัพพม่าเมืองกาญ พ.ศ.2363
โดยขณะนั้นได้กล่าวถึงพระสุวรรณคีรีและเมืองสังขละ โดยพระสุวรรณคีรีเป็นทัพหลวง หลังจากยึดเมืองลาวได้แล้ว ก็ได้มีการอัญเชิญพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากเมืองลาวหลายองค์ และหนึ่งในนั้นคือ พระแก้วสามพี่น้อง ซึ่งประเทศสยามในสมัยนั้น ได้มีการมอบพระประจำเมืองไว้ตามหัวเมืองต่างๆ เช่น หัวเมืองกะเหรี่ยงตะวันตก (สังขละ) หัวเมืองลาวพุงดำ (เหนือ) หัวเมืองลาวพุงขาว (อีสาน) และหัวเมืองมาลายู (ใต้) เพื่อให้หัวเมืองต่างๆ ได้เป็นแนวกันชนในการล่าอาณานิคมของอังกฤษ
ยังมีประวัติเล่าต่อกันมาว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เคยเสด็จมาเยี่ยม ณ หมู่บ้านสะเนพ่อง และได้ทรงปลูกต้นไม้และพักค้างแรม ณ หมู่บ้านนี้ รวมถึงมีการเอ่ยขอพระแก้วขาวกับพระศรีสุวรรณในขณะนั้น พระศรีสุวรรณทรงประทานให้ แต่เมื่ออัญเชิญพระแก้วขึ้นสู่หลังช้าง ช้างถึงกับหมอบและร้องเสียงตัง จนรัชกาลที่ 5 ถึงกับเอ่ยปาก และทรงให้พระแก้วขาวประดิษฐานไว้ที่เดิม คือ ณ หมู่บ้านสะเนพ่อง จนถึงปัจจุบัน
บางครั้งฝนทิ้งช่วงแล้ง ชาวกะเหรี่ยงอำเภอสังขละบุรี มีความเชื่อกันว่าให้นำพระแก้วขาว ทำพิธีแห่ขอฝนเพื่อให้ฝนตกตามฤดูกาล