เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก ระบุว่า…

โควิด 19 การเตรียมรับมือกับ โอมิครอน

ยง ภู่วรวรรณ 11 ธันวาคม 2564

เป็นที่ทราบแน่ชัดแล้วว่า โอมิครอน สามารถติดต่อได้ง่าย และทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้ ลดลง หรือพูดง่ายๆก็คือว่า ต้องการภูมิต้านทานที่สูงขึ้น ในการต่อสู้กับ โอมิครอน ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วถึงแม้ว่าติดเชื้อ จะไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย

การเตรียมรับมือกับ โอมิครอน จะต้องให้ทุกคนมีภูมิต้านทานต่อไวรัสโควิด ดังนั้นจะต้องให้วัคซีนอย่างน้อย 2 เข็มให้กับประชากรหมู่มากให้ได้เร็วที่สุด และใครที่ได้รับ ครบ 2 เข็ม มาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ควรได้รับการกระตุ้น ด้วยวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อให้ภูมิต้านทานสูงขึ้น รองรับสายพันธุ์ โอมิครอน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ขณะนี้และต่อไป วัคซีนในประเทศไทยมีจำนวนมากเพียงพอ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการที่ให้กับประชากรในกลุ่มที่ควรจะได้รับวัคซีนทุกคน และเพียงพอในการกระตุ้นเข็มที่ 3 ส่วนประชากรกลุ่มเด็ก กำลังรอวัคซีน ที่ให้องค์การอาหารและยา อนุมัติให้เร็วที่สุด เพื่อจะให้ได้ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ

เมื่อคนส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานไม่ว่าจะเกิดจากการติดเชื้อหรือฉีดวัคซีน เมื่อสายพันธุ์โอมิครอน เข้ามาสู่ประเทศไทย ถึงแม้จะมีการติดเชื้อ ส่วนใหญ่ก็จะมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ แล้วในที่สุด โรคนี้ก็จะเป็นแบบโรคทางเดินหายใจที่พบได้