เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า

สถานการณ์โอมิครอน ที่ดูอาการไม่หนัก ดังนั้นต้องระวังผลข้างเคียงจากวัคซีน โอมิครอนน่าจะดูดี เพราะที่อยู่โรงพยาบาลจำนวนไม่มากจากข้อมูลประเทศอังกฤษ และอาการไม่หนักมาก เสียชีวิต 39 ราย และหลังติดเชื้ออาการเกิดขึ้นเร็วภายในสองวัน และจบภายในแปดถึงเก้าวัน กักตัวถ้าไม่มีอาการ 5 วัน

จากข้อมูลในประเทศอังกฤษ โอมิครอนครองสัดส่วนเป็น 90% (จาก ดร.จอห์น แคมป์เบล 29/12/64)

ดังนั้น ในประเทศไทยถ้าเป็นตามในประเทศอังกฤษ โอมิครอนเข้ามาแทนที่เดลต้า โดยถ้ายังไม่ยกระดับความรุนแรง จาก “ร้ายอาจกลายเป็นดี” ได้

ทั้งนี้ ต้องไม่มีสายประหลาดเกิดใหม่ด้วย เพราะฉะนั้นการฉีดวัคซีนที่ระดมมหาศาลขณะนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยคุณต้องฉีดเป็นเข้าชั้นผิวหนัง

จากข้อมูล สปสช. มีผู้ขอชดเชยค่าเสียหายที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีนโควิด 11,911 ราย เป็นจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ 955 ล้านบาท และยังมีกรณีที่อยู่ในการอุทธรณ์ เสียชีวิต 19.15% ของ 11,911 ราย นั่นคือ มากกว่า 2,000 ราย เกิดจากวัคซีนแอสตรา 6,043 ซิโนแวค 4,239 ซิโนฟาร์ม 467 ไฟเซอร์ 811 ทั้งนี้ ต้องจับตาไฟเซอร์ ที่เริ่มใช้ขณะนี้ และแอสตรา ที่ใช้แต่แรกจนปัจจุบัน ในเรื่องผลข้างเคียงและการเสียชีวิต

ขณะที่ประเทศไทยเสียชีวิตจากโควิด 21,598 ราย เสียชีวิตจากโควิดวัคซีนมากกว่า 2,100 ราย ตามที่มีการเรียกร้องค่าชดเชยจาก สปสช. นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ต้องฉีดเข้าชั้นผิวหนังโดยใช้ปริมาณน้อยกว่าและกลไกคนละแบบกับการฉีดเข้ากล้าม และภูมิไม่ได้ลดลงเร็วกว่าการฉีดเข้ากล้าม โดยระดับภูมิได้เท่ากัน