ทำเอาสังคมต่างพูดถึงอย่างร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ หลังนายษิทรา เบี้ยบังเกิด ทนายความ เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนฯ ระบุว่า มีหญิงสาวถูกรองหัวหน้าพรรคการเมืองพรรคใหญ่ ทำอนาจาร ซึ่งภายหลัง ปรากฏว่า นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องจริง แต่ประกาศลาออกจากทุกตำแหน่งในพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม จนทำให้ชื่อของ “ปริญญ์ พานิชภักดิ์” กลายเป็นที่สนใจของสังคมอย่างรวดเร็วนั้น

ประวัติครอบครัว
สำหรับ “ปริญญ์ พานิชภักดิ์” (Prinn Panitchpakdi) เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2520 ที่ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายของ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกฯ และรัฐมนตรีเศรษฐกิจหลายสมัยของพรรคประชาธิปัตย์ นักวิชาการ ตลอดจนอดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) และนางศสัย พานิชภักดิ์ โดย นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2520 ที่กรุงเทพมหานคร มีน้องสาว 1 คน คือ นางสาวนถุน พานิชภักดิ์

ประวัติการศึกษา
ปริญญ์ พานิชภักดิ์ เข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ก่อนจะย้ายไปศึกษาระดับไฮสคูลต่อที่ Millbrook House school และ Charterhouse School ประเทศอังกฤษ นายปริญญ์ จบปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์และการเงิน BSc. Economics and International Relations จาก L.S.E. (London School of Economics and Political Science) ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2542

ต่อมาได้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง อีกหลายครั้ง อาทิ หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้บริหารระดับสูงจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการธุรกิจและอุตสาหกรรม (วธอ.) รุ่นที่ 2 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ 15

ประวัติการทำงาน
“ปริญญ์” เริ่มต้นประวัติทำงานแรกด้วยการเป็น นักเศรษฐศาสตร์และการเงิน ในปี พ.ศ. 2542 ตำแหน่งวาณิชธนากร ที่บริษัท ABN AMRO Bank สหราชอาณาจักร ประมาณ 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2545 นอกจากนี้ยังมีประวัติการทำงานต่างๆ ดังนี้
-ตำแหน่งรองประธานอาเซียน-UK Business ฟอรั่ม (AUBF) พ.ศ. 2543-พ.ศ. 2548
-ผู้ร่วมก่อตั้งเทศกาลหนังไทย-UK พ.ศ. 2545-พ.ศ. 2548
-รองประธานสายการตลาดและวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ Deutsche Bank-Tisco พ.ศ. 2548-พ.ศ. 2550
-ประวัติการทำงาน ตำแหน่งหัวหน้าสายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์ เครดิต ลียองเนส์ (CLSA) พ.ศ. 2550-พ.ศ. 2551
-ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานการลงทุนภูมิภาคเอเชีย บริษัท เครดิต ลียองเนส์ ฮ่องกง พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2555
-กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ CLSA พ.ศ. 2555-พ.ศ. 2562
-ที่ปรึกษาสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พ.ศ. 2557-พ.ศ. 2560
-ประวัติการทำงานกรรมการสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย พ.ศ. 2558-พ.ศ. 2562
-กรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2559-พ.ศ. 2562
-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2559-พ.ศ. 2562
-กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2559-พ.ศ. 2562
-ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2560-พ.ศ. 2562
-ประวัติทำงานกรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิสามัญการศึกษาผลกระทบ CPTPP รัฐสภา พ.ศ. 2563-พ.ศ. 2563
-ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจาราณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564-พ.ศ. 2565

เส้นทางการเมือง
ในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ ได้เริ่มประวัติการทำงานสู่ชีวิตนักการเมือง ด้วยการดำรงตำแหน่ง รองหัวพรรคและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัย พรรคประชาธิปัตย์ ที่ปรึกษารองนายกฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา อีกทั้งยังเป็นเลขาธิการคณะอนุกรรมการทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้เข้ารับตำแหน่ง ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ซึ่งนอกจากนี้ ผลงานด้านเศรษฐกิจและการเงินของ นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ ยังเป็นผู้ขับเคลื่อนสนับสนุน เสนอยกเว้นภาษีคริปโตเคอร์เรนซี ด้วยนโยบาย ฟรีภาษี เสรีคริปโตเคอร์เรนซี ในการพัฒนาและผลักดันธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

ส่วนผลงานล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีมติตั้งนายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก.พรรคประชาธิปัตย์ โดยให้นำทีมเศรษฐกิจทันสมัย และความเชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ร่วมทำงานในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ เพื่อนำเทคโนโลยี-กลยุทธ์การเลือกตั้งที่ทันสมัย โดยมีรองผู้อำนวยการศูนย์ 9 คน อาทิ หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ พลตำรวจตรีวิชัย สังข์ประไพ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพฯ และนางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒน์ชัย รองโฆษกพรรคฯ เป็นต้น

แต่นอกจากผลงานทั้งหมดนี้แล้วนั้น “ปริญญ์” ยังรับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้กับหลายหน่วยงาน ได้แก่
-ผู้ร่วมก่อตั้งร้านอาหารโฟร์ซีซัน (ประเทศไทย) (พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน)
-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ (NEA) กระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน)
-กรรมการ บริษัทสินวัฒนา Crowdfunding (พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน)
-กรรมการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด (พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน)
-ที่ปรึกษา และคณะทํางาน รองนายกฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน)
-ที่ปรึกษา ประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา (พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน)
-เลขาฯ คณะอนุกรรมการทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา อีกด้วย…