อวัยวะทางเพศ ที่มีบทบาทสำคัญของการร่วมเพศของผู้หญิงคือช่องคลอด โดยทั่วไปเยื่อบุผิวช่องคลอดเป็นส่วนที่ไวต่อฮอร์โมนสเตียรอยด์ ซึ่งได้มีการศึกษาผลของฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่อเนื้อเยื่อของอวัยวะเพศส่วนล่างของช่องคลอดกันมาก ในขณะที่มีการศึกษาบทบาทของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่อโครงสร้างและการทำงานของเซลล์เยื่อบุผิวช่องคลอดรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางสรีรวิทยาจากฮอร์โมนนี้มีกันน้อยมาก ในผู้หญิงที่มีอายุมากจะพบว่ามีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเลือดต่ำ เหมือนกับการได้รับการตัดรังไข่ออก ซึ่งมีผลกระทบเกี่ยวกับการมีอารมณ์เพศ

การรับความรู้สึกที่อวัยวะเพศ ความต้องการทางเพศและออกัสซั่มในผู้หญิง ซึ่งภาวะเหล่านี้ไม่สามารถฟื้นฟูให้ดีเหมือนเดิมได้ด้วยการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนเพียงอย่างเดียว การเสริมฮอร์โมนทดแทนด้วยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนกับผู้หญิงวัยทอง จะทำให้สามารถให้มีความสุขทางเพศและสมรรถภาพทางเพศ ได้แก่ ความต้องการทางเพศกลับมาเป็นปกติ การตอบสนองต่ออารมณ์เพศ (Libido) ดีขึ้นจึงได้มีการใช้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งพบว่าในระยะเฟสลูเตียล (luteal phase) มีระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดสูงกว่าระยะเฟสฟอลิคูล่า (follicular phase)

การแสดงออกของโปรตีนเออาร์ได้มากขึ้น การมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการทางเพศดีขึ้น อวัยวะเพศตอบสนองกับอารมณ์ทางเพศได้ดีขึ้น ขณะเดียวกันพบว่ามีปริมาณเลือดไหลเข้าช่องคลอดดีขึ้น ทำให้ช่องคลอดรับความรู้สึกได้ดีขึ้น การเพิ่มของโปรตีนเออาร์ที่เกิดจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่สูงขึ้นในเลือด อาจขยายผลให้มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมากขึ้น และช่วยให้เตรียมความพร้อมของอวัยวะเพศสำหรับมีเพศสัมพันธ์ไว้เป็นอย่างดี

หญิงที่ให้ความสำคัญสนใจความพร้อมด้านเพศ ก็จะเป็นหญิงที่มีค่าสำหรับฝ่ายชายมากที่สุด ปัจจุบันหญิงวัย 70-80 ปี ที่ยังแข็งแรง พบว่าสามียังคงหวงอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหญิงใดละเลยเรื่องเพศ จะพบว่าสามีมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปเป็นแค่คนแปลกหน้า ไม่ใส่ใจเช่นเดิม

————————
ดร.อุ๋มอิ๋ม