@@@@ รัฐนิวเซาท์เวลส์ประกาศล็อคดาวน์ทั้งรัฐ โดยไม่มีข้อยกเว้น และปรับหนักสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตาม เนื่องจากการแพร่ระบาดได้ลุกลามไปตามส่วนภูมิภาคและชนบท มุขมนตรีรัฐนิวเซาท์เวลส์ นางกลาดิส เบเรจิเคลียน อธิบายว่าวันนี้เป็น “วันที่น่าเป็นห่วงที่สุด” ของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทั่วทั้งรัฐ รายงานผู้ติดเชื้อในท้องถิ่นรายใหม่  466  ราย เสียชีวิต 4 ราย ใน 24 ชั่วโมง จนถึงเวลา 20.00 น. ในวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2564 รัฐดำเนินการทดสอบ 130,000 ครั้ง ถึง 20.00 น. เมื่อคืนนี้

มุขมนตรีรัฐนิวเซาท์เวลส์ นางกลาดิส เบเรจิเคลียน ประกาศว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จำเป็นต้องขยายเวลาไปยังพื้นที่ต่างๆ ที่รวมอยู่ในการล็อกดาวน์ “น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เรามีการแพร่ระบาดในชุมชนสูงถึง 466 ราย นี่เป็นตัวเลขที่โดดขึ้นไปมากที่สุดเท่าที่เราเคยเห็นชั่วข้ามคืน เรากังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ อย่างน้อย 60 รายของผู้ติดเชื้อเหล่านั้นอยู่ในชุมชน และตัวเลขนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากหลายกรณียังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ”

มีผู้ป่วย 76 รายถูกแยกออกจากกันตลอดระยะเวลาที่ติดเชื้อ และ 19 รายถูกแยกออกจากกันในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ในขณะที่ 68 คนติดเชื้อในชุมชน ขณะนี้ทั่วทั้งรัฐมีผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 378 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยมีผู้ป่วย 64 รายอยู่ในห้องผู้ป่วยหนัก โดย 29 รายต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

หลังจากพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในส่วนภูมิภาค 26 รายใน Western NSW คือ Dubbo และชุมชนใกล้เคียง และผู้ป่วยรายใหม่ 16 รายใน Hunter New England นางเบเรจิคเลียน มุขมนตรีแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า เธอได้รับคำแนะนำกระทรวงสาธารณะสุขกระตุ้นให้มีการตัดสินใจ “หลังจากการแถลงข่าววันนี้ ฉันได้รับคำแนะนำด้านสุขภาพเกี่ยวกับพื้นที่ NSW ในภูมิภาคหลายแห่ง ดังนั้น ตั้งแต่ 17.00 น. คืนนี้ NSW ระดับภูมิภาคทั้งหมดจะถูกล็อคดาวน์เป็นเวลา 7 วัน ซึ่งหมายความว่าทั้งรัฐจะถูกล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด” นางเบเรจิเคลียน ระบุว่า “เพื่อปกป้องประชาชนในรัฐนิวเซาท์เวลส์จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่กระจาย จะมีการบังคับใช้ข้อจำกัดใหม่สำหรับรัฐนิวเซาท์เวลส์ทุกภูมิภาค โดยมีผลตั้งแต่ 17.00 น. คืนนี้จนถึง 24.01 น. ของวันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม 2564 ตามคำแนะนำด้านสุขภาพล่าสุดจาก Dr Kerry Chant หัวหน้าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของ NSW คำสั่งให้อยู่แต่บ้านจะมีผลกับทุกคนที่อาศัยอยู่ในส่วนภูมิภาค NSW นี่หมายความว่าทั้งรัฐนิวเซาท์เวลส์จะต้องอยู่แต่ในบ้านตั้งแต่เวลา 17.00 น. ของวันนี้ คำสั่งใหม่นี้จะแทนที่คำสั่งเก่าที่มีอยู่ในส่วนภูมิภาค NSW มันเกิดขึ้นเมื่อกรณีของ coronavirus เติบโตในภูมิภาค NSW รวมถึง Newcastle, Dubbo และ Walgett

 เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนการประกาศล็อกดาวน์ สมาคมการแพทย์แห่งออสเตรเลีย (AMA) NSW ได้เรียกร้องให้ปิดทั่วทั้งรัฐ ประธาน AMA แดเนียล แมคมุลเลน กล่าวว่ามีความกลัวว่าระบบสุขภาพของรัฐนิวเซาท์เวลส์จะรับมือไม่ได้ เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ “วิธีการล็อกดาวน์ทีละน้อยมันไม่ได้ผล มันสร้างความคิด เรากับพวกเขาระหว่าง LGAs ซึ่งจริงๆ แล้ว เราต้องรักษาไวรัสนี้เหมือนมันมีอยู่ทุกที่ ตลอดเวลา” ดร. McMullen กล่าว “แพทย์จากทั่ว NSW หมดแรงกันแล้วและเป็นห่วงชุมชนของพวกเขา ระบบสุขภาพในชนบทและระดับภูมิภาคที่เปราะบางอยู่แล้วของเราจะไม่สามารถรับมือกับการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยได้ ผมขอร้องต่อรัฐบาล NSW คือเพื่อให้กลยุทธ์การฉีดวัคซีนของเราใช้ได้ผล เราต้องล็อก NSW ทั้งหมดลง”

ส่วนทางด้านรัฐวิคตอเรียพบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในพื้นที่ 21 ราย โดยเกือบครึ่งหนึ่งอยู่ในชุมชนขณะติดเชื้อ มีการทดสอบมากกว่า 33,000 ครั้ง ขณะนี้มีผู้ป่วย 163 รายทั่วทั้งรัฐ มี 3คน อยู่ในโรงพยาบาล และอีกหนึ่งรายอยู่ในไอซียู นายมาร์ติน โฟลีย์ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของรัฐวิกตอเรียกล่าวว่า “เป็นข่าวดี เป็นอีกวันที่ต้องบันทึกสำหรับคลินิกของรัฐของเรา และนั่นเป็นก้าวแรกที่สำคัญสำหรับเป้าหมายของเราในการให้วัคซีนครบ 1 ล้านโดส สำหรับคน 1 ล้านคนในช่วงห้าสัปดาห์ที่จะมาถึง เรากำลังเพิ่มศูนย์ฉีดวัคซีนเพิ่มเติม”

ในขณะที่รัฐควีนส์แลนด์พบผู้ป่วย COVID-19 รายใหม่ในชุมชน 7 รายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข Yvette D’Ath ยืนยันว่า หนึ่งในหกผู้ติดเชื้อในท้องถิ่น มีเด็กอายุ 1 ขวบ ด้วยหนึ่งคน ในขณะที่เด็กอายุ 4 ขวบที่เดินทางกลับจากกัมพูชามีผลตรวจเป็นบวกขณะกักตัวที่โรงแรม ผู้ป่วยในท้องถิ่นทั้ง 6 รายเชื่อมโยงกับคลัสเตอร์ Indooroopilly ของรัฐ ผู้ติดเชื้อทั่วรัฐตอนนี้อยู่ที่ 143 ราย และไม่มีผู้ใดติดเชื้อในขณะที่อยู่ในชุมชน

รัฐนิวเซาท์เวลส์ประกาศล็อคดาวน์ทั้งรัฐ โดยไม่มีข้อยกเว้น และปรับหนักสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตาม เนื่องจากการแพร่ระบาดได้ลุกลามไปตามส่วนภูมิภาคและชนบท มุขมนตรีรัฐนิวเซาท์เวลส์ นางกลาดิส เบเรจิเคลียน อธิบายว่าวันนี้เป็น “วันที่น่าเป็นห่วงที่สุด”

@@@@ รัฐบาล NSW ประกาศมาตรการเพิ่มเติมเนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด มีผลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม  ดังนี้ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ Greater Sydney Blue Mountains Central Coast Wollongong Shellharbour สามารถออกจากบ้านเพื่อไปซื้อของ ออกกำลังกาย และกิจกรรมกลางแจ้งได้ภายในเขต LGA ของตน หรือ ภายในรัศมี 5 กม. จากบ้านพักอาศัยเท่านั้น

ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่ประกาศไปแล้วก่อนหน้านี้ ได้แก่ Bayside Blacktown Burwood Campbelltown Canterbury-Bankstown Cumberland Fairfield Georges River Liverpool Parramatta Strathfield และ 12 Suburbs ในเขต Penrith LGA ได้แก่ (1) Caddens (2) Claremont Meadows (3) Colyton (4) Erskine Park (5) Kemps Creek (6) Kingswood (7) Mount Vernon (8 ) North St Marys (9) Orchard Hills (10) Oxley Park (11) St Clair และ (12) St Mary’s สามารถซื้อของ ออกกำลังกาย และพาเด็กออกไปเดินเล่นได้ภายในรัศมี 5 กม. จากบ้านพักอาศัยเท่านั้น ทั้งนี้ ไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรมกลางแจ้งอื่น และตั้งแต่วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม ผู้ที่อาศัยอยู่คนเดียวต้องลงทะเบียนขอ “Single Bubble” เพื่อสามารถให้มีผู้มาเยี่ยมตนที่บ้านได้ โดยสามารถยื่นขอได้ผ่าน nsw.gov.au ต่อไป

ตำรวจ NSW จะเริ่มปรับหนักที่สุด ตามนโยบาย Stay at Home ในวันอาทิตย์ เวลาเที่ยงคืน โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล NSW เพิ่มเจ้าหน้าที่ ADF อีก 500 นาย จะเพิ่มค่าปรับต่อผู้ที่ฝ่าฝืนกฎ ดังนี้ ปรับ 5,000 เหรียญ กรณีฝ่าฝืนการกักตัว (self-isolation) 5,000 เหรียญ กรณีปลอมแปลงใบอนุญาต 5,000 เหรียญ กรณีให้ข้อมูลเท็จแก่เจ้าหน้าที่สืบหาการแพร่เชื้อ (contact tracer) 3,000 เหรียญ กรณีฝ่าฝืนเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ Regional NSW เพื่อไปทำงาน (แม้ว่าเป็นประเภทงานที่ได้รับอนุญาต) ดูบ้านและสำรวจอสังหาริมทรัพย์ และไปเยี่ยมบ้านหลังที่สอง

ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม รัฐบาล NSW จะเริ่มใช้ระบบใบอนุญาตสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังพื้นที่ Regional NSW โดยสามารถยื่นขอผ่านระบบ Service NSW ได้แก่ (1) ผู้ที่ทำงานในสาขาที่ได้รับอนุญาต (เช่น แพทย์ พยาบาล ผู้ดูแลผู้สูงอายุ) และอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง (2) ผู้ที่ต้องการดูบ้านและอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ต้องการที่อยู่อาศัยเท่านั้น มิใช่เพื่อการลงทุน (3) ผู้ที่ต้องการเดินทางไปบ้านหลังที่สอง เฉพาะกรณีที่ใช้บ้านเป็นสถานที่ทำงานหรือต้องบูรณะซ่อมแซมด่วน โดยอนุญาตให้เดินทางไปได้เพียง 1 คนเท่านั้น  สำหรับผู้ที่อาศัยพื้นที่ Rural NSW ที่ได้รับผลกระทบ ขอให้ตรวจสอบมาตรการในพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่ ได้ที่ https://www.nsw.gov.au/covid-19/rules/affected-regions ท่านสามารถดูข้อมูลของทางการ NSW ได้ที่ nsw.gov.au/covid-19/rules มาตรการอาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอโปรดติดตามจาก www.nsw.gov.au

@@@@ เมื่อวันพุธที่ 11 สิงหาคม 2564  นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานและข้าราชการทีมประเทศไทย ณ กรุงแคนเบอร์ราและคู่สมรส และเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ดำเนินกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ  เนื่องในโอกาสวันเฉลิม พระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2564 และวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2564 ณ องค์กร St Vincent de Paul Society Canberra/Goulburn, Yarralumla กรุงแคนเบอร์รา โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ร่วมกับวัดธัมมธโร กรุงแคนเบอร์รา โดยพระราชสีลาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดธัมมธโร และทีมประเทศไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้บริจาคเครื่องกันหนาว สิ่งของเครื่องใช้ประจำวัน ข้าวสาร และของใช้จำเป็นอื่น ๆ เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนแก่ผู้ยากไร้และผู้ด้อยโอกาสผ่านนาย John Feint ประธานองค์กร St Vincent de Paul Society Canberra/Goulburn โดยมีนาย Barnie van Wyk, ACT CEO และ Ms Elushka Scheumann – Events & Fundraising Coordinator ขององค์กรฯ ร่วมเป็นสักขีพยาน

องค์กร St Vincent de Paul Society Canberra/Goulburn เป็นองค์กรสาธารณกุศลจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1833 และมีสมาชิก/อาสาสมัครมากกว่า 60,000 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทางสังคม ทั้งนี้ ประธานองค์กรฯ ได้มอบเกียรติบัตรแสดงความขอบคุณ สถานเอกอัครราชทูตฯ และชุมชนไทยที่ได้ร่วมบริจาคสิ่งของเพื่อการดังกล่าว

การจัดกิจกรรมจิตอาสาเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2564 และวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2564 ณ องค์กร St Vincent de Paul Society กรุงแคนเบอร์รา

@@@@ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2564 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์ราได้จัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมเครื่องราชสักการะ ประดับธงชาติคู่กับธงอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. และประดับผ้าระบายสีฟ้าร่วมกับผ้าระบายสีขาว ณ สถานเอกอัครราชทูตฯ ระหว่างวันที่ 1 – 31 สิงหาคม 2564 ตลอดจนจัดทำคำถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเผยแพร่ทางเว็บไซต์และเฟสบุ๊คของสถานเอกอัครราชทูตฯ และเชิญชวนประชาชนคนไทยลงนามถวายพระพรชัยมงคลออนไลน์ทางเว็บไซต์ที่ https://bit.ly/3fAFHGS เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

@@@@ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ขอขอบคุณพี่น้องชาวไทยในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีที่ได้มาใช้บริการและให้ความร่วมมืออย่างดีกับการจัดกิจกรรมกงสุลสัญจร ที่นครดาร์วิน เมื่อวันที่ 7 – 9 สิงหาคม 2564 (รวม 3 วัน) ในการจัดกิจกรรมกงสุลสัญจรครั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้บริการกับผู้มาใช้บริการจำนวนกว่า 300 รายประกอบไปด้วย การรับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) อายุใช้งานแบบ 5 ปีและ 10 ปี การทำบัตรประจำตัวประชาชน การบริการด้านนิติกรณ์ และการให้คำปรึกษาด้านการกงสุลอื่น ๆ อาทิ การยื่นคำร้องขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร ทะเบียนราษฎร และทะเบียนครอบครัว ให้แก่คนไทยในนครดาร์วินและจากเมืองต่าง ๆ ในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ใช้โอกาสดังกล่าวพบปะพูดคุยกับชุมชนคนไทยเพื่อให้ได้รับทราบถึงความเป็นอยู่และทำความรู้จักเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานเอกอัครราชทูตฯ กับชุมชนไทยในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินหรือความจำเป็นเร่งด่วนต่าง ๆ ในการนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอขอบคุณพี่น้องชาวไทยในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีที่ได้ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขท้องถิ่นในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 อย่างเคร่งครัด รวมทั้งการสนับสนุนจากสมาคมคนไทยในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี สถานเอกอัครราชทูตฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการให้บริการกงสุลอย่างทั่วถึง และรับทราบถึงความต้องการของการขอรับบริการในเมืองและรัฐอื่นๆ จึงขอให้ชุมชนคนไทยที่พำนักอาศัยในรัฐอื่น ๆ โปรดติดตามข่าวสารการให้บริการกงสุลสัญจรในพื้นที่ของท่านได้จากหน้าเฟสบุคของสถานเอกอัครราชทูตฯ ซึ่งจะประกาศให้ทราบต่อไป

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา จัดกิจกรรมกงสุลสัญจร ที่นครดาร์วิน เมื่อวันที่ 7 – 9 สิงหาคม 2564 (รวม 3 วัน) มีผู้มาใช้บริการกว่า 300 ราย ประกอบไปด้วย ทำหนังสือเดินทาง e-passport การทำบัตรประจำตัวประชาชน การบริการด้านนิติกรณ์ อื่นๆ

@@@@ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา พร้อมกับคณะกรรมการอาเซียนในกรุงแคนเบอร์รา นำโดยนาย Nguyen Tat Thanh เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำเครือรัฐออสเตรเลีย ในฐานะประธานคณะกรรมการอาเซียนฯ ประชุมหารือกับเอกอัครราชทูตประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกซึ่งประกอบด้วยเอกอัครราชทูตจากประเทศตองกา ฟิจิ นาอูรู ปาปัวนิวกินี ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และติมอร์เลสเต ทั้งสองฝ่ายได้หารือข้อราชการต่างๆ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นและแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการนำแรงงานเข้ามาทำงานในภาคการเกษตรของออสเตรเลีย ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้มีการพบหารือในเรื่องต่างๆ ระหว่างกันเป็นระยะๆ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนและกลุ่มประเทศแปซิฟิกต่อไป  อนึ่ง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รามีเขตอาณาครอบคลุมประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกประกอบด้วยตองกา ฟิจิ ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน และวานูอาตู

เอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกอาเซียนประชุมหารือกับเอกอัครราชทูตประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกและติมอร์เลสเตได้หารือข้อราชการต่างๆ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นและแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการนำแรงงานเข้ามาทำงานในภาคการเกษตรของออสเตรเลีย

@@@@ ฉบับที่แล้วลงข่าวไว้อาลัย ทันตแพทย์ สมชาย ทองสัมฤทธิ์ หมอฟันใจบุญของคนไทยในซิดนีย์ไป มีถามกันมามากว่ามีหมอฟันคนไทยในซิดนีย์ที่ไหน ใครบ้าง ฉบับนี้อยากปิดท้ายด้วยเรื่องของทันตแพทย์คนไทยคนใหม่ของนครซิดนีย์ ทันตแพทย์ ธีศิษฏ์ ธีระมงคลกุล ที่ได้ย้ายมาอาศัยอยู่ในซิดนีย์ และเปิดคลินิกเฉพาะทางจัดฟัน OrthoBoutique ได้มาเกือบปีแล้ว ที่บอกเป็นหมอฟันคนใหม่นั้นจริงๆแล้วที่เมืองไทยนั้นไม่ใหม่เลยทีเดียวเพราะคนไข้ที่เมืองไทยเรียก หมอธี แต่มาที่ออสเตรเลีย คนไข้ทั่วไปเรียก Dr Tee เป็นทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน Specialist Orthodontist วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับหมอธีกันมากขึ้นครับ หมอธีเติบโตที่กรุงเทพ ในครอบครัวขนาดเล็ก กับคุณพ่อและคุณแม่ที่เป็นทันตแพทย์เช่นกัน นี่เป็นสาเหตุที่ว่าทำไมหมอธีถึงตัดสินใจเลือกเข้าเรียนเพื่อเป็นทันตแพทย์ ในส่วนของประวัติการศึกษาและการทำงานนั้น หมอธีได้รับการศึกษาและประสบการณ์มาจากหลายมุมโลก เริ่มจากที่เมืองไทย หมอธีจบการศึกษาทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้นได้ทำงานที่โรงพยาบาลนวมินทร์9 รามอินทรา และคลินิกส่วนตัวที่บ้านเป็นระยะเวลา 2 ปี

หมอธีมีความฝันที่จะศึกษาต่อและใช้ชีวิตในต่างแดน ต้องการที่จะเรียนรู้หาประสบการณ์ใช้ชีวิตด้วยตนเอง เดินทางออกนอกกรอบความสบายของชีวิตในเมืองไทย จึงตัดสินใจไปเรียนต่อต่างประเทศ เริ่มต้นที่อเมริกา ที่มหาวิทยาลัย Temple University ในเมือง Philadelphia และ New York University ในเมือง New York สำหรับโปรแกรม orthodontic clinical fellowship และ orthodontic research internship ตามลำดับ โดยรวมแล้วได้ใช้ชีวิตศึกษาและทำงานเกี่ยวกับด้านจัดฟันที่อเมริกาเป็นระยะเวลา 3 ปี ประสบการณ์เหล่านี้ทำให้เปิดโลกกว้าง มีความเข้าใจระบบการศึกษาในต่างประเทศ ซึ่งมีระบบการศึกษาที่เปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นของนักเรียน มีเทคนิคและความก้าวหน้าของการรักษาทางทันตกรรมที่สูงกว่าประเทศไทย

คุณหมอ ธีศิษฏ์ เล่าว่า “ปริญญาตรีสำหรับทันตแพทย์ทั่วไปใช้เวลา 4-6 ปี แต่ในประเทศไทยเราเป็นหลักสูตร 6 ปี ได้รับการสอนการักษาทางทันตกรรมทั่วไป เช่น ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน ฟันปลอม เป็นต้น, ในระดับปริญญาตรีไม่ได้มีการสอนการจัดฟันอย่างละเอียด ได้เพียงความรู้ทางทฤษฎีบางส่วนเท่านั้น ทันตแพทย์ที่ต้องการเฉพาะทางด้านจัดฟัน ต้องสมัครเข้าเรียนต่อในหลักสูตรปริญญาโทหรือเอก (postgraduate residency or PhD) ซึ่งการสอบเข้านั้นการแข่งขันสูงมากในทุกประเทศสำหรับมหาวิทยาลัยต่างๆในออสเตรเลียนั้น รับนักเรียนปีหละ 4 คนเท่านั้น หลักสูตรปริญญาโทนี้ใช้เวลาเรียนเพิ่มอีก 3 ปี full time, เรียนรู้ทางทฤษฎีและคลินิก 5 วันต่อสัปดาห์ ดูแลคนไข้จัดฟัน มากกว่า 100 เคส ทั้งหมดนี้ทำให้คุณหมอเฉพาะทางจัดฟัน มีความรู้ความชำนาญทางด้านจัดฟัน มากกว่า หมอฟันทั่วไป

เนื่องจากหมอธีอยากจะอาศัยอยุ่ในประเทศที่ไม่ห่างไกลจากเมืองไทยมาก จึงได้ตัดสินใจมาที่ Australia เพื่อเรียนปริญญาโท Doctor of Clinical of Dentistry in Orthodontics ที่ University of Melbourne และยังได้รับ Australian Orthodontic Board Certification จาก Australian Society of Orthodontics  หมอธีได้จดทะเบียนกับ AHPRA ได้รับใบประกอบวิชาชีพเป็นทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันทำงานได้อย่างถูกต้องในประเทศออสเตรเลีย

คุณหมอ ธีศิษฏ์ เล่าต่อว่า “สาเหตุที่หมอเลือกที่จะเรียนต่อเฉพาะทางจัดฟัน เพราะคิดว่า การรักษาด้านจัดฟัน เป็นการรักษาองค์รวม ไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับฟันซี่ใดซี่นึง  นอกจากส่งผลกระทบต่อความสวยงามของการเรียงตัวของฟันแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพช่องปากโดยรวมให้คนไข้สามารถใช้งานการสบฟันได้ดี ที่สำคัญการจัดฟันยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจ มีความั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ สามารถตัดสินใจที่จะรับการรักษาด้านจัดฟันได้” ถามภึงสาเหตุที่หมอธีได้ลงหลักปักฐานในประเทศออสเตรเลีย หมอธีให้ความเห็นส่วนตัวว่า อยากจะอาศัยอยุ่ในต่างประเทศที่ไม่ห่างไกลจากเมืองไทยมาก สามารถบินกับไปเยี่ยมครอบครัวที่บ้าน หรือให้คนที่บ้านบินมาเยี่ยมได้ง่าย หมอธีหลงชอบกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายเชื้อชาติ ที่มีอยู่ในประเทศออสเตรเลีย หมอธีเชื่อว่าคนไทยหลายๆในออสเตรเลียได้หลงรัก และชื่นชอบชีวิตความเป็นอยู่ และผู้คนที่นี่

สำหรับการศึกษาในประเทศออสเตรเลียนั้น หมอธีได้เข้าเรียนปริญญาโท Doctor of Clinical of Dentistry in Orthodontics ที่ University of Melbourne และยังได้รับ Australian Orthodontic Board Certification จาก Australian Society of Orthodontics  หมอธีได้จดทะเบียนกับ AHPRA ได้รับใบประกอบวิชาชีพเป็นทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันทำงานได้อย่างถูกต้องในประเทศออสเตรเลีย คุณหมอ ธีศิษฏ์ อธิบายต่อว่า “ในมุมมองของผมนั้นคิดว่า การทำงานในด้านทันตกรรมในออสเตรเลียนั้นต่างกับประเทศไทยอย่างชัดเจน มีกฎระเบียบที่แน่นหนา ดังนั้นคุณภาพการักษาต่างๆที่ได้รับก็สูงตามมาเช่นกัน สำหรับพี่ๆน้องๆคนไทยที่สนใจทำงานในด้านทันตกรรมนั้น เช่น ทันตาภิบาล (dental hygienist or dental therapist) หรือผู้ช่วยทันตแพทย์ (dental assistant) สามารถเลือกดูรายละเอียดคอร์สต่างๆ ได้ตามเวบไซต์มหาวิทยาลัยต่างๆ ผมคิดว่าในออสเตรเลียนั้นยังมีความต้องการของอาชีพด้านนี้ค่อนข้างสูง สำหรับคนไข้คนไทยที่ไม่ได้มีโอกาสบินกลับเมืองไทยเพื่อรักษาตรวจฟัน สามารถปรึกษาปัญหาด้านฟันกับหมอได้  ถึงแม้ว่าทางคลินิกจัดฟัน OrthoBoutique ให้การบริการส่วนใหญ่ทางด้านจัดฟัน หมอธียินดีเป็นตัวกลางให้คำปรึกษาด้านฟันสำหรับคนไข้ที่ต้องการจะทำความสะอาดฟัน อุดฟันหรือถอนฟันที่ปวด ผ่าฟันคุด หมอมี connection กับคุณหมอคนไทยท่านอื่นๆ สามารถช่วยส่งต่อเพื่อที่จะได้รับการรักษาที่ตรงจุดได้ คนไข้ที่เข้ามารับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันที่คลินิก OrthoBoutique จะมีความสบายใจได้ว่า จะได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องตามหลักการ ได้ผลรับที่ดีต่อสุขภาพช่องปาก และความประทับใจกับรอยยิ้มที่ตามมาด้วยความมั่นใจครับ”

สนใจอยากไปพบคุณหมอ ธีศิษฏ์ ตอนนี้คลินิก OrthoBoutique ตั้งอยู่ในเมืองตึก ข้างๆกับ ตึกกงสุลไทย (135-137 Macquarie Street) และในอนาคตใกล้ๆนี้จะมีการเปิดสาขาเพิ่มที่ Cabramatta ซึ่งจะเป็นคลินิกที่มีขนาดใหญ่ วันให้บริการที่มากขึ้น เก้าอี้รักษาคนไข้ 3-4 เก้าอี้ เครื่องเอกซเรย์และสแกนฟันครบวงจรด้วย คุณหมอธีมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะช่วยดูแลคนไข้คนไทยในซิดนีย์ และเป็นศูนย์กลางในการให้คำปรึกษาดูแลสุขภาพช่องปากของคนไทยในซิดนีย์ คนไทยในซิดนีย์สามารถติดตามข่าวสารได้ทาง Facebook page OrthoBoutique หรือโทรศัพท์มาได้ที่เบอร์ 0411756840

ทันตแพทย์คนไทยคนใหม่ของนครซิดนีย์ ทันตแพทย์ ธีศิษฏ์ ธีระมงคลกุล ที่ได้ย้ายมาอาศัยอยู่ในซิดนีย์ และเปิดคลินิกเฉพาะทางจัดฟัน OrthoBoutique ตั้งอยู่ในเมืองตึก ข้างๆกับ ตึกกงสุลไทย (135-137 Macquarie Street) และเปิดสาขาเพิ่มที่ Cabramatta เร็วๆนี้

ไตรภพ ซิดนีย์
[email protected]