ใกล้จะถึงเดือนแห่งโรคกระดูกพรุนแล้ว ซึ่งนับวันจะพบคนแก่เป็นโรคนี้กันมากและขณะเดียวกันก็จะพบความพิการตามมาด้วย ด้วยพฤติกรรมของคนยุคนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก อาทิ ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เพิ่มขึ้นพักผ่อนน้อย ไม่ค่อยออกกำาลังกาย รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนทำาให้กระดูกเปราะบาง ซึ่งเรามักเรียกเป็นภาษาพื้น ๆ ว่ากระดูกพรุน หกล้มง่ายคนอื่นเขาไม่ค่อยล้มบ่อยคนประเภทนี้จะล้มบ่อยล้มแล้วกระดูกมักหักเพิ่มโรคเข้ามาด้วย แต่ละครั้งต้องใช้เวลารักษากันยาวนานหลายเดือนกว่ากระดูกจะติด

โครงสร้างของกระดูก โดยทั่วไปร่างกายจะสะสมโครงสร้างกระดูกตั้งแต่วัยเด็กจนมาถึงช่วงหนุ่มสาว โดยมีแคลเซียมเป็นตัวหลัก ทำาให้กระดูกมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ และจะหนาแน่นมากสุดช่วงอายุ 25-30 ปี และฝ่ายชายจะมีมวลกระดูกมากกว่าฝ่ายหญิง หลังจากนั้นกระบวนการสร้างกระดูกจะค่อยลดลง สำาหรับฝ่ายหญิงตอนวัยหมดประจำาเดือนจะเป็นช่วงที่เสียมวลกระดูกมากหน่อย และที่กล่าวมานี้คนไข้ก็จะอยู่สภาพปกติ ไม่มีอาการอะไรให้ต้องมาหาแพทย์ จะมาหาแพทย์ต่อเมื่อหกล้มหรือถูกกระแทกไม่รุนแรงแต่กระดูกหักได้ หรือไม่ก็มาปรึกษาด้วยเรื่อง ตัวเตี้ยลง, หลังค่อม หรือโก่งไปกว่าเดิม ดูผิดปกติไปไม่เหมือนคนอื่นเขา และจะปวดหลังเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ อยู่บ่อยครั้งจนทนไม่ค่อยได้

การตรวจสุขภาพเรื่องโครงกระดูก ความหนาแน่นของกระดูกซึ่งมีแคลเซียมเป็นหลักว่าจะมีมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะถ้าหากมีคนในครอบครัวเป็นอยู่ด้วย ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ครอบครัวมีโรคกระดูกพรุน และมีเรื่องอายุมาเกี่ยวข้องด้วย ชายวัย 60-65 ปี หญิงตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป เมื่อดูปริมาณมวลกระดูก และในหญิงที่หมดประจำเดือนเร็ว 45 ปี ถือว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้วย และอีกพวกหนึ่งที่รูปร่างบอบบาง ไม่ชอบดื่มนม ไม่ชอบออกกำลังกาย ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะทำาให้กระดูกบาง หักเปราะง่ายเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ประโยชน์ของการออกกำาลังกาย ทำาให้มีการเคลื่อนไหวสะดวก คล่องแคล่ว ให้ร่างกายมีการทรงตัวดี สร้างความแข็งแรงแก่เอ็นและกล้ามเนื้อ และยังกระตุ้นให้ร่างกายสร้างมวลกระดูกให้มากขึ้นด้วยกีฬาอะไรก็ได้ แต่จะให้ดีควรเป็นกีฬาที่มีแรงกระแทกจากขาลงไป อาจจะรุนแรงไปหน่อยถ้าจะเป็นฟุตบอล บาสเกตบอล เทนนิสหรือแอโรบิกแดนซ์ ถ้าไม่ไหวการเดินและวิ่งเป็นทางสายกลางดีที่สุด ถ้าจะเล่นกีฬาเรื่องวิ่งก็ต้องระมัดระวังเรื่องโรคหัวใจไว้ด้วย พบอุบัติเหตุจากการวิ่งบ่อย ต้องเตรียมตัว ต้องค่อย ๆ ฝึกทีละน้อย ออกวิ่งระยะยาวโดยไม่ระวังตัว จะพบอันตรายบ่อย

ตัวอย่างของคนไข้กระดูกพรุน บางเปราะ จะพบเกิดอุบัติเหตุหกล้มเล็ก ๆ น้อย ๆ คาดไม่ถึง ทำาให้กระดูกหักได้ มักพบได้บ่อยเสมอ การขึ้นลงบันได พื้นที่ไม่เรียบเป็นหลุมบ่อคนไข้มีสายตาไม่ค่อยดี มองเห็นไม่ชัดจะทำาให้ล้มง่ายล้มธรรมดาคนทั่วไปจะไม่มีอาการอะไรตามมา แต่คนที่กระดูกเปราะบางมักมีแนวโน้มจะทำาให้กระดูกหักได้เสมอ หักแต่ละครั้งต้องใช้ระยะเวลารักษายาวนาน 3เดือน เป็นภาระต่อผู้ดูแลอย่างมาก

โรคทางสมองร่วมด้วย การล้มแต่ละครั้ง ถ้ามีเห็นช่วยจับไว้ก็จะปลอดภัย ล้มไปเอง หัวไปกระแทกพื้น อาจทำให้ตกเลือดในสมอง อาการเพิ่มมากขึ้นไปอีก จึงต้องระวังช่วยดูแลคนประเภทนี้ไว้ให้ดีด้วย คนแก่ยุคใหม่จึงต้องไม่ประมาท พยายามช่วยตัวเองให้ได้ เวลาบาดเจ็บจะหาคนมาดูแลใกล้ชิดยาก กระดูกกว่าจะติดต้องใช้เวลานาน การระมัดระวัง การดูแลตัวเองให้รอดปลอดภัยจากภัยต่าง ๆ เป็นเรื่องสำาคัญมากสำาหรับคนสูงอายุยุคใหม่นี้

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย จะออกข่าวเสมอด้วย การแนะนำาปฏิบัติตัวเองต่อเนื่องมาตลอดสำาหรับผู้มีความเสี่ยงกับโรคนี้ ให้ออกกำาลังกาย ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ร่างกายคล่องแคล่วช่วยในการทรงตัวสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อแล้ว ยังกระตุ้นให้เกิดการสร้างมวลกระดูกให้มากขึ้นด้วย กีฬาที่เป็นสายกลางคือการเดินและวิ่ง การวิ่งก็ต้องระวังภยันตรายรอบตัว แนะนำาการเดินดีที่สุด สรุปว่าโอกาสของคนที่จะหกล้มกระดูกหักบ่อย คือผู้ที่กระดูกบางเปราะง่าย ต้องบำารุงดูแลให้สุขภาพดีไว้และไม่ประมาท เพราะเมื่อล้มป่วยกระดูกหักครั้งใด จะเป็นภาระต่อผู้ดูแลอย่างมาก ต้องหาคนมาช่วยดูแลต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกมาก ป้องกันไว้ก่อนเป็นดีที่สุด

…………………………………………
นพ.สุวิทย์ เกียรติเสวี