แม้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิน 6 เดือนแล้วก็เห็นผล

ดีว่าความก้าวหน้าของวงการแพทย์ยุคปัจจุบันได้ส่งผลดีแก่บรรดาผู้ป่วยที่ต้องตกอยู่ในสภาพดังกล่าว…ให้ มีโอกาสฟื้นตัวได้ชัดเจนมากขึ้น ด้วยเหตุที่มีพัฒนาการทั้งในแง่ของ “องค์ความรู้” และ “เทคโนโลยีการแพทย์” มาสนับสนุนการบำบัดรักษาด้วย “เวชศาสตร์ฟื้นฟู” มีส่วนประกอบหลัก ๆ หลายอย่างมาเป็นประโยชน์และเป็นโอกาสแก่ผู้ป่วยที่น่าสงสารทั้งหลาย ช่วยให้เริ่มมีความหวังในการฟื้นคืนสู่สภาพการใช้งานอวัยวะที่อ่อนแรงได้อย่างเห็นผล ดังเช่นกรณีของ “คุณสรรเพชญ มาเกตุ” อายุ 46 ปี ซึ่งเจอโรคหลอดเลือดสมองตีบเล่นงานเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วและผ่านวิกฤติมาได้ แต่ก็ต้องมาเผชิญกับภาวะ “อ่อนแรงแขน-ขาซีกซ้าย” ทำให้กล้ามเนื้อซีกซ้ายอ่อนแรงไม่อาจใช้การได้ดังเดิม จึงหาวิธีฟื้นฟูเรื่อยมาและค้นคว้าจนพบว่า “โรงพยาบาลสุขุมวิท” มีโปรแกรมการฝึกฟื้นฟูน่าสนใจ โดยได้เผยกับทีมงาน “อุ่นใจ…ใกล้หมอ” ว่า…

เทคโนโลยี “หุ่นยนต์”

“…ผมได้ดูโปรแกรมใน YouTube แล้วก็เลยสนใจที่จะมาลองใช้การบำบัดด้วย Exo Skeleton ของ โรงพยาบาลสุขุมวิท ดูครับ ซึ่งคุณหมอท่านแรกที่ผมได้เข้ามารับการประเมินก็คือ คุณหมอปัณณวิชญ์ ซึ่งท่านให้คำแนะนำที่ชัดเจนมากเลยว่าโรงพยาบาลสุขุมวิทมี หุ่นยนต์ฝึกเดิน ที่เรียกว่า Exo Skeleton จึงขอมารับการทดลองในช่วงเดือนธันวาคมปีที่แล้วและรู้สึกพอใจ ซึ่งผมขอแนะนำผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบซึ่งมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีกว่าให้ไปลองรับการบำบัดหลาย ๆ ที่ ถ้าเกิดลองแล้วรู้สึกว่าไม่ได้ผลก็ให้มาลองปรึกษาคุณหมอที่นี่ดู เพราะคุณหมอจะให้คำแนะนำที่ทำให้คนป่วยรู้ว่าตัวเองอยู่ในจุดไหน…ผมเองซึ่งกำลังเคว้งคว้างอยู่ในตอนนั้นบอกได้เลยว่ามาที่นี่แล้วรู้สึกว่าผมมีเป้าหมายในการรักษามากขึ้น เพราะได้รับคำแนะนำที่มีประโยชน์-เป็นความจริง แม้อาจจะไม่ใช่สิ่งที่คนไข้ทุกคนอยากได้ยินก็ตาม แต่มันจะช่วยให้ผมมีเป้าหมายในการฟื้นฟู รู้ว่าควรจะทำยังไงต่อ ควรจะวางแผนในการบำบัดอย่างไรต่อ ซึ่งได้ความรู้เยอะมากในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่มาที่นี่ นอกจากได้ความรู้ความเข้าใจแล้วยังมีเป้าหมายในการวาง Step ต่อไปว่าผมควรจะรับการบำบัดอย่างไรและนานแค่ไหน…หากผู้ป่วยท่านใดไม่รู้ว่าจะไปทางไหนต่อล่ะก็…ขอแนะนำให้มาปรึกษาที่นี่ก็จะเข้าใจว่าตัวเองอยู่ใน Step ไหน จะก้าวทางไหนต่อไป ซึ่งผมคิดว่ามีประโยชน์มากครับสำหรับคนไข้ที่เป็นผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ จะได้รู้ว่าคุณควรจะทำยังไงต่อไปจึงจะเป็นประโยชน์ในการฟื้นฟูตัวคุณเองได้มากที่สุดครับ…”

ให้ความกระจ่างโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ

ผู้ป่วยรายนี้กล่าวเพิ่มเติมว่า… รู้สึกดีขึ้นกว่าที่เคยฝึกเดินในช่วงแรก ๆ เมื่อหลายเดือนก่อนหน้านี้ แต่ขายังมีอาการเกร็ง ๆ ส่วนมือสามารถกระดกได้มากกว่าเดิม… ขณะที่ “คุณหมอปัณณวิชญ์” หรือ “นพ.ปัณณวิชญ์ วงศ์วิวัฒนานนท์” แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ประจำ “โรงพยาบาลสุขุมวิท” อธิบายอาการของผู้ป่วยว่า…

ช่วยผู้ป่วยในการ “ฝึกเดิน”

“…ผู้ป่วยได้มาพบกับผมในช่วงปลายปีที่แล้วด้วยอาการแขนขาข้างซ้ายอ่อนแรงอันมีสาเหตุจากหลอดเลือดในสมองตีบ ทำให้มีทั้งอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า และแขน-ขาซีกซ้ายทั้งซีก มีอุปสรรคอย่างมากในเรื่องของการเดิน มาที่นี่เพราะทราบว่าโรงพยาบาลสุขุมวิทให้บริการที่สามารถรักษาคนไข้กลุ่มที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบอย่างต่อเนื่องครับ…ตอนที่มาพบกันก็ได้ประเมินถึงภาวะอ่อนแรงที่เห็นชัดเจนอยู่แล้วว่า การฟื้นตัวของผู้ป่วยได้ดำเนินมาประมาณ 6 เดือนกว่าแล้ว และเสียดายว่าเราไม่ได้ดูแลในช่วงที่เป็น Golden Period ซึ่งช่วงการฟื้นตัวตอนนั้นจะมีธรรมชาติเข้ามาช่วยเป็นอย่างดี หากมีวิธีเข้าไปหนุนและเสริมให้เกิดการฟื้นตัวด้วยวิธีรักษาที่ดีมาก ๆ จะยิ่งทำให้เกิดการฟื้นตัวที่ดีมากกว่านั้น แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามการฟื้นตัวยังคงเป็นไปต่อเนื่องได้เรื่อย ๆ ถ้าใช้วิธีร่วมรักษาอย่างดีนะครับ เราได้นำเสนอการรักษาโดยดูจากการฟื้นของผู้ป่วยว่าเริ่มมีแรงที่ขาแล้ว ซึ่งถ้านับเกรดของกล้ามเนื้อแล้วก็คือมาได้ประมาณครึ่งหนึ่งแล้ว ส่วนที่แขนอาจจะอ่อนกว่าที่ขาไปหน่อยแต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ได้ผ่านการฝึกด้วยวิธีกระตุ้นต่าง ๆ มาก่อนหน้านี้ที่ช่วยให้ฟื้นมาพอสมควร สิ่งที่ผมนำเสนอคือให้การรักษาด้วย หุ่นยนต์ฝึกเดิน และใช้ เทคโนโลยีแบบใหม่ที่เป็นผลผลิตจากงานวิจัย  จึงมีขั้นตอนการฝึกเริ่มจากการฝึกยืน ฝึกทรงตัว ฝึกถ่ายน้ำหนัก โดยได้ให้สวมชุดหุ่นยนต์ไว้ ก่อนที่จะให้ฝึกเดินเริ่มแรกจากท่านั่งลุกขึ้นยืน จากท่ายืนก็จะฝึกการทรงตัวน้ำหนักซ้าย-ขวา-หน้า-หลังนะครับ แล้วก็การถ่ายน้ำหนักอย่างเป็นขั้นเป็นตอนกว่าจะไปถึงการเดิน เพื่อไม่ให้ข้ามขั้นตอนการปฏิบัติที่มาจากงานวิจัย โดยที่นี่เราจะจัดให้คนไข้เข้าสู่ขั้นตอนการฝึกด้วยหุ่นยนต์ทันทีหลังจากเขาปลอดจากสภาวะที่มีความดันต่ำด้วยท่าที่ยืนอยู่นะครับ…”

ฝึกเดินอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

นำเทคโนฯใหม่ ๆ มาใช้ประโยชน์ร่วมด้วย

นอกจากนี้ “คุณหมอปัณณวิชญ์” ยังให้รายละเอียดต่อท้ายอีกด้วยว่า…

เทคโนโลยีกระตุ้นสมองด้วย “คลื่นแม่เหล็ก”

“…เราออกแบบการรักษาไว้เป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือการใช้ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดิน เพื่อช่วยให้เกิดการฟื้นฟูการเดินในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนที่ 2 คือใช้ เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็ก ในการรักษาทั้งตัว คือทั้งที่ศีรษะเพื่อกระตุ้นที่สมองให้คลื่นสมองไปสั่งให้เกิดการฟื้นตัวของมือหรือแขนข้างซ้ายของเขาได้ง่ายและดีขึ้น โดยยังมีการใช้กระตุ้นที่ลำตัวก็คือตามแนวไขสันหลัง ตามแขนและตามขา ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งงานวิจัยบอกไว้ว่าผลจากการกระตุ้นคือจะมีการย้อนกลับไปช่วยฟื้นตัวที่สมองได้ โดยวิธีที่เรารักษานั้นสามารถไปเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อที่เริ่มมีมาแล้วให้มีเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม จึงมีส่วนช่วยทำให้ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อจากกรณีของอัมพฤกษ์-อัมพาตนี้ด้วยครับ… ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกอย่างดีจะช่วยเร่งสปีดในการฟื้นตัวตอนแรกได้เร็วมากนะครับ แต่ถึงแม้การรักษาจะเป็นในช่วงหลัง ๆ แล้วอย่างกรณีของผู้ป่วยรายนี้ซึ่งเลยเวลา 6 เดือนแล้ว…เราก็ยังให้ความมั่นใจได้ว่ายังไปต่อได้อย่างรวดเร็ว…

คุณสรรเพชญ มาเกตุ

นพ.ปัณณวิชญ์ วงศ์วิวัฒนานนท์ รพ.สุขุมวิท

…ส่วนถ้าถามว่าในรายที่ผ่านไป 1-2 ปีแล้ว ทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีก หรือครึ่งท่อนก็ตาม เราก็ยังคงให้ความมั่นใจเช่นเดิมแก่หลาย ๆ คนหรือเกือบทุกคนที่เหมือนกับว่าร่างกายหยุดพัฒนาแล้ว เหมือนว่าจะหยุดนิ่งแล้ว หรือว่ายอมแพ้แล้ว หรืออาจได้ยินใครบอกว่าได้แค่นี้ก็ดีแล้ว… สำหรับผมไม่อยากได้ยิน แต่อยากบอกว่าต้องดียิ่งกว่านี้ถึงจะดี…มันต้องดีขึ้นได้เรื่อย ๆ… ซึ่ง ศูนย์ฟื้นฟูสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลสุขุมวิท พร้อมให้คำปรึกษาเพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยได้กลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้งครับ…”.

หมอจอแก้ว