โรคกลุ่มหัวใจและหลอดเลือด WHO ได้รายงานไว้ว่ายังพบมากและตายมากอยู่ ในบ้านเราก็เช่นเดียวกัน ปีหนึ่ง ๆ ยังพบเป็นจำานวนหลายแสนคน และเสียชีวิตมากตามมาด้วย ที่จะคุยในวันนี้มุ่งเป้าไปที่เรื่องลิ้นหัวใจ ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งของโรคหัวใจด้วยกัน ที่ทำให้เกิดปัญหาและสุดท้ายก็มีอันตรายเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา โดยเฉพาะเรื่องโรคอัมพฤกษ์และอัมพาต และอาจทำาให้เสียชีวิตได้ด้วย

การทำางานของหัวใจ หัวใจมีลิ้นปิด-เปิดเพื่อบีบตัวสูบฉีดโลหิต ให้เลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ลิ้นหัวใจอยู่ระหว่างหัวใจด้านบนและด้านล่างคอยเต้นปิดเปิดตามจังหวะเป็นปกติจะเต้นเฉลี่ยราว 60 ครั้งต่อนาที เป็นจังหวะสมำ่าเสมอกัน เราคลำารู้ได้ด้วยการจับชีพจรตรงข้อมือดู หัวใจห้องบนเต้นครั้งหนึ่ง ประสานกับห้องข้างล่างคลายตัว แล้วก็สูบฉีดโลหิตเข้าสู่ร่างกายทั่วตัว ปกติก็จะเป็นเช่นนี้ตั้งแต่เกิดมาเต้นตลอดไป หยุดเมื่อไรก็หมายความถึงสิ้นชีวิต

หัวใจเต้นผิดจังหวะ พอร่างกายอายุมากขึ้นปกติในกล้ามเนื้อหัวใจจะมีไฟฟ้าควบคุมการกระตุ้นโดยอัตโนมัติกระแสไฟฟ้าก็จะเกิดขึ้นมาแล้ววิ่งไปตามกล้ามเนื้อหัวใจไปกระตุ้นหัวใจให้เต้นเป็นปกติมาตลอด ต่อมาพออายุมากขึ้นหรือมีเหตุการณ์ที่ทำาให้กระแสไฟฟ้าขัดข้อง การกระตุ้นอาจติดขัด ทำาให้เร็วหรือช้ากว่าปกติได้ เร็วไปก็ทำาให้ร่างกายเกิดโรคอย่างหนึ่ง ช้าไปก็เกิดโรคอีกอย่างหนึ่ง เต้นไม่เป็นจังหวะเร็วบ้างช้าบ้างก็จะเกิดเป็นอีกโรคหนึ่งตามมา

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว เป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งของหัวใจที่เต้นผิดปกติ อาจเกิดจากมีการกระตุ้นที่ผิดปกติไป บางรายก็หาสาเหตุได้ บางรายก็หาสาเหตุไม่ได้ บางคนก็เกิดจากความเครียดพอเครียดก็เป็น พออาการเครียดหายไปก็กลับเต้นเป็นปกติอย่างเก่าเมื่อพบแพทย์โรคหัวใจ แพทย์ก็จะหาหนทางรักษาให้หัวใจกลับเต้นเป็นปกติดังเดิม ตอนเต้นผิดปกติ คนไข้จะมีอาการใจสั่น ไม่สบายใจพอได้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ อาการใจสั่นก็จะหายไปโรคนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบางท่าน จะใช้การรักษาโดยใช้จี้ด้วยไฟฟ้าโดยใส่สายเข้าทางหลอดเลือดที่แขน เมื่อจี้แล้วอาการเต้นพลิ้วของหัวใจก็หายไป ถ้าไม่หายก็ต้องกินยาควบคุมอย่างเดิม

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว ไม่มีอาการ คงมีบางรายเหมือนกันที่คนไข้มีสุขภาพดี หัวใจเต้นสั่นพลิ้ว แล้วก็หายไป เป็น ๆ หาย ๆ คนไข้ไม่รู้สึกตัว ในกรณีเช่นนี้ ถ้าคนไข้สงสัยว่ามีอาการผิดปกติมาพบแพทย์ แพทย์จะติดเครื่องดูการเต้นของหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง ก็อาจพบได้

ตัวอย่างคนไข้ อายุ 75 ปี เพศชายร่างกายปกติดีตลอด ไม่ได้สงสัยเลยว่าจะเป็นโรคหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว จนวันหนึ่งเกิดเป็นลมหน้ามืดไม่รู้สึกตัวญาติพานำาส่ง รพ. ต่างจังหวัดใกล้เคียง แพทย์ตรวจดูอาการ พอสรุปได้ว่า เป็นโรคหัวใจเต้นสั่นพลิ้ว แล้วทำาให้เกิดก้อนเลือด หลุดลอยไปตามกระแสเลือดสู่สมอง ไปอุดส่วนของสมองที่ทำาให้เกิดโรคอัมพาต แพทย์ได้รีบฉีดยาละลายก้อนเลือดสุดท้ายพบว่าเป็นอัมพาตครึ่งซีกซ้าย เข้ารักษาตัวใน รพ. ขณะนี้คนไข้รายนี้ได้ย้ายเข้ามาอยู่ รพ.ราชวิถีวินิจฉัยโรคเหมือนเดิม หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วเป็นครั้งคราว ต้องกินยาละลายลิ่มเลือดเป็นหลัก เพื่อมิให้เกิดขึ้นอีก ส่วนเรื่องอัมพาตครึ่งซีกก็รักษาด้วยการทำากายภาพบำบัดต่อไป

ข้อคิดสำหรับผู้สูงอำยุ บางรายก็สุขภาพดี บางรายก็สุขภาพไม่ค่อยดี ทั้งดีและไม่ดีต้องหมั่นสังเกตดูแลตัวเองด้วย หากมีอะไรที่ผิดสังเกตต้องไปพบแพทย์ทันทีให้รู้ว่าเป็นโรคอะไร มีอะไรจะต้องพึงระมัดระวังแก้ไขจะได้รีบจัดการเสีย รายที่คุยมาให้ฟังนี้ เป็นโดยไม่รู้ตัว ไม่รู้ว่าเป็นโรคห้องหัวใจข้างบนสั่นพลิ้ว หากรู้จะได้กินยาป้องกันก้อนเลือดไปอุดตันสมองไว้ โอกาสจะเกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตจะได้ลดน้อยลง โรคภัยไข้เจ็บมาถึงตัวเราได้หลายรูปแบบ คนยุคใหม่ก็ต้องสนใจเรื่องสุขภาพ ต้องคอยติดตามเพื่อป้องกันมิให้เกิดภยันตรายตามมาด้วย.

……………………………………………
นพ.สุวิทย์ เกียรติเสวี