เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผอ.กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้โพสต์รูปภาพ พร้อมข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “Anan Jongkaewwattana” ระบุว่า “ลักษณะอาการทางผิวหนังของผู้ป่วยฝีดาษลิงในหลายประเทศในปัจจุบันแตกต่างจากภาพที่ใช้ประกอบในสื่อพอสมควร เข้าใจว่าอาจเป็นภาพที่เอามาจาก textbook หรือ จากแหล่งข้อมูลของฝีดาษลิงที่ระบาดในทวีปแอฟริกา ซึ่งอาจเป็นสายพันธุ์รุนแรงในแอฟริกากลาง ซึ่งแตกต่างจากสายพันธุ์ที่รุนแรงน้อยกว่าที่พบในปัจจุบัน ส่วนตัวมองว่านอกจากอาจจะเป็นการสร้างความตื่นตระหนกโดยไม่จำเป็นแล้ว อาจจะไม่เป็นประโยชน์ต่อการเฝ้าระวังโรค กรณีที่ไม่เคยพบอาการที่เหมือนดังภาพที่สื่อสารกันตอนนี้

ทำความรู้จัก ‘ฝีดาษลิง’ อันตรายแค่ไหน-ติดต่อได้อย่างไร?

อังกฤษติดฝีดาษลิงสะสมเกิน 200 คน เป็นคลัสเตอร์ในชุมชน

ภาพจากอาการของจริงมาจากผู้ป่วยที่ออสเตรเลียที่เผยแพร่ในวารสาร Eurosurveillance จะเห็นลักษณะตุ่มบนผิวหนังที่ค่อนข้างชัด ซึ่งสอดคล้องกับภาพที่เผยแพร่มาจากหลายประเทศก่อนหน้านี้ ซึ่งควรเป็นภาพที่ใช้สื่อสารกันมากกว่าครับ www.eurosurveillance.org/…/1560-7917.ES.2022.27

ขอบคุณ ข้อมูล – ภาพ เฟซบุ๊ก “Anan Jongkaewwattana”