สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 27 ก.ย. ว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ( นาซา ) ออกแถลงการณ์ว่า ยานสำหรับปฏิบัติภารกิจ “ดาร์ท” ( Double Asteroid Redirection Test ) สามารถพุ่งเข้าชนดวงจันทร์ดิมอร์ฟอส ( Dimorphos ) ซึ่งโคจรอยู่ห่างจากโลกประมาณ 11 ล้านกิโลเมตร เมื่อเวลาประมาณ 23.00 น. ตามเวลามาตรฐานสากลของวันจันทร์ที่ผ่านมา ( 06.00 น. วันอังคารตามเวลาในประเทศไทย )
IMPACT SUCCESS! Watch from #DARTMIssion’s DRACO Camera, as the vending machine-sized spacecraft successfully collides with asteroid Dimorphos, which is the size of a football stadium and poses no threat to Earth. pic.twitter.com/7bXipPkjWD
— NASA (@NASA) September 26, 2022
Don't want to miss a thing? Watch the final moments from the #DARTMission on its collision course with asteroid Dimporphos. pic.twitter.com/2qbVMnqQrD
— NASA (@NASA) September 26, 2022
สำหรับดวงจันทร์ดิมอร์ฟอส ซึ่งโคจรอยู่รอบดาวเคราะห์น้อย “ดิดีมอส” ( Didymos ) ซึ่งเป็นภาษากรีกหมายความว่า “คู่แฝด” ได้รับการค้นพบเมื่อปี 2539 ขณะที่ ภารกิจดาร์ท เป็นการเบี่ยงเบนวิถีวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยคู่ เพื่อ พัฒนาเทคโนโลยี ป้องกันการพุ่งชนของวัตถุจากนอกโลก ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของวงการอวกาศโลก
Asteroid Dimorphos: we're coming for you!
— NASA (@NASA) November 24, 2021
Riding a @SpaceX Falcon 9 rocket, our #DARTMission blasted off at 1:21am EST (06:21 UTC), launching the world's first mission to test asteroid-deflecting technology. pic.twitter.com/FRj1hMyzgH
อนึ่ง ยานสำหรับภารกิจดาร์ท ออกเดินทางจากโลก เมื่อเดือน พ.ย. 2564 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 เดือน จึงถึงเป้าหมายตามกำหนด โดยยานเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 24,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง “เพื่อสร้างแรงกระแทกอย่างรุนแรง” ต่อดวงจันทร์ดิมอร์ฟอส ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 160 เมตร เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการโคจรของดาวดวงดังกล่าวกับดาวดิดีมอส ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 780 เมตร
ทั้งนี้ การที่นาซาเลือกระบบของดิดีมอส เนื่องจากวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้ว เชื่อมั่นว่า ภารกิจกับดาวดิดีมอสและดวงจันทร์ดิมอร์ฟอส ไม่เป็นอันตรายต่อโลก หลังจากนี้ จะมีการจะนำผลลัพธ์ที่ได้มาศึกษาขยายผล เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการยกระดับการป้องกันโลก จากวัตถุในห้วงอวกาศต่อไป.
เครดิตภาพ : REUTERS