นายกรวัฒน์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมิตี้ คลาวด์ คอมพานี เปิดเผยภาย ในงานสัมมนา ไทยแลนด์ อีโคโนมิค เอาท์ลุค 2023 จัดโดย นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ว่า ธุรกิจเทค และสตาร์ทอัพ ของไทยต้องมองการเติบโต ในระดับภูมิภาค และระดับโลก ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะตลาดของประเทศเพื่อนบ้านใหญ่กว่าไทยมาก เพราะประชาชนมีจำนวนมากกว่า ซึ่ง อมิตี้ ก็วางเป้าหมายเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน หรือ อินฟาสตักเจอร์ โพวายเดอร์ เน้นการทำธุรกิจในระดับโลก ซึ่งปัจุบันธุรกิจในสหรัฐอเมริกา และยุโรป เติบโต 250% และตั้งเป้าเหมาย ติบโตเติบโต 2 เท่าในปีหน้า

“ที่ผ่านมาบริษัทได้เพิ่มทุน 30 ล้านดอลลาร์ ทุกกองทุนเป็นกองทุนระดับโลก และเตรียมระดมทุนเพิ่มเพื่อแข่งขันในซิลิคอน วัลเลย์ และรายได้กว่า 90% ของบริษัทมาจาก ยุโรป และอเมริกา ส่วน ในไทยเป็นจะเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนา และในอนาคตมีเป้าหมาย เตรียมที่จะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แนสแด็ก ของอเมริกาด้วย”

ด้าน นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทย มีการพัฒนาโครงข่ายทั้งไร้สายและ มีสายอย่างต่อเนื่อง โดย โครงข่ายไร้สาย หรือ 5 จี ของไทยเป็นรองเพียงจีนเท่านั้น ส่วนโครงข่ายมีสาย หรือ ไฟเบอร์ ออฟติก ก็เข้าถึงประชาชนจำนวนมาก เห็นได้จากการใช้งานดิจิทัลของคนไทย เติบโตเร็วมาก เช่น อีคอมเมิร์ซ ฯลฯ และวันนี้คนไทยในเขตเมือง มีสมาร์ทโฟนเฉลี่ยอย่างน้อยคนละ 2 เครื่อง

“เอไอเอส มองยุคดิจิทัลเป็นโอกาส มองไปข้างหน้า 3 ปี อีคอเมิร์ซ จโตอีกอย่างน้อย 70% ความท้าทายของธุรกิจโครงข่าย คือการใช้เงินลงทุนโครงข่ายปีละไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้าน และยังมีต้นทุนในด้านค่าใบอนุญาตฯ ของ กสทช.ด้วย ขณะที่ราคาค่าบริการไทยถูกเป็นรองแค่ประเทศอินเดียเท่านั้น ยุทธสาสตร์ต่อจากนี้ คือ การทำโครงสร้างพื้นฐาน 5 จี มีความแข็งแกร่งมากขึ้น ตอนนี้ครอบคลุม 80% ของประชากร ในปีหน้าคาดว่า จะครอบคลุมทั้งหมดของประชาชกร ส่วนโครงข่ายมีสาย จะขยายแบบก้าวกระโดดให้รองรับการเติบโต”

นอกจากนี้ ยังมียุทธศาสตร์ทำให้ เอไอเอส เป็นแพลตฟอร์มการทำงานกับพาร์ทเนอร์ ซึ่งเอไอเอสตั้งเป้าเติบโตไปพร้อมกับลูกค้า 40 กว่าล้านราย และพาร์ทเนอร์ เพื่อเปิดตลาดให้กว้างขึ้น ด้วยการขยายโครงข่ายเพื่อเป็น อีโคซิสเต็มส์พาร์ทเนอร์ชิพ  

ขณะที่ นายพิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไลน์ ประเทศไทย กล่าวว่า ไลน์ มีอายุ 10 ปี ในไทย มีผลิตภัณฑ์จำนวนมากในตลาด ปัญหาคือ ทุกวันนี้ยังมีคนพัฒนาแอพอยู่ แต่สิ่งสำคัญคือ ทำอย่างไรให้คนดาวน์โหลดแอพไปใช้ ซึ่งไลน์พยายามให้คนไทยสามารถใช้งานได้ง่ายและเร็วเพื่อลูกค้าทั้ง 53  ล้านราย ตอนนี้ ทุกผลิตภัณฑ์เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งในอนาคตยังมีโอกาสใหม่ๆ จากสถานการณ์ที่ไม่ดีในปัจจุบัน ซึ่งจะพยายามนำโอกาสเหล่านี้มาพัฒนาบริการใหม่

“ความท้าทาย คือ ไลน์อยู่ในหลายหลากธุรกิจที่มีคู่แข่งสูงมาก และต้องใช้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยี จึงจำเป็นต้องใช้คนน้อยและพัฒนาสินค้าออกได้เร็ว เพราะตอนนี้ขาดแคลนบุคคลากลด้านไอที อย่างไรก็ตาม ช่วงโควิดมีการศึกษาพฤติกรรมลูกค้า พบว่า คนไทยใช้จ่ายผ่านออนไลน์ ซื้อของผ่านออนไลน์มาก ไปซูเปอร์มาร์เกตน้อยลง ยุทธศาสตร์จากนี้ ไลน์มีฐานลูกค้าจำนวนมาก มองเห็นช่องว่างของกลุ่มเอสเอ็มอี จึงจะใช้เทคโนโลยีเข้าถึงกลุ่มผู้ค้าขนาดเล็ก จากที่ไลน์ออฟฟิเชียล แอคเคานท์ หรือ ไลน์โอเอ โตจาก 2  ล้านราย เป็น 5 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นเอสเอ็มอี 3 ล้าน”

โดยไลน์จะออกเครื่องมือใหม่ๆ ให้ใช้งานตลอดเวลา อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญ คือ เอสเอ็มอี ยังขาดเงินทุน การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ ไลน์บีเค จะเข้าไปช่วยในด้านนี้ และหวังว่า ไลน์จะเป็น 1 ในแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้ค้าทำธุรกิจ ค้าขายได้ในช่วงนี้ ซึ่งสิ่งสำคัญคือ ภาครัฐต้องทำให้ประชาชนและภาคธุรกิจเข้าถึงเทคโนโลยีได้เท่าเทียม.