สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ว่า จรวดฟัลคอน-9 ของสเปซเอ็กซ์ ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยจรวดหมายเลข 39เอ ภายในศูนย์อวกาศเคนเนดี บนแหลมคานาเวอรัล ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐฟลอริดา เมื่อเวลาเที่ยงตรงตามเวลาท้องถิ่นของวันพุธ เพื่อส่งลูกเรือ 4 คน โดยสารยานแคปซูลดรากอน เดินทางขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส)

ทั้งนี้ ลูกเรือทั้งสี่คนแบ่งเป็น 2 คน จากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) คือนายจอช คาสซาดา และ น.ส.นิโคล อูนาปู มันน์ นายโคอิจิ วากาตะ จากองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (จาซา) และบุคคลซึ่งเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนมากที่สุด คือ น.ส.อันนา คิคินา จากองค์การอวกาศรัสเซีย (รอสคอสมอส) ซึ่งเดินทางมาฝึกฝนอยู่ที่สหรัฐ ตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ผลิต เมื่อปีที่แล้ว ตามโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานอวกาศของสหรัฐกับรัสเซีย
We're on our way to space!#Crew5 lifted off from @NASAKennedy at noon ET (1600 UTC) and is headed to the @Space_Station for six months of scientific discovery. pic.twitter.com/p2AvbIzo9V
— NASA (@NASA) October 5, 2022
Dragon, fly!@SpaceX's Endurance spacecraft has separated from its Falcon 9 rocket and is on its way to the @Space_Station. Follow our #Crew5 blog for the latest mission updates: https://t.co/t5aCFxh78H pic.twitter.com/EskQMDB7fd
— NASA (@NASA) October 5, 2022
อนึ่ง เมื่อปลายเดือนที่แล้ว จรวดโซยุซของรอสคอสมอส ส่งลูกเรือชาวรัสเซีย 2 คน และลูกเรือชาวอเมริกันของนาซาอีกคนหนึ่ง เดินทางขึ้นไปปฏิบัติภารกิจบนไอเอสเอสโดยสวัสดิภาพ
"Imagination encircles the world." —Albert Einstein
— NASA (@NASA) October 5, 2022
The zero-gravity indicator for the #Crew5 mission is revealed to be a toy Einstein. It's used to show when the capsule reaches the weightlessness of microgravity as it circles the globe en route to the @Space_Station. pic.twitter.com/wOE7GbWfNA
ปัจจุบัน ไอเอสเอสถือเป็นความร่วมมืออย่างเป็นทางการเพียงด้านเดียว ที่สหรัฐและรัสเซียสามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ท่ามกลางวิกฤติการณ์ในยูเครน โดยนาซายอมรับว่า การปฏิบัติงานของลูกเรือรัสเซียมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นผู้ควบคุมการโคจรและความเร็วของสถานีอวกาศ ขณะที่ภารกิจหลักของลูกเรือสหรัฐ คือการควบคุมระบบกระแสไฟฟ้าและเสบียง ตลอดจนภารกิจสนับสนุนอื่น.
เครดิตภาพ : REUTERS