สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ว่า กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 แห่ง หรือ “จี 7” และออสเตรเลีย ออกแถลงการณ์ร่วมกัน เกี่ยวกับการเห็นชอบกำหนดเพดานราคาน้ำมันดิบของรัสเซีย ซึ่งส่งมาทางทะเล ให้อยู่ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ราว 2,083.20 บาท)
The EU agreement on an oil price cap, coordinated with G7 and others, will reduce Russia’s revenues significantly.
— Ursula von der Leyen (@vonderleyen) December 2, 2022
It will help us stabilise global energy prices, benefitting emerging economies around the world. pic.twitter.com/3WmIalIe5y
มติดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทางของสหภาพยุโรป (อียู) และคาดว่า จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 5 ธ.ค. นี้ “หรือภายในไม่กี่วันหลังจากนั้น” ขณะที่แหล่งข่าวให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า หากราคาซื้อขายน้ำมันดิบของรัสเซียที่ส่งทางเรือลดต่ำกว่า 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จนกว่าจะต่ำกว่าราคาตลาดที่ 5% ปัจจุบัน ราคาขายน้ำมันดิบของรัสเซียที่ส่งทางเรือ อยู่ที่ประมาณ 65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ราว 2,256.80 บาท)
Our #OilPriceCap of $60 per barrel for Russian oil exports will reduce Russia's revenues and ressources for its war of aggression against #Ukraine, while supporting stability on global energy markets.
— GermanForeignOffice (@GermanyDiplo) December 2, 2022
Find the full statement by @G7+Australia here ????https://t.co/IG3sQOcf4z
อย่างไรก็ตาม น้ำมันดิบของรัสเซียซึ่งขนส่งทางเรือก่อนวันที่ 5 ธ.ค. และเทียบท่าปลายทางภายในวันที่ 19 ม.ค. 2566 จะได้รับการผ่อนผันจากมาตรการควบคุมราคา
ด้านนายดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวว่า หากมีการใช้มาตรการควบคุมราคาน้ำมันดิบของรัสเซียจริง ราคาน้ำมันโลกอาจพุ่งทะยานไปที่ 300-400 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ราว 10,416-13,888 บาท).
เครดิตภาพ : GETTY IMAGES