สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 20 ม.ค. ว่า กระทรวงการต่างประเทศอินเดียออกแถลงการณ์ เกี่ยวกับสารคดีของบีบีซี ที่ออกอากาศครั้งแรกในสัปดาห์นี้ เกี่ยวกับการจลาจลทางศาสนา ที่รัฐคุชราต ทางตะวันตกของประเทศ เมื่อปี 2545 ซึ่งในเวลานั้น นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ดำรงตำแหน่งมุขมนตรีรัฐคุชราต “เป็นโฆษณาชวนเชื่อ” ที่มีวัตถุประสงค์ “เพื่อสร้างความเสื่อมเสีย” ให้แก่ผู้นำอินเดีย
The world cannot afford to miss this interview straight out of the BBC 2 documentary on Narendra Modi. One of the rare occasions when Modi spoke to a journalist after the 2002 pogrom in GUJARAT. This is his attitude to journalists and journalism and minorities
— Rana Ayyub (@RanaAyyub) January 18, 2023
Via @churumuri pic.twitter.com/ZfozM2uYYe
ขณะเดียวกัน เนื้อหาในแถลงการณ์ยังประณามสารคดีดังกล่าวอีกว่า นำเสนอเรื่องราว “เต็มไปด้วยอคติ” “ปราศจากเป้าหมาย” และ “ยังคงจมอยู่กับการนำเสนอเนื้อหา ภายในกรอบความคิดสมัยอาณานิคมออกมาอย่างโจ่งแจ้ง”
For me, the revelational and damaging part of the BBC documentary is former UK foreign secretary Jack Straw speaking on record for the first time about the finding of his own officials in Gujarat during the 2002 anti-muslim pogrom pic.twitter.com/i8asr4wA5h
— Rana Ayyub (@RanaAyyub) January 19, 2023
ต่อมา ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของบีบีซีเผยแพร่แถลงการณ์เป็นการตอบกลับ “คำวิจารณ์” ของรัฐบาลนิวเดลี ว่า ทีมงานผู้จัดทำสารคดีเรื่องนี้ “สืบเสาะค้นคว้าข้อมูลเชิงลึกอย่างละเอียดและครอบคลุมทุกมิติ” โดยมีการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลจากทุกภาคส่วน รวมถึงบุคคลภายในพรรคภารติยะ ชนตะ (บีเจพี) ของโมดีด้วย
ด้านผู้นำอินเดียยังสงวนท่าทีเกี่ยวกับเรื่องนี้ อนึ่ง การจลาจลที่รัฐคุชราตในเวลานั้น มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม โดยมีชนวนเหตุมาจาก การเกิดเพลิงไหม้ขบวนรถไฟโดยสารของกลุ่มผู้แสวงบุญชาวฮินดู ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 59 ราย.
เครดิตภาพ : REUTERS