สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 8 ก.พ. ว่า พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวกลายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามเร่งด่วนด้านสิ่งแวดล้อมของโลก โดยมีขยะพลาสติกจำนวนมากถูกฝังกลบ หรือถูกทิ้งโดยไม่ได้รับการบำบัดในแม่น้ำและมหาสมุทร อีกทั้งกระบวนการผลิตยังเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย

แม้การเติบโตจะชะลอตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่การผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล “บริสุทธิ์” ยังไม่ถึงระดับสูงสุด และการใช้วัตถุดิบตั้งต้นที่นำมารีไซเคิลได้อยู่ในระดับ “เล็กน้อย” โดยมูลนิธิมินเดอรูในออสเตรเลีย ระบุว่า วิกฤติขยะพลาสติกจะเลวร้ายกว่าเดิม ก่อนที่จะการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวจะลดลง เมื่อเทียบเป็นรายปี

ทั้งนี้ จีนขับเคลื่อนความต้องการพลาสติกทั่วโลกให้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแม้จะมีการห้ามผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งบางประเภท เมื่อปี 2562 แต่มันเป็นแค่ครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตใหม่ 15 ล้านตันในช่วงปี 2562-2564

เมื่อปีที่แล้ว จีนระบุใน “แผน 5 ปี” ในการจัดการการผลิตพลาสติดว่า จะลดการผลิตและการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวอย่างมาก รวมถึงห้ามผลิตภัณฑ์บางอย่างโดยสิ้นเชิง ซึ่งการเติบโตของการผลิตพลาสติกในจีนคาดว่าจะชะลอตัว แต่มูลนิธิมินเดอรู กล่าวว่า จีนยังคงมีส่วนในบริษัทชั้นนำ 20 แห่ง ที่วางแผนเพิ่มกำลังการผลิตพอลิเมอร์บริสุทธิ์จนถึงปี 2570

นักวิจัยหลายคน กล่าวว่า พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งประมาณ 137 ล้านตัน ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในปี 2564 และคาดว่ามันจะเพิ่มขึ้นอีก 17 ล้านตันภายในปี 2570.

เครดิตภาพ : AFP