ซึ่งเป็นกลุ่มที่ประเทศไทยมีศักยภาพ โดยอาหารอนาคตมีที่มาแนวคิดจากเทรนด์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทั่วโลกต้องการลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มผลผลิตทางอาหารให้เพียงพอต่อประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน ซึ่งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า อุตสาหกรรมอาหารมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสาเหตุของภาวะโลกร้อน ทั้งจากภาคการเกษตร กสิกรรมและปศุสัตว์ รวมถึงภาคการผลิต โดยข้อมูลกล่าวว่า อุตสาหกรรมปศุสัตว์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 15% จากการปล่อยของโลก

และประมาณ 40% ของมีเทนเกิดจากการย่อยอาหารของสัตว์ ซึ่งทำให้กลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ รักษ์โลก และปกป้องสวัสดิภาพสัตว์ตามเทรนด์โลกมีการเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคและเกิดเทรนด์การรับประทานแบบใหม่เกิดขึ้นจนเกิดเป็นกลุ่มมังสวิรัติ มีแนวโน้มเติบโตแต่ปัจจุบันยังมีสัดส่วนไม่มากอีกทั้งยังมีกลุ่ม Flexitarian เป็นกลุ่มที่พยายามลดบริโภคเนื้อสัตว์ซึ่งมีสัดส่วนที่มากกว่ากลุ่มแรก

วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย

งานวิจัยพบว่า มีสัดส่วนของผู้บริโภค 29% ของผู้บริโภคทั้งหมด ซึ่งอาหารอนาคตไทยได้ตอบโจทย์เทรนด์โลกและกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มใหม่จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป หนึ่งในกลุ่มสินค้าอาหารอนาคตที่ตอบโจทย์คือกลุ่มโปรตีนทางเลือก ซึ่งผลิตได้ทั้งจากพืช จากสาหร่าย เห็ด และการหมักจากจุลินทรีย์ ซึ่งนับเป็นโอกาสของอาหารแห่งอนาคตไทยมีการใช้วัตถุดิบในการผลิตที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ของไทยมาต่อยอดและผลิตเป็นสินค้าอาหารที่ทั่วโลกต้องการ

อาหารอนาคตไทย Future Food จะเน้นการผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย ตรวจสอบย้อนกลับได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและดีต่อสุขภาพ นอกจากนั้นยังเน้นการสนับสนุน “ระบบอาหารยั่งยืน” สร้างระบบนิเวศ บ่มเพาะสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารให้กับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ และตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านเศรษฐกิจชีวภาพ โดยหลายหน่วยงานภาครัฐมีแผนการสนับสนุนอาหารแห่งอนาคตตามแผนเศรษฐกิจ BCG Model ปัจจุบันประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์อาหารแห่งอนาคตที่หลากหลายทยอยออกสู่ตลาด ซึ่งวางจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

อุตสาหกรรมอาหารอนาคตมีแนวคิด และแนวปฏิบัติตามแผนเศรษฐกิจบีซีจี ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ตั้งแต่ต้นนํ้าไปยังปลายนํ้า โดยต้นนํ้า กลุ่มภาคเกษตรที่สำคัญของไทย สามารถยกระดับวิธีการทำเกษตรแบบเดิมสู่การทำเกษตรแบบแม่นยำ เกษตรสมัยใหม่ ใช้เทคโนโลยีองค์ความรู้มาช่วยเสริมในการผลิตเพื่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิตเพิ่มมูลค่าและใช้ได้หลากหลายเพิ่มมากขึ้น เช่นแนวทางง่าย ๆ อย่างการนำใบไม้มาทำเป็นปุ๋ยหมักหมุนเวียนใช้ในไร่ ส่วนภาคกลางนํ้า อุตสาหกรรมการผลิต มุ่งเน้นการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ทันสมัยและคงไว้ซึ่งคุณภาพสูง เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ และในส่วนปลายนํ้า การกระจายสินค้า การตลาด การจัดการการกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการสูญเสีย และเพิ่มมูลค่าสินค้าเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด โดยในหลายประเทศ เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ รวมถึงประเทศไทยมีการออก ฉลาก Green ซึ่งเป็นฉลากที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการสร้างความตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมไปยังภาคการผลิต การตลาด และประชาชนผู้บริโภค.