สำนักข่าวซินหัวรายงานจากเมืองคุนหมิง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 21 เม.ย. ว่า รถไฟขบวนนี้มีต้นทางจากแหลมฉบัง ท่าเรือแห่งสำคัญของไทย และวิ่งถึงจุดหมายปลายทางในจีนโดยผ่าน “ทางรถไฟจีน-ลาว” ซึ่งปัจจุบันกำลังกลายเป็น “ทางด่วน” ของบรรดาผู้ส่งออกชาวไทย ในการเข้าถึงตลาดจีนอย่างรวดเร็ว


คุณ อรทัย เอื้อตระกูล วัย 67 ปี อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนำเข้าและส่งออกสินค้าพืช ประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย เผยกับสำนักข่าวซินหัวว่า เมื่อก่อนทุเรียนส่วนใหญ่ถูกส่งออกสู่จีนทางถนนและทางทะเล ซึ่งเป็นเส้นทางที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ เพราะหลายปัจจัยอย่างสภาพอากาศเลวร้าย ทำให้บางครั้งใช้เวลาขนส่งนานกว่า 20 วัน


อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทุเรียนไทย ถูกขนส่งถึงคุนหมิง ภายใน 3 วัน ด้วยอานิสงส์จากการขนส่งแบบห่วงโซ่ความเย็นบนทางรถไฟจีน-ลาว ซึ่งอรทัยแสดงความหวังว่า จะช่วยให้ผู้บริโภคชาวจีนได้เพลิดเพลินกับทุเรียนสดใหม่ และสุกอร่อยเหมือนกับชาวไทยเพิ่มขึ้น

แฟ้มภาพซินหัว : คนงานขนถ่ายกล่องผลไม้ที่ขนส่งจากไทย ผ่านทางรถไฟจีน-ลาว ที่เมืองคุนหมิง ในมณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 19 เม.ย. 2566


คุณ นที ชวนสนิท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการเศรษฐกิจการพาณิชย์ ( ไอบีอีอาร์ดี ) กล่าวว่า ปัจจุบัน จีนเป็นตลาดส่งออกทุเรียนแห่งสำคัญที่สุดของไทย และหวังว่า ผู้บริโภคชาวจีนจะได้ชิมทุเรียนรสชาติดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยขยับขยายตลาดทุเรียนไทย

แฟ้มภาพซินหัว : “รถไฟผลไม้” บรรทุกทุเรียน และมังคุด ที่สถานีรถไฟแหลมฉบัง ของไทย วันที่ 16 เม.ย. 2566


อนึ่ง ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ของไท ยระบุว่า จีนเป็นตลาดส่งออกทุเรียนไทยขนาดใหญ่ที่สุด เมื่อปี 2565 ครองสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 96 ของปริมาณการส่งออกทุเรียนทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 3,090 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 106,000 ล้านบาท )


คุณ กนกวรรณ สุวรรณกนิษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการสินค้า การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเปิดทางรถไฟจีน-ลาว ได้ส่งเสริมการพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรางของไทย โดยปริมาณการขนส่งสินค้าจากไทยสู่ลาว เพิ่มขึ้นจาก 500-600 ทีอียู (T EU: หน่วยนับตู้คอนเทเนอร์ยาว 20 ฟุต ) ในปี 2562 เป็น 2,000 ทีอียู เมื่อปีที่แล้วและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 3,000 ทีอียู ในปีนี้.

ข้อมูล-ภาพ : XINHUA