สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ว่า ประธานาธิบดีเรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน ปรากฏตัวผ่านระบบทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อร่วมพิธีเปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศ ที่เมืองเมอร์ซิน อยู่ริมชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
ขณะที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย เข้าร่วมพิธีเปิดโรงไฟฟ้าแห่งนี้ผ่านระบบทางไกลอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน เนื่องจากเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่และเป็นผู้ประกอบการหลักด้วย คือ โรซาตอม รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานนิวเคลียร์ของรัฐบาลมอสโก
Wave if you have cheaper energy than the EU!
— RT (@RT_com) April 27, 2023
Presidents Putin and Erdogan greet each other online at the beginning of the Akkuyu NPP ceremony pic.twitter.com/WhThUOPL5T
เดิมทีเออร์โดกันมีกำหนดต้องปรากฏตัวที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม ผู้นำตุรกี วัย 69 ปี ยกเลิกกำหนดการดังกล่าว ซึ่งนับเป็นวันที่สองติดต่อกันที่ต้องงดปรากฏตัวต่อสาธารณชน ด้วยอาการป่วยจากเชื้อไวรัสลงกระเพาะ ตามการเปิดเผยของแหล่งข่าวในทำเนียบประธานาธิบดี
ทั้งนี้ ผู้นำตุรกียกเลิกกำหนดการบางส่วน เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา หลังล้มป่วยระหว่างการให้สัมภาษณ์สดทางโทรทัศน์ ก่อนการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 14 พ.ค. 2566 โดยสถานีโทรทัศน์ตัดภาพเออร์โดกัน ท่ามกลางเสียงบอกให้ “ตัดเข้าโฆษณา!” หลังผ่านไปประมาณ 20 นาที ผู้นำตุรกีกลับมาให้สัมภาษณ์ และสามารถจบรายการได้สำเร็จ
After 20 minutes, the broadcast resumed, Erdogan apologized to the audience, noting that he had a cold and a busy work schedule.
— Karina Karapetyan (@KarinaKarapety8) April 26, 2023
There are less than three weeks left before the #elections in #Turkey. 2/2
สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปของตุรกีในวันที่ 14 พ.ค. นี้ จะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติชุดใหม่ทั้ง 600 ที่นั่ง และการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งหากไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนเกิน 50% ตั้งแต่รอบแรก จะมีการชิงชัยในรอบตัดสิน ที่จะเป็นการแข่งขันระหว่างผู้สมัครสองคน ซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดจากรอบแรก ในวันที่ 28 พ.ค.
อนึ่ง การเลือกตั้งครั้งนี้ถือได้ว่าเป็น “บททดสอบทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุด” ของ เออร์โดกัน ซึ่งครองอำนาจสูงสุดทางการเมืองของตุรกี ยาวนานต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546 เริ่มจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนรั้งตำแหน่งประธานาธิบดี ตั้งแต่ปี 2557 ท่ามกลางความท้าทายทางภูมิศาสตร์การเมืองในภูมิภาค โดยเฉพาะการรับสวีเดน เข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ที่ตอนนี้ขึ้นอยู่กับตุรกี และวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อคะแนนนิยมของเจ้าตัว.
เครดิตภาพ : REUTERS