CBAM ได้กำหนดให้สินค้านำเข้าจากนอกอียู รวมถึงไทย ต้องเสียค่าธรรมเนียมคาร์บอน ตั้งแต่ 3 ปีแรก 1 ต.ค. 66-31 ธ.ค. 68 เริ่มจากสินค้านำร่อง 6 กลุ่ม คือ เหล็ก และเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า ไฮโดรเจน ยังไม่ต้องเสีย ผู้นำเข้าเพียงแจ้งปริมาณสินค้าที่นำเข้า และปริมาณปล่อยก๊าซในการผลิต แต่ตั้งแต่ 1 ม.ค. 69 จะบังคับให้ผู้นำเข้าต้องเสียค่าธรรมเนียมคาร์บอน ซึ่งก็คือ การซื้อ และส่งมอบ “ใบรับรอง CBAM” ตามปริมาณการปล่อยก๊าซในการผลิตสินค้านั้น
จากการศึกษาข้อมูลของ “สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม” พบว่า สินค้าไทยที่มีความเสี่ยงของการรั่วไหลของคาร์บอนในกระบวนการผลิตและได้รับผลกระทบจากมาตรการ CBAM มี 3 อุตสาหกรรม ได้แก่ พลาสติก มีมูลค่าการส่งออกปี 65 (ม.ค.-ต.ค.) อยู่ที่ 464.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 2.5% เหล็ก มีมูลค่า 127.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 0.7% และอะลูมิเนียม มีมูลค่า 97.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 0.5% ของมูลค่าสินค้าที่ส่งไปยังสหภาพยุโรป c, h เป็นสัดส่วนไม่มากนัก แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการไทย ต้องรักษาฐานลูกค้าเดิมในสหภาพยุโรป ต้องดำเนินการหลังจากมาตรการ CBAM มีผลบังคับใช้

การบังคับใช้มาตรการ CBAM จะส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าจากประเทศที่ไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม มีราคาสูงขึ้น ทำให้ปริมาณการนำเข้าสินค้าสู่ตลาดอียูลดลง และผู้ประกอบการหรือผู้บริโภคอียู มีแนวโน้มจะหันมาใช้สินค้าที่ผลิตภายในอียูมากขึ้น ส่วนสินค้าราคาถูกจากประเทศที่มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่ตํ่ากว่าจะถูกกีดกันทางอ้อมไม่ให้เข้าตลาด โดยผู้ประกอบการที่ส่งสินค้าตามรายการที่กำหนดภายใต้มาตรการฯ ไปยังสหภาพยุโรปจะต้องรายงานปริมาณคาร์บอนในกระบวนการผลิตที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศตามมาตรการ CBAM
อีกทั้งยังต้องเผชิญกับต้นทุนการส่งออกที่สูงขึ้นจากการจ่ายค่าปรับภาษีคาร์บอนก่อนนำสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของคาร์บอนในกระบวนการผลิตเข้าพรมแดนสหภาพยุโรปหรือการซื้อใบรับรอง CBAM (CBAM Certificate) ซึ่งมีราคาอ้างอิงตามราคาซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกในตลาดคาร์บอนของสหภาพยุโรป และผู้ประกอบการยังต้องเตรียมความพร้อมด้านต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการวางแผนปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง และพัฒนาระบบการผลิตเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนได
ออกไซด์ให้น้อยที่สุด

รวมไปถึงการพัฒนาตลอดห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมทั้งที่เป็นสินค้าวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป สินค้าสำเร็จรูป และการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นโอกาสดีในการขับเคลื่อนสู่การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป็นโอกาสในการขยายตลาดเพิ่มเติม และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับผู้ส่งออกจากประเทศอื่นที่ไม่สามารถปรับตัวรองรับมาตรการ CBAM ได้ทัน อีกทั้งยังเป็นการปรับตัวรองรับการดำเนินมาตรการควบคุมการปล่อยคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน CBAM ของประเทศอื่นที่มีแนวโน้มจะบังคับใช้ในอนาคต เช่น จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้
แม้เวลานี้ผู้ประกอบการหลายคนมองว่า CBAM ถือเป็นภาระต้นทุนที่เพิ่ม และยุ่งยากขึ้น แต่ต้องปรับกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ที่โลกให้ความสำคัญ และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้ซื้อใช้พิจารณาเลือกซื้อสินค้า ถ้าไม่ปรับตัว ต่อไปอีกไม่นานสินค้าอาจถูก “กีดกันการค้า” ได้.