ยุคนี้เป็นยุคเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่กำลังเป็นเทรนด์ที่มาแรง มีการนำมาใช้งาน อย่างแผ่หลายมากขึ้นทั้งในการทำงาน การเรียน หรือแม้แต่ในอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ทั้ง สมาร์ทโฟน โน้ตบุ๊ค ก็มีการนำ AI มาเป็นจุดขาย จึงถือว่าเป็น ยุคของ AI อย่างแท้จริง!!
แต่ในมุมที่เป็นประโยชน์ ในทางกลับกัน ก็เป็นเทคโนโลยีที่อาจมีโทษเช่นกัน หากมีการนำไปใช้ในทางไม่ดี การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยสู่ยุค AI ต้องให้ความสำคัญกับอะไร และมีปัจจัยอะไรมาเกี่ยวข้องบ้าง วันนี้ คอลัมน์ ชีวิตติด TECH มีคำตอบ!!
ซึ่งประเทศไทย ได้วางเป้าหมาย เป็นศูนย์กลางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในปี 2570 (The leading hub for Artificial Intelligence (AI) in Southeast Asia by 2027) โดยริเริ่มโครงการ AI ที่สำคัญ 6 โครงการของรัฐบาลไทย (Six Pivotal AI projects) ทำให้ประเทศไทยอยู่แถวหน้าในการเปิดรับศักยภาพ ในการ เปลี่ยนแปลงของ AI แต่ต้องเข้าใจถึงความสำคัญและลำดับความสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย
เพราะจาก รายงาน Check Point Threat Intelligence Report ของ บริษัท เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำ ระบุว่า องค์กรในประเทศไทยถูกโจมตี โดยเฉลี่ย 1,956 ครั้งต่อสัปดาห์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 61%
จากการโจมตีทางไซเบอร์ที่เป็นสถิติที่น่าตกใจ ควบคู่ไปกับแผน AI เชิงรุก ทำให้ประเทศไทยจึงจำเป็นต้อง คำนึงถึงในหลากหลายมิติเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค AI อย่างราบรื่น!?!
“คงศักดิ์ ก่อตระกูล” ผู้อำนวยการด้านวิศวกรความปลอดภัย ประจำภูมิภาคอาเซียนและเกาหลี บริษัท เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด บอกว่า อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งอยู่ที่การเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างนวัตกรรม AI และการใช้งานจริง เพราะแม้ว่าประโยชน์ที่เป็นไปได้ของ AI จะมีอยู่มากมาย แต่องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับความซับซ้อน ในการบูรณาการโซลูชัน AI เข้ากับเวิร์คโฟลวและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่
หากจะทำให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จในยุค AI นี้ มีหลายด้านที่ต้องเติมเต็ม เพื่อให้กลยุทธ์ AI บรรลุผล ประเทศไทยต้องมั่นใจในโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมต่อที่แข็งแกร่งก่อน
ซึ่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นส่วนสำคัญยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทที่ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลยังคงมีความสำคัญ ปัจจุบันอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยอยู่ที่ 78.3% และคาดว่าสูงถึง 86.6% ในปี 72 แม้ว่าจะเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการเริ่มต้น แต่การปิดช่องว่างนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าจะ ได้รับประโยชน์ จาก AI ได้อย่างครอบคลุม และป้องกันความแตกต่างในการเข้าถึงการบริการ AI นอกจากนี้
“การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลแบบคลาวด์จะเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล AI สำหรับกรอบการกำกับดูแลที่ครอบคลุมยังจำเป็นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและใช้งาน AI ซึ่งจากที่
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย หรือ พีดีพีเอ สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น GDPR ของสหภาพยุโรป จึงทำให้มั่นใจได้ถึงการปกป้องข้อมูลที่แข็งแกร่ง แต่การพัฒนาแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมของ AI จะช่วยให้มั่นใจได้ถึงการใช้เทคโนโลยี AI อย่างมีความรับผิดชอบและยุติธรรม หน่วยงานกำกับดูแล AI โดยเฉพาะ จึงควรเข้ามามีบทบาทเพื่อดูแลการพัฒนา AI ให้ ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมและกฎหมาย
สิ่งสำคัญอีกอย่าง คือการมุ่งเน้นไปที่ภาคส่วนเฉพาะ จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น อุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และการจ้างงานของประเทศ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก สามารถนำ AI ไปใช้เพื่อปฏิวัติกระบวนการผลิต ปรับปรุงประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ได้
หรือ ภาคเกษตรกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผ่านแอปพลิเคชัน AI เช่น การทำฟาร์มที่แม่นยำ การตรวจสอบพืชผล และการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทาน จะช่วยส่งเสริมแนวทางปฏิบัติด้านการเกษตรที่ยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการเกษตร
นอกจากนี้ ความสำเร็จ ด้าน AI ของไทย ยังขึ้นอยู่กับแรงงานที่มีทักษะและการรับรู้ของสาธารณชน การส่งเสริม ให้ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของ AI จะช่วยแก้ไขความเข้าใจ ที่คลาดเคลื่อน เช่น การถูกไล่ออกจากงาน และการละเมิดความเป็นส่วนตัว เป็นต้ โดย การเปิดให้สังคม อภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบ ทางสังคมของ AI จะส่งเสริมแนวทางการพัฒนา AI ที่ครอบคลุมมากขึ้น และช่วยสร้างความไว้วางใจจากสาธารณะต่อไป
“ การเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้าน สะเต็มศึกษา หรือ STEM education ในทุกระดับถือเป็นสิ่งสำคัญ ต่อการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับบุคลากรที่มีความสามารถด้าน AI ในอนาคต ซึ่งการสำรวจล่าสุดเผยให้เห็นว่า การจ้างผู้มีความสามารถที่มีทักษะด้าน AI เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกสำหรับนายจ้าง ถึง 94% แต่ 64% ประสบปัญหาในเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัย ช่องว่างนี้จะขยายกว้างขึ้นหากไม่ได้รับจัดการที่ถูกต้อง”
สิ่งสำคัญก็คือการมีโปรแกรมการฝึกอบรมและการรับรอง AI และความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ในการจัดตั้ง ศูนย์วิจัย AI และเสนอหลักสูตรและปริญญาที่เน้น AI จะช่วยเร่งขีดความสามารถด้าน AI ของประเทศไทยให้เร็วขึ้น ขณะที่การเพิ่มเงินทุนสำหรับการวิจัยและพัฒนา AI ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันสนับสนุน การเงิน ในโครงการด้าน AI เพื่อผลักดันนวัตกรรม
ซึ่งการสร้างศูนย์กลางนวัตกรรมและอุทยานเทคโนโลยีจะช่วยสร้าง สภาพแวดล้อมที่หล่อเลี้ยงสตาร์ทอัพด้าน AI และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและอุตสาหกรรม ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน จะขับเคลื่อนความก้าวหน้าของ AI เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศไทยได้ ประโยชน์จากการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย
“การประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคของ AI สิ่งสำคัญคือต้องรักษาสมดุลระหว่างนวัตกรรม และความปลอดภัยทางไซเบอร์ การบรรจบกันของเทคโนโลยี AI กับกฎระเบียบด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่เข้มแข็ง ถือเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพสูงสุดของ AI ในขณะที่ต้องป้องกันภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ก็ สำคัญ”
ทั้งหมดเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะนำพาประเทศไทย เปลี่ยนผ่านสู่ยุค AI ได้อย่ายั่งยืนและปลอดภัยได้!?!
Cyber Daily