สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 2 พ.ย. ว่า ภายใต้กฎหมายรับรองสิทธิในการกำหนดอัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Self-Determination Act) ประชาชนสามารถเปลี่ยนชื่อหรือเพศตามกฎหมายได้ ผ่านการยื่นคำร้องได้ง่าย ๆ ที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่น
กฎหมายดังกล่าวเข้ามาแทนที่กฎหมายคนข้ามเพศ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2523 กำหนดให้ชาวเยอรมันที่ต้องการเปลี่ยนเพศตามกฎหมาย ต้องยื่นรายงานทางจิตวิทยา 2 ฉบับ และรอคำตัดสินของศาล
A German law making it easier to alter gender markers and names on official documents has finally taken effect, in a move especially welcomed by transgender, intersex and nonbinary people.
— DW News (@dwnews) November 1, 2024
Here's everything you need to know: https://t.co/BkHjGEpyLA pic.twitter.com/qwehxc0Rmo
นิตยสาร “แดร์ ชปีเกล” ของเยอรมนี รายงานว่า มีประชาชนราว 15,000 คน ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อเปลี่ยนเพศตามกฎหมายของตนเอง ก่อนกฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้
นางลิซา พอส รมว.ครอบครัวเยอรมนี ประกาศว่า วันนี้ถือเป็น “วันพิเศษ” ของคนข้ามเพศ, คนเพศกำกวม และคนไม่ระบุเพศทุกคน โดยนับจากนี้ “ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนเพศตามกฎหมาย สามารถยื่นคำร้องได้โดยไม่ต้องให้เหตุผล หรือข้อมูลทางการแพทย์ใด ๆ”
People aged 18 and older in Germany can now change official records to alter their names and genders or have the gender marker removed altogether, under Germany's new Self-Determination Act.https://t.co/BkHjGEp0W2
— DW News (@dwnews) November 2, 2024
อย่างไรก็ตาม ในกรณีของเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี ผู้ปกครองสามารถยื่นคำร้องแทน ขณะที่ผู้เยาว์ซึ่งอายุมากกว่า 14 ปี สามารถยื่นคำร้องได้ด้วยตนเอง แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองเท่านั้น โดยเด็กหรือผู้ปกครองต้องยื่นเอกสารรับรองว่า มีการขอคำแนะนำจากนักจิตวิทยา หรือหน่วยงานสวัสดิการเยาวชน
นอกจากนั้น กฎหมายยังกำหนดบทลงโทษ สำหรับบุคคลใดก็ตามที่ “เปิดเผย” ข้อมูลของบุคคลข้ามเพศโดยไม่ได้รับอนุญาต
ขณะที่การเปลี่ยนเพศตามกฎหมายใหม่ จะมีผลภายในระยะเวลา 3 เดือน นับจากวันยื่นคำร้อง และจะไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อีกเป็นเวลา 1 ปี.
เครดิตภาพ : AFP