โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบมักเกิดจากไขมันแทรกในหลอดเลือดมาก เนื่องจากการทานวิตามิน การทานอาหารอย่างผิดวิธี หรือมากเกินความจำเป็น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากภาวะหลอดเลือดแข็งตัว จนเลือดไปหล่อเลี้ยงขาและแขนไม่เพียงพอ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบและหลอดเลือดหัวใจที่มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

หากต้องการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยโรค สามารถใช้การตรวจ ABI (Ankle Brachial Index) หรือการตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดในเบื้องต้น ทั้งยังช่วยให้ทราบความรุนแรงของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบอีกด้วย


ใครบ้างที่เหมาะจะตรวจ ABI

ผู้ที่ควรรับการตรวจ ABI คือ ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ สามารถสังเกตอาการของโรคนี้คร่าว ๆ จากการแขนขาอ่อนแรง เวลาเดินจะปวดเหมือนเป็นตะคริว ผิวหนังที่ขาสีเปลี่ยนไป มีความมันเงาขึ้น หากเป็นแผลที่ขาจนถึงเท้าจะไม่ค่อยหาย เป็นต้น นอกจากนี้คนที่ควรตรวจ ABI เพิ่มเติม ได้แก่ 


  • ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน หรือความดันโลหิตสูง
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ หรือเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ เวลานานมากกว่า 10 ปี
  • ผู้ป่วยติดเตียง


หากมีอาการหรือประวัติตรงกับที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ควรเข้ารับการตรวจ ABI เพื่อตรวจหาโรค และรักษาก่อนเกิดโรคแทรกซ้อนอันตรายที่เกี่ยวเนื่องกัน ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการปวดขารุนแรง ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ และใส่เหล็กดามกระดูกแขนหรือขา ไม่เหมาะกับการตรวจ ABI

ข้อแนะนำก่อนตรวจ ABI มีอะไรบ้าง?

การตรวจ ABI

ตรวจ ABI เป็นหัตถการตรวจหาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ จากการแข็งตัวของหลอดเลือดหรือไขมันแทรกเยอะ ซึ่งเครื่อง ABI นี้ มีวิธีตรวจไม่ยุ่งยากและไม่รุกล้ำร่างกาย ดังนั้นการเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ ABI จึงไม่ซับซ้อนนัก สามารถปฏิบัติได้ตามนี้

  • ไม่ต้องงดน้ำดื่ม อาหาร หรือยา ก่อนรับบริการเครื่องวัด ABI
  • งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ ให้บริโภคน้ำเปล่าเท่านั้น
  • งดสูบบุหรี่
  • ช่วง 1 ชั่วโมงก่อนตรวจ ABI ควรงดออกกำลังกาย
  • สวมใส่ชุดแขนสั้น ขาสั้น ไม่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อให้สามารถวัดความดันเส้นเลือดที่ขาและแขนได้อย่างสะดวก
  • หากมีประวัติรักษาเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ขา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน 


การตรวจ ABI มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

ขั้นตอนในการตรวจ ABI แรกเริ่มผู้ป่วยจะต้องนอนหงายราบไปกับเตียง ให้แขนขากับหัวใจอยู่ในระดับเดียวกัน จากนั้นแพทย์จะใช้เครื่องตรวจ ABI วัดความดันโลหิตที่หลอดเลือดแดงบริเวณข้อเท้ากับข้อแขนทั้ง 2 ข้าง แล้วเทียบค่าแรงดันโลหิตของแขนขาในฝั่งเดียวกัน คือ แขนขวากับขาขวา และแขนซ้ายกับขาซ้าย เพื่อประเมินโรค โดยค่าปกติควรอยู่ที่ 1.0-1.1 หรือมากกว่า หากน้อยกว่า 0.9 หมายถึง มีการอุดตันในหลอดเลือดแดง ยิ่งตัวเลขน้อยเท่าไหร่ จะบ่งชี้ว่ามีอาการรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

ตรวจ ABI ใช้เวลาทำเพียง 10-20 นาที ระหว่างทำควรนอนให้นิ่ง เพื่อให้สามารถวัดค่าออกมาได้ตรงมากที่สุด และไม่ต้องเสียเวลาวัดซ้ำ


ตรวจ ABI เพื่อวัดความแข็งตัวของเลือดที่ไหนดี?

หลอดเลือดแข็งตัว

สำหรับคนที่ไม่รู้จะรับการตรวจ ABI ที่ไหนดี? ขอแนะนำ S’RENE by SLC คลินิกดูแลสุขภาพครบวงจร ที่เปิดให้บริการแล้วถึง 2 สาขา คือ สาขาทองหล่อ และสาขา Charn at the Avenue Chaengwattana 14 โดยเขามีแพทย์เฉพาะทางคอยดูแล ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจ ABI เพื่อวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง ความเสื่อมต่าง ๆ ในร่างกาย เวชศาสตร์ชะลอวัย การควบคุมน้ำหนัก หรือสุขภาพทางเพศ

นอกจากนี้ที่ S’RENE by SLC ยังเลือกใช้เครื่องมือทันสมัย มีคุณภาพสูง และจัดตกแต่งสถานบริการให้ดูสวยงาม สะอาด ปลอดโปร่ง พร้อมตอบสนองทุกความต้องการ ทั้งด้านประสิทธิภาพในการรักษาและบริการที่เหนือระดับ


สรุป ตรวจ ABI หาโรคหลอดเลือดแดงตีบ ไม่เจ็บ ไม่ต้องรอผลนาน

ตรวจ ABI เป็นวิธีการที่ใช้ตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ ซึ่งจะส่งผลให้รู้สึกแขนขาอ่อนแรง หรือมีอาการชา ปวดขา เป็นตะคริวเวลาเดินได้ หากตรวจเจอโรคได้ไวและรักษาอย่างทันท่วงที จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบและหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุของการเป็นอัมพาตและเสียชีวิต